Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73625
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์-
dc.contributor.authorก้องภพ กุลสารินen_US
dc.date.accessioned2022-07-13T00:42:54Z-
dc.date.available2022-07-13T00:42:54Z-
dc.date.issued2021-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73625-
dc.description.abstractThis research aimed to 1) study the knowledge of the trainees in cricket culture, 2) compare the knowledge of cricket culture before and after training of the trainees and 3) study the problems and suggestions of the trainees in cricket training, this was an experimental study in pre-experimental design. Data was collected from a sample group of participants in cricket culture in Chiang Klang District, Nan Province, who were trained in the project from the Livestock Office total 70 cases in March 2019, using questionnaires as a tool for collecting objective-generated data. The data was analyzed by using frequency, percentage, arithmetic mean, maximum, minimum, standard deviation, and paired t-test statistics. The results of the study showed that most of the trainees were female, 31-45 years old and farmers, most of them graduated below secondary education, raised house cricket species, had 10 crickets cultured ponds and 3-5 years of experience in crickets, they were trained in crickets for the first time and received knowledge and support from the sub-district agricultural office. The hypothesis test results showed that the knowledge level of cricket culture after training was higher than before training. The overall score of trainees after training was significantly different from before training at 0.05, with an average total score of 16.50 before training and an average total score of 18.64 after training. The t-test was -6.358 and the Sig. was equal to .000 The results of the study of problems and suggestions of the trainees found that the trainees did not have knowledge and new techniques in cricket culture management. Crickets had many pests such as mites, worms, striped flies, weevils, and lizards and cricket eggs did not incubate. Raising crickets for a long time caused crickets to grow in unison and become smaller, the quantity of produce to be reduced, the food cost of crickets to be increased. In addition, the sale of crickets was suppressed by the middleman. The suggestion is that related agencies should be able to provide support on techniques, methods, management and disease prevention in cricket culture. The trainees suggested to form a group to provide inexpensive inputs to members and have insurance for the purchase price in advance for members or trainees.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการอบรมต่อความรู้ในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดของผู้เข้ารับการอบรม ในอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeEffect of training on trainees’ knowledge of cricket raising in Chiang Klang District, Nan Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashจิ้งหรีด -- การเลี้ยง-
thailis.controlvocab.thashจิ้งหรีด -- การเลี้ยง-- น่าน-
thailis.controlvocab.thashจิ้งหรีด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมการเลี้ยงจิ้งหรีด 2) เปรียบเทียบความรู้ในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดก่อนและหลังการอบรมของผู้เข้ารับการอบรม และ3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรมการเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ชนิด Pre - experimental design ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เข้ารับการอบรมการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ที่ได้เข้ารับการอบรมโครงการฯ จากสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 จำนวน 70 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สร้างขึ้นตามวัดถุประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษา พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-45 ปี จบการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา มีอาชีพการเกษตร ส่วนใหญ่เลี้ยงจิ้งหรีดสายพันธุ์สะดิ้ง มีบ่อเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด 10 บ่อ มีประสบการณ์การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด 3 - 5 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นครั้งแรก ได้รับความรู้และการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรตำบล ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าระดับความรู้ในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดหลังการอบรมมีมากกว่าก่อนอบรม จะเห็นได้ว่าโดยภาพรวมผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนรวมหลังการอบรมแตกต่างจากก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยก่อนการอบรมมีคะแนนรวมเฉลี่ย 16.50 และหลังการอบรมมีคะแนนรวมเฉลี่ย 18.64 และมีค่า t-test เท่ากับ -6.358 Sig. เท่ากับ .000 ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ปัญหาคือผู้เข้ารับการอบรมขาคความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และในระหว่างการเลี้ยง จิ้งหรีดเป็นโรค และมีศัตรูหลายชนิด เช่น ไร ตัวหนอนแมลงวันลาย มอด และจิ้งจก รวมทั้งไข่จิ้งหรีดไม่ฟักตัว การเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นเวลานาน หลายรุ่น ทำให้จิ้งหรีดเจริญเติบโตไม่พร้อมกันและมีขนาดของลำตัวเล็กลง ทำให้ปริมาณของผลผลิตที่ได้ลดลง และดันทุนอาหารของจิ้งหรีดมีราคาสูงขึ้น อีกทั้งการจำหน่ายจิ้งหรีดถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ส่วนข้อเสนอแนะในการเลี้ยงจิ้งหรีดคือควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้การสนับสนุนเกี่ยวกับเทคนิควิธีการ การจัดการ และการป้องกันโรคในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ผู้ข้ารับการอบรมเสนอให้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูกจำหน่ายแก่สมาชิก และควรมีการประกันราคารับซื้อล่วงหน้าแก่สมาชิก/ผู้เข้ารับการอบรมen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831014 ก้องภพ กุลสาริน.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.