Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71051
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑามาส คุ้มชัย-
dc.contributor.advisorวีณัน บัณฑิตย์-
dc.contributor.authorธิติมา ยะใจen_US
dc.date.accessioned2020-10-22T03:50:07Z-
dc.date.available2020-10-22T03:50:07Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71051-
dc.description.abstractThai rat-tailed radish was collected from various locations in Chiang Mai Province including the Districts of Doi Saket, San Sai, San Kamphaeng, and Mae On for this research on its morphology and quantitative and qualitative characteristics with the objective to select the plants having best horticultural characteristics for breed improvement. The result showed a diversity of genetic traits. The petal color varies from white to white with purple, and purple. The white with purple petal color is the most common accounting for 69.61 % of the samples. The petiole color is either purple or green, with purple being more prevalent at 58.07 %. Moreover, the stem color shows green, green with purple node, and purple, with green with purple node of stem color being the most predominant forming 66.74 % of all collection. The pod also has a high variation in shape including a pod with deep internode, shallow internode, a short pod with internode, and the long pod with internode, while the average pod length is 12.22 centimeters. Genetic relationships among the Thai rat-tailed radish samples were studied using the RAPD technique. Out of the totally 20 random primers, only five RAPD primers namely OPA09, OPA10, OPC13, OPU06, and OPU16 showed a clear increase in total DNA. A total of 58 bands from these five primers have an average size of 10.4 polymorphic bands per primer with 94.5 % polymorphism. The dendrogram of the genetic relationships showed a high genetic variation in the Thai rat-tailed radish across all collection sites and within a collection site which can be distinguished into nine groups of genetic similarities at 0.69 The self-incompatibility test by evaluation of the pollen tube germination in the style of the five Thai rat-tailed radish samples found that the plant from San Kamphaeng4 (S3), Doi Saket2 (D2) and Doi Saket2 (D4) had self-incompatibility characteristic, which are suitable for use as the maternal line for hybrid production. The Thai rat-tailed radish breed improvement traits had obtained a total of four hybrids for heterosis evaluation which revealed the S2-2-5 x SS2-1-4 progeny having a high heterosis for the traits of total weight, average pod weight, and pod length at 0.41, 29.53, and 7.32 %, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสัณฐานวิทยาหูดen_US
dc.subjectพันธุกรรมen_US
dc.subjectผักขี้หูดen_US
dc.titleสัณฐานวิทยา ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการพัฒนาพันธุ์ผักขี้หูดen_US
dc.title.alternativeMorphology, genetic relationship, and improvement of Rat-tail radishen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashผักขี้หูด-
thailis.controlvocab.thashผักขี้หูด -- การปลูก-
article.epageผักขี้หูด -- สัณฐานวิทยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการรวบรวมพันธุ์ผักขี้หูดจากแหล่งต่างๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอดอยสะเก็ด สันทราย สันกำแพง และแม่ออน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลักษณะทางปริมาณและคุณภาพของผักขี้หูด และคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีทางพืชสวนสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ พบว่าผักขี้หูดที่รวบรวมมามีความหลากหลายทางพันธุกรรม ดังนี้ สีของกลีบดอก มีสีขาว ขาวปนม่วง และม่วง โดยพบสีขาวปนม่วงในสัดส่วนที่สูงร้อยละ 69.61 ของก้านใบ มีสีม่วง และสีเขียว ซึ่งพบสีม่วงในสัดส่วนที่สูงร้อยละ 58.07 นอกจากนี้ ยังพบว่า สีของลำต้น มีสีเขียว สีเขียวข้อสีม่วง และสีม่วง โดยพบลำต้นสีเขียวข้อสีม่วงในสัดส่วนที่สูงร้อยละ 66.74 ทางด้านรูปร่างฝักมีความหลากหลายของรูปร่างคือ ฝักมีข้อปล้องลึก ข้อปล้องตื้น ฝักสั้นมีข้อปล้อง และฝักยาวมีข้อปล้อง โดยความยาวฝักมีค่าเฉลี่ย 12.22 เซนติเมตร การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของผักขี้หูด ด้วยเทคนิค RAPD จากการทดสอบไพรเมอร์แบบสุ่มทั้งหมด 20 ไพรเมอร์ พบว่ามีไพรเมอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้แบบชัดเจน 5 ไพรเมอร์ ได้แก่ OPA09, OPA10, OPC13, OPU06 และ OPU16 ซึ่งให้แถบดีเอ็นเอทั้งหมด 58 แถบ ปรากฏแถบโพลีมอร์ฟิค (polymorphic band) 94.5 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ย 10.4 แถบต่อไพรเมอร์ เมื่อนำมาจัดกลุ่มความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่าผักขี้หูดจากทุกแหล่งเก็บรวบรวม และภายในแหล่งรวบรวมเดียวกัน มีการกระจายตัวทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง โดยจัดกลุ่มความสัมพันธ์ที่ระดับความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากกว่า 0.69 ได้ เป็น 9 กลุ่ม การตรวจสอบลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดจากการประเมินความสามารถในการงอกของหลอดเรณูบนในก้านชูเกสรเพศเมียของผักขี้หูดจำนวน 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวอย่างที่เก็บจากเกษตรกรอำเภอสันกำแพง (S3) ตัวอย่างที่เก็บจากเกษตรกรอำเภอดอยสะเก็ด (D2) และตัวอย่างที่เก็บจากเกษตรกรอำเภอดอยสะเก็ด (D4) มีลักษณะการผสมตัวเองไม่ติด ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้เป็นแม่พันธุ์ในการสร้างลูกผสม ในการพัฒนาพันธุ์ผักขี้หูดได้ลูกผสม 4 คู่ นำไปประเมินค่าความดีเด่นของลูกผสมเหนือค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ พบว่าลูกผสม S2-2-5 x SS2-1-4 แสดงค่าน้ำหนักรวม น้ำหนักฝักเฉลี่ย และความยาวฝัก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อหรือแม่ที่ดีกว่า 0.41, 29.53 และ 7.32 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590831052 ธิติมา ยะใจ.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.