Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69623
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์ มีสุขโข-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีมนา นิยมค้า-
dc.contributor.authorพิมพ์ธีรา วังศิลาen_US
dc.date.accessioned2020-08-18T02:43:36Z-
dc.date.available2020-08-18T02:43:36Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69623-
dc.description.abstractThe deaths of pediatric patients in the pediatric intensive care unit not only bring grief to the family but also those to the nurses who provide care to the patients. This situation can effect to nurses such as health, mental, emotional, social enviroment and work efficiency which may cause the nurses to resign their job. These effects can be reduced if nurses can cope with grief appropriately. This research is descriptive correlational research which aimed to study the factors related to coping with grief among nurses after children death in a pediatric intensive care unit. The samples were the registered nurses (RNs) who work in pediatric intensive care unit at tertiary hospital such as King Chulalongkorn Memorial Hospital, Ramathibodi Hospital, Siriraj Hospital, Thammasat University Hospital and Vachira Hospital and they have experience to provide care for a critically ill child and their family at least two days. A proportional sampling was used to select 92 registered nurses in each hospital. Data were collected during the October Until December in 2019 using questionnaires including general information questionnaire for perceiving self- efficacy in coping of nurse social support questionnaire for grief among nurses after children death in a pediatric intensive care unit, and questionnaire for coping with grief after children death in a pediatric intensive care unit. Data were analyzed using descriptive statistics and the Pearson product correlation coefficient. The study results revealed that: 1. Coping with grief among nurses after children death in a pediatric intensive care unit was found that 63% of nurses had a low level of coping with grief. When considering each aspect, it wasfound that the nurse had moderate average score for palliative coping and confrontive coping. (X̅ = 2.55, X̅ = 2.49) and low average score for emotional coping (x̅ = 1.92). 2. Coping with grief among nurses after children death in a pediatric intensive care unit had a statistically significant positive relationship at low level with perceived self-efficacy (r = 0.244, P < .05). 3. Coping with grief among nurses after children death in a pediatric intensive care unit had a statistically significant positive relationship at moderate level with social support r = 0.348, P < .01). The results of this study can provide important information for an administrator to support nurses coping with grief after children death in a pediatric intensive care unit to prevent further consequences of grief.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเผชิญความโศกเศร้าในพยาบาลภายหลังการเสียชีวิตของเด็กในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรมen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Coping with Grief Among Nurses After Children Death in a Pediatric Intensive Care Uniten_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรมไม่เพียงแต่นําความโศกเศร้ามายัง ครอบครัว แต่ยังนํามาซึ่งความโศกเศร้าแก่พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยซึ่ง ส่งผลกระทบต่อพยาบาลทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม รวมทั้งประสิทธิภาพการทํางาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทําให้พยาบาล ต้องลาออกจากงาน ผลกระทบเหล่านี้สามารถลดลงได้หากพยาบาลมีการเผชิญความโศกเศร้าที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเผชิญความ โศกเศร้าของพยาบาลภายหลังการเสียชีวิตของเด็กในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 จากสภาการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิม พระเกียรติ และโรงพยาบาลวชิรพยาบาลและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติระยะสุดท้ายและ ครอบครัวเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน ตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จํานวน 92 ราย เก็บ ข้อมูลในระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 เครื่องมือในการทําวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเผชิญปัญหาของพยาบาล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของพยาบาลที่เผชิญกับความโศกเศร้าจากการเสียชีวิตของเด็กใน หอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม และแบบสอบถามการเผชิญความโศกเศร้าจากการเสียชีวิตของเด็กใน หอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันผลการศึกษามีดังนี้ 1. การเผชิญความโศกเศร้าของพยาบาลจากการเสียชีวิตของเด็กในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม พบว่า ร้อยละ 63 พยาบาลมีการเผชิญความโศกเศร้าอยู่ในระดับต่ํา เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พยาบาลมี คะแนนเฉลี่ยการเผชิญความโศกเศร้าด้วยวิธีการบรรเทาความรู้สึก และการเผชิญความโศกเศร้าด้วยวิธี จัดการกับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.55, x̅= 2.49 ตามลําดับ) และมีคะแนนเฉลี่ยการเผชิญความ โศกเศร้าที่มุ่งเน้นจัดการกับอารมณ์อยู่ในระดับต่ํา (x̅= 1.92) 2. การเผชิญความโศกเศร้าในพยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรมกับการ รับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r=0.244, p<.05) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญความโศกเศร้าในพยาบาลภายหลังการเสียชีวิตของเด็กในหอ ผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรมกับการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.348 , p< .01) ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลสําคัญสําหรับผู้บริหารโรงพยาบาลไปใช้เป็นแนวทางในการ สนับสนุนพยาบาลในการเผชิญความโศกเศร้าจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมาร เวชกรรม เพื่อป้องกันผลกระทบจากความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นตามมาen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231067 พิมพ์ธีรา วังศิลา.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.