Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รังสิยา นารินทร์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorทัศมาภรณ์ สุทธิรักษ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:02:56Z-
dc.date.available2020-08-14T03:02:56Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69553-
dc.description.abstractMost persons with stroke tend to experience joint contraction and disability. Family empowerment through joint exercises is very important in reducing joint contraction conditions. This is a quasi-experimental research, with one-group repeated measurements. The objective was to study the empowerment program of family practice for joint exercises for persons with stroke in Sribuaban Subdistrict, Mueang District, Lamphun Province. The sample was 21 family members who were acting as primary caregivers and received the empowerment program which was developed based on Gibson's empowerment framework (Gibson, 1995) for 6 weeks consisted of 1) discovering reality, 2) critical reflection, 3) taking charge, and 4) holding on. The experimental instruments consisted of 1) the empowerment program of family practice for joint exercises for persons with stroke 2) signboards or posters of joint exercises for persons with stroke 3) Power Point for teaching and 4) QR code. The instruments were approved by six experts and the content validity index was 0.90. The research instrument for data collecting consisted of 1) family general information questionnaire and 2) family practice for joint exercises for persons with stroke, for which the tested Kuder-Richardson coefficient for reliability was 0.82. Data were analyzed using descriptive statistics and the Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Rank test. The research findings showed a statistically significantly mean score of the family practice for joint exercises after receiving the empowerment program higher than before receiving the empowerment program (z=2.93, p<0.01). The results revealed that the empowerment program can be used as a guideline to promote family practice for joint exercises for persons with stroke in order to enhance knowledge, ability, and confidence of family for taking care of persons with stroke continuously and effectively, resulting in families and persons with stroke achieving better quality of life.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeEffect of the Empowerment Program on Family Practice on Joint Exercises for Persons with Strokeen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่มักพบอาการข้อติดแข็งและความพิการหลงเหลือ การเสริมพลังอำนาจครอบครัวในการฟื้นฟูสภาพโดยการบริหารข้อเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการลดภาวะข้อติดแข็งที่อาจเกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ในตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลักจำนวน 21 คน ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน (Gibson, 1995) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) การค้นพบสภาพการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม และ4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2) แผ่นป้ายหรือโปสเตอร์การปฏิบัติการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3) สไลด์ประกอบการสอน และ 4) รหัสคิวอาร์ ทดสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คนได้มากกว่า 0.90 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของครอบครัว และ 2) แบบประเมินการปฏิบัติของครอบครัวในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Rank test ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติของครอบครัวในการบริหารข้อสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=2.93, p<0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติของครอบครัวในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ครอบครัวมีความรู้ เพิ่มพูนความสามารถ และมีความมั่นใจในการดูแลผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ครอบครัวและผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231010 ทัศมาภรณ์ สุทธิรักษ์.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.