Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73466
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤมนัส คอวนิช-
dc.contributor.advisorกันยารัตน์ คอวนิช-
dc.contributor.authorจิตรภณ จักรวาฬen_US
dc.date.accessioned2022-06-28T09:49:12Z-
dc.date.available2022-06-28T09:49:12Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73466-
dc.description.abstractThis study was a cross sectional study aimed to finding the individual oral preventive needs by dental professional for older people so that information could be used in preparing plans for oral health intervention in Thai aging society. The study was conducted in Chai Nam Subdistrict, Wang Thong District, Phitsanulok Province during October 2018 to February 2019.The study sample was 370 elderly people aged 60 years old and over. Data was collected by examining oral conditions and interviewing personal information related tot oral health. The study results showed that the sample mean age was 70.2 ± 7.1 years. Accoriding to activities of daily living (ADL) index, 85.4% were social-bound, 10.8% were bed-bound and 3.8% were home-bound. Among all participants, 67.6% had underlying disease. The average number of functional teeth was 12.5 ± 7.9 teeth/person. The mean of DMFT was 18.7 ± 7.8 teeth/person. There were 10.5% of participants who were reported as total tooth loss. The mean of sextant with teeth is 4.4 ± 2.0. 87.8% of participants had gingivitis and 74.3% had periodontitis. Oral hygiene of samples at low, fair and good levels was 62.7%, 22.1% and 4.8%, respectively. The mean of tooth wear at the incisal, occlusal and cervical area were 4.3 ± 3.8, 3.0 ± 3.5 and 2.1 ± 2.5 teeth/person respectively. Oral tissue abnormalities were found in 9.7% of the participants. Positive mouth mirrors stuck test was 6.8%. The sample group reported sufficient medical history to plan a dental treatment and did not demonstrate legal or ethical barriers. In detail, samples with ability to cooperate fully were 95.9%, have sufficient communication ability 94.6%, no restrictions on access to services 85.4 % and severe oral risk factors 61.4%. Number of underlying disease, average number of functional teeth, mean DMFT, number of total tooth loss, mean oral sextant with teeth, number of periodontal disease, tissue abnormalities and mouth mirrors stuck test, complexity, including ability to cooperate, communication, access to services, oral risk factors in each category of the elderly, was statistically different (P-value <0.05) among types of geriatric population. In the caries prevention, participants who show condition with most suitable for fluoride varnish fluoride was 81.9%. The mean number of crown and root to be filled is 0.7 ± 1.1 and 0.3 ± 0.6 teeth/person respectively. Subjects who need dental care from dental nurse and dentist were 66.2% and 18.4%, respectively. Proportion of service locations appropriate for dental needs and condition of study subjects, including hospital and homes, were 82.4% and 2.2%, respectively. For periodontal care, subjects who need periodontitis prevention, including dental polishing, scaling, root planing and periodontal surgery were 4.1%, 20.8%, 14.1% and 43.5% respectively. Proportions of participants who need dental care from dentist and dental nurse was 71.5% and 17.1%, respectively. 82.4% of participants required their periodontal care in hospital. Samples who needed oral cleaning assistance were 6.2%. Dental health personnel suitable to provide oral cleaning assistance was dental nurses and setting suitable for this type of care was at the home of themselves. There were statistically significant differences among elderly groups (P-value <0.05) on the type of preventive care required, as well as service providers and place of service. The bed-bound group had a high level of complexity in receiving dental care, and tended to have a greater need for care than other elderly groups. There were significant differences between complexity in bed-bound group with those in social-bound and home-bound group. Therefore, different dental service models should be developed, such as providing home dental services for the elderly if necessary, preliminary screening from a multidisciplinary team of family doctors. In addition to treatment planning among the elderly, preventive measures for oral diseases should be emphasized to the pre-aging group, both providing knowledge on the routine practice to reduce the risk factors of disease and receiving preventive dental services by dental personnel in conjunction with oral health promotion activities in the same timeen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความจำเป็นในการรับบริการทางทันตกรรมป้องกันรายบุคคลโดยทันตบุคลากรสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeIndividual oral preventive need by dental health personnel for older people in Chainam Sub-district, Wang Thong District, Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashฟันผุ-
thailis.controlvocab.thashเหงือกอักเสบ-
thailis.controlvocab.thashโรคปริทันต์อักเสบ-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความจำเป็นในการรับบริการทางทันตกรรมป้องกันรายบุคคลโดยทันตบุคลากรสำหรับผู้สูงอายุเพื่อนาข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมแผนการรับมือกับสถานการณ์สุขภาพช่องปากในสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยศึกษาในพื้นที่ ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 370 คน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจสภาวะภายในช่องปากและสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 70.2 ± 7.1 ปี เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง ตามเกณฑ์การประเมิน Barthel Activities of Daily Living : ADL ร้อยละ 85.4, 10.8 และ 3.8 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 67.6 จำนวนฟันถาวรที่ใช้งานได้เฉลี่ย 12.5 ± 7.9 ซี่/คน ค่าเฉลี่ยฟันผุอุดถอน 18.7 ± 7.8 ซี่/คน สูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 10.5 ส่วนในช่องปากที่ยังมีฟันมีค่าเฉลี่ย 4.4 ± 2.0 ส่วน/คน เป็นโรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ ร้อยละ 87.8 และ 74.3 อนามัยช่องปากอยู่ในระดับต่ำ พอใช้ และดี ร้อยละ 62.7, 22.1 และ 4.8 ฟันสึกบริเวณปลายฟัน ด้านบดเคี้ยว และคอฟัน เฉลี่ย 4.3 ± 3.8, 3.0 ± 3.5 และ 2.1 ± 2.5 ซี่/คน เนื้อเยื่อในช่องปากผิดปกติ ร้อยละ 9.7 กระจกส่องปากติดกับเนื้อเยื่อช่องปาก ร้อยละ 6.8 กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีประวัติทางการแพทย์ที่เพียงพอต่อการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมและไม่มีอุปสรรคทางด้านกฎหมายและจริยธรรม ให้ความร่วมมือได้อย่างเต็มที่ ร้อยละ 95.9 มีความสามารถในการสื่อสารเพียงพอ ร้อยละ 94.6 ไม่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรับบริการ ร้อยละ 85.4 มีปัจจัยเสี่ยงจากสภาวะช่องปากระดับรุนแรง ร้อยละ 61.4 โดยโรคประจำตัว ค่าเฉลี่ยฟันถาวรที่ใช้งานได้ ค่าเฉลี่ยฟันผุอุดถอน การสูญเสียฟันทั้งปาก ค่าเฉลี่ยส่วนในช่องปากที่ยังมีฟัน สภาวะปริทันต์อักเสบ ลักษณะกระจกส่องปากติดกับเนื้อเยื่อช่องปาก รอยโรคของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ความสามารถในการให้ความร่วมมือ การสื่อสาร การเข้าถึงการรับบริการ ปัจจัยเสี่ยงจากสภาวะช่องปาก ในแต่ละประเภทของกลุ่มผู้สูงอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ซึ่งจะมีผลต่อการเตรียมให้บริการทันตกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทของกลุ่มผู้สูงอายุ ในงานทันตกรรมป้องโรคฟันผุ วาร์นิชฟลูออไรด์มีความเหมาะสมสูงสุด คือ ร้อยละ 81.9 ค่าเฉลี่ยตัวฟันและรากฟันที่ต้องอุด 0.7 ± 1.1 และ 0.3 ± 0.6 ซี่/คน ตามลำดับ ทันตบุคลากรที่เหมาะสมในการให้บริการ คือทันตาภิบาลและทันตแพทย์ ร้อยละ 66.2 และ 18.4 ตามลำดับ สถานที่ให้บริการ คือ สถานพยาบาลและบ้านของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 82.4 และ 2.2 ตามลำดับ พบความจำเป็นสำหรับงานทันตกรรมป้องกันโรคปริทันต์อักเสบด้วยวิธีการขัดฟัน ขูดหินน้ำลาย เกลารากฟัน และศัลยกรรมปริทันต์ ร้อยละ 4.1, 20.8, 14.1 และ 43.5 ตามลำดับ ทันตบุคลากรที่เหมาะสมในการให้บริการ ได้แก่ ทันตแพทย์และทันตาภิบาล ร้อยละ 71.5 และ 17.1 ตามลำดับ สถานที่ให้บริการงานทันตกรรมป้องกันโรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ คือสถานพยาบาลเท่านั้น ร้อยละ 82.4 พบกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุมีความจำเป็นในการรับบริการช่วยเหลือทำความสะอาดช่องปาก ร้อยละ 6.2 ทันตบุคลากรที่เหมาะสมในการให้บริการช่วยเหลือทำความสะอาดช่องปาก คือ ทันตาภิบาล และสถานที่ให้บริการที่เหมาะสมคือบ้านของผู้สูงอายุเอง โดยประเภทของงานทันตกรรมป้องกันที่จำเป็นต้องได้รับ ทันตบุคลากร และสถานที่ในการรับบริการ ในแต่ละกลุ่มผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) การรับบริการทันตกรรมในผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงมีความซับซ้อนสูง และมีแนวโน้มของความจำเป็นในการดูแลมากกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่นๆ มีความแตกต่างกับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมและกลุ่มติดบ้านอย่างมีนัยสำคัญ จึงควรมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการทันตกรรมที่แตกต่างจากผู้สูงอายุ 2 กลุ่มแรก เช่น การให้บริการทันตกรรมที่บ้านผู้สูงอายุในกรณีที่จำเป็น หรือการคัดกรองเบื้องต้นจากสหวิชาชีพในทีมหมอครอบครัว และปริมาณความชุกของโรคภายในช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุมีปริมาณสูงเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มก่อนสูงวัย นอกจากการวางแผนการรักษาในกลุ่มผู้สูงอายุ ควรเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคภายในช่องปากไปที่กลุ่มก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้งในการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค การรับบริการทันตกรรมป้องกันโดยทันตบุคลากร ร่วมกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากควบคู่กันไปen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590931007 จิตรภณ จักรวาฬ.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.