Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรถพงศ์ พีระเชื้อ-
dc.contributor.authorวิลาสินี บุตรดีen_US
dc.date.accessioned2022-07-04T10:32:33Z-
dc.date.available2022-07-04T10:32:33Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73499-
dc.description.abstractThis study aimed to examine factors associated with reduced audit quality behaviors of assistant auditors auditing cooperatives affiliated to the Cooperative Auditing Office, Region 6. Four factors i.e. steps and complexity of cooperative auditing; participation of assistant auditors in training workshops; proficiency of assistant auditors; and working experience of assistant auditors were specified as independent variables; while the dependent variables were 11 behaviors of the assistant auditors that reduced their audit quality i.e. omission in auditing some accounting entries in accordance with auditing standards; incomplete inspection of audit checklist for determined size of samplings; failure to report errors detected during the audit; superficial verification of cooperative documents; failure to track suspected accounting entries; ignorance to the search for additional entries and technical information that might be related; failure to follow up on implementation towards suggested solutions and advice; failure to correct errors of works under one’s responsibility; acceptance of unreasonable clarification of the cooperative; inspection the cooperative as assigned with dissatisfaction; and distortion of audit time to be lesser than the actual circumstance. Questionnaires were used as the tool to gather data from 122 state assistant auditors auditing cooperatives affiliated to the Cooperative Auditing Office, Region 6, covering 8 provinces namely Phitsanulok, Uttaradit, Pichit, Phetchabun, Nakornsawan, Kampaengphet, Tak, and Sukhothai. Statistical analysis was conducted by the use of the descriptive statistics and the multiple linear regression at 90% and 95% of confidence levels. The findings revealed that there were two factors associated with reduced audit quality behaviors of assistant auditors auditing cooperatives affiliated to the Cooperative Auditing Office, Region 6. Those factors were the proficiency of assistant auditors, which positively correlated to the reduced audit quality behaviors; and the working experience of assistant auditors which negatively correlated to the reduced audit quality behaviors.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลงของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบสหกรณ์ในพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6en_US
dc.title.alternativeFactors Associated with Reduced Audit Quality Behaviors of Assistant Auditors Auditing Cooperative Auditing Office Region 6en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6-
thailis.controlvocab.thashการสอบบัญชี-
thailis.controlvocab.thashผู้สอบบัญชี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลงของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบสหกรณ์ในพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 ตัวแปรอิสระแบ่งเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ ขั้นตอนและความยุ่งยากของการสอบบัญชีสหกรณ์ การเข้ารับการอบรม ความรู้ความสามารถของผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ประสบการณ์ของผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง โดยมี 11 พฤติกรรม ได้แก่ การละเว้นวิธีการตรวจสอบตามแผนการสอบบัญชีบางรายการ การตรวจสอบรายการไม่ครบถ้วนตามปริมาณตัวอย่างที่สุ่ม ไม่มีการรายงานข้อผิดพลาดที่ตรวจพบ สอบทานเอกสารของสหกรณ์เพียงผิวเผิน ไม่ติดตามตรวจสอบรายการที่น่าสงสัย ไม่ศึกษาถึงรายการที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทางเทคนิคเพิ่มเติม ไม่มีการติดตามผลการแก้ไขข้อสังเกต ไม่มีการแก้ไขข้อผิดพลาดของงานที่รับผิดชอบ ยอมรับคำตอบของสหกรณ์ที่เหตุผลไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีความพึงพอใจที่จะไปตรวจสอบสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย รายงานจำนวนระยะเวลาที่ใช้ในการสอบบัญชีน้อยกว่าระยะเวลาที่ได้ใช้ไปจริง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือจากผู้ช่วยผู้สอบบัญชีภาครัฐในพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย จำนวน 122 ราย การวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 และที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลงของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบสหกรณ์ในพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 มีจำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้ความสามารถของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง และประสบการณ์ของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591532225 วิลาสินี บุตรดี.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.