Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรอุมา เรืองวงษ์-
dc.contributor.advisorเกวลิน คุณาศักดากุล-
dc.contributor.authorฐิตาภรณ์ เรืองกูลen_US
dc.date.accessioned2020-09-21T09:26:47Z-
dc.date.available2020-09-21T09:26:47Z-
dc.date.issued2020-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69761-
dc.description.abstractLate blight disease of potato is caused by the fungus, Phytophthora infestans. Eighty-seven of ‘Atlantic’ potato leaf symptoms were observed and collected from the field at Mae Wang, Phrao and Mae Ai district in Chiang Mai Province and Mae Sai district in Chiang Rai Province in 2017 - 2018. Seven of eighty-seven leaves were collected in the rainy season and the rest in the winter season. Late blight symptoms were appeared water-soaked spot on leaf margin and developed to enlarge lesions. Lateral stem and main stem showed brown to black lesion, collapse and death. Isolation of fungal pathogen with inverted petri dish culture method on WA medium and transferred fungal mycelium onto corn A agar without adding antibiotics was found the most successful method for fungal isolation and could induce sporangium on corn A agar. Fifty isolates of fungi were isolated and only four isolates i.e. KW3, Phrao3, MA6 and MS8 were produced abundant sporangia on corn A agar. The four isolates were selected and identified by morphological characteristic, pathogenicity test under plant tissue culture condition and nucleotide sequence analysis of internal transcribed spacer (ITS) with primer ITS1/ITS4. The results of identification showed these 4 isolates were causing late blight disease in potato. Virulence of 4 fungal isolates were compared under plant tissue culture condition, the result showed that all isolates could infected in ‘Atlantic’ potato plantlet. However, the most virulence isolate (MA6) showed severe symptoms on leaves and stem. The fungal mycelia and sporangia were grew on infected area. Finally, these Atlantic potatoes were collapsed and dead after 9 days of inoculation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการคัดเลือกพันธุ์en_US
dc.subjectมันฝรั่งen_US
dc.subjectโรคใบไหม้en_US
dc.titleการคัดเลือกพันธุ์มันฝรั่งที่ต้านทานต่อโรคใบไหม้en_US
dc.title.alternativeSelection of potato resistant varieties to late blighten_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashมันฝรั่ง -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashใบไม้ -- โรค-
thailis.controlvocab.thashเชื้อราก่อโรค-
thailis.controlvocab.thashโรคราของพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคใบไหม้มันฝรั่ง (late blight) เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans เป็นโรคที่มี ความสําคัญ พบมีการระบาดและเข้าทําลายในพืชวงศ์ Solanaceae จึงสํารวจและเก็บตัวอย่างโรคใบ ไหม้มันฝรั่งได้ทั้งหมด 87 ตัวอย่าง จากพื้นที่ปลูกในอําเภอแม่วาง อําเภอพร้าว อําเภอแม่อาย จังหวัด เชียงใหม่ และอําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2560-2561 แบ่งเป็นตัวอย่างที่เก็บได้ในฤดูฝน 7 ตัวอย่างและฤดูหนาว 80 ตัวอย่าง และทําการศึกษาลักษณะอาการของโรค พบจุดกลมน้ํา บริเวณ ขอบใบ คล้ายโดนน้ําร้อนลวก ลําต้นและกิ่งก้านมีสีดํา หากเป็นมากจะทําให้เกิดอาการหักพับและแห้ง ตาย เมื่อนํามาศึกษาวิธีการแยกเชื้อราบริสุทธิ์ พบว่า การแยกเชื้อราบริสุทธิ์ P. infestans ด้วยเทคนิค inverted petri dish โดยใช้อาหาร WA เมื่อเชื้อราเจริญบน WA แล้วจึงนําเชื้อราสาเหตุโรคย้ายลงอาหาร corn A agar สามารถแยกเชื้อรา P. infestans จากตัวอย่างใบพืชได้โดยไม่ใช้สาร antibiotics ได้ จํานวน 50 ไอโซเลท และยังพบว่าอาหาร corn A agar สามารถชักนําให้เชื้อราเกิดการสร้าง sporangium ได้ จากนั้นจึงทําการคัดเลือกไอโซเลทที่สร้าง sporangium ในปริมาณมากบนอาหาร corn A agar ได้ทั้งหมด 4 ไอโซเลท ได้แก่ เชื้อราไอโซเลท KW3, Phrao3, MA6 และ MS8 จึงได้นํามาจัด จําแนกชนิดของเชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลท โดยการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น การทดสอบความสามารถในการก่อโรคของเชื้อราในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการวิเคราะห์ลําดับ นิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS ของเชื้อราด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ คู่ไพร์เมอร์ ITS1 และ ITS4 พบว่า ในทุก ไอโซเลทสามารถก่อโรคใบไหม้ในมันฝรั่งได้ การเปรียบเทียบความรุนแรงของเชื้อราสาเหตุโรคใบไหม้จํานวน 4 ไอโซเลท ในสภาพ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าเชื้อรา P. infestans ทั้ง 4 ไอโซเลท ทําให้มันฝรั่งเป็นโรคร้อยละ 100 ในขณะที่ ไอโซเลท MA6 มีความรุนแรงมากที่สุด โดยพบแผลลุกลามจากบริเวณใบลงสู่ลําต้น เกิดการสร้างเส้นใยของเชื้อราเจริญปกคลุมทั่วทั้งบริเวณที่เป็นโรค และมีการสร้าง sporangium ในปริมาณมาก ทําให้ ต้นกล้ามันฝรั่งพันธุ์ Atlantic เกิดการหักพับและตายในวันที่ 9 หลังการปลูกเชื้อ การคัดเลือกพันธุ์มันฝรั่งที่ต้านทานต่อ โรคใบไหม้ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2561 - 2562 ในสภาพแปลงปลูก ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) โดยประเมิน ความต้านทานพันธุ์มันฝรั่งที่ได้รับจาก International Potato Center (CIP) ประเทศเปรู และศูนย์วิจัย เกษตรหลวงเชียงใหม่จํานวน 20 พันธุ์ ต่อเชื้อรา P. infestans จํานวน 4 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท KW3, Phrao3, MA6 และ MS8 โดยปลูกเชื้อราแต่ละไอโซเลท ที่ความเข้มข้น 1x10 สปอร์แรงเจีย/ มิลลิลิตร ลงบนต้นมันฝรั่งอายุ 1 เดือน จากนั้น ทําการประเมินการเกิดโรค ระดับการเกิดโรค ดัชนีการ เกิดโรค และประเมินระดับความต้านทานของโรค ผลการคัดเลือกพันธุ์มันฝรั่งในฤดูฝน (กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2561) พบมันฝรั่งที่มีความต้านทานปานกลางต่อเชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลท มีจํานวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ C2 และ C8 ส่วนผลการคัดเลือกพันธุ์มันฝรั่งในฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2562) พบมันฝรั่งที่มีความต้านทานต่อเชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลท มี 2 ระดับ คือ มันฝรั่งที่มีความต้านทาน มี จํานวน 1 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ C7 และมันฝรั่งที่มีความต้านทานปานกลาง มีจํานวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ C11 และ C12en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600831011 ฐิตาภรณ์ เรืองกูล.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.