Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69550
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รังสิยา นารินทร์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorธีรพันธ์ จันทร์เป็งen_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:02:42Z-
dc.date.available2020-08-14T03:02:42Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69550-
dc.description.abstractKnee osteoarthritis is a common disease among older people that causes risk of falling. Falling is a major public health problem that can affect physical health, mental health, and quality of life among older people and their families. Therefore, to promote family involvement in supporting self-management among older people with knee osteoarthritis on fall prevention is very important. This quasi-experimental study, one group pretest-posttest design, aimed to investigate the effect of a family promoting program for self-management of older persons with knee osteoarthritis on fall prevention at Si Bua Ban, Muang District, Lamphun Province, from January to March 2020. There were 23 participants who were selected through a purposive sampling method. The experimental group received a family promoting program for self-management of older persons with knee osteoarthritis for seven weeks. The program, developed by the researcher, is based on self-management theory (Creer, 2000), including health education and self-management skills practice for knee osteoarthritis and falls, thigh muscle exercises, cane skill practice, and environment management. The research instruments included 1) a family promoting program for self-management of older persons with knee osteoarthritis 2) a fall prevention guidebook for older persons with knee osteoarthritis and their families 3) a family promoting guidebook for self-management of older persons with knee osteoarthritis. The content validity index of the instruments were 0.99, 1.00 and 1.00, respectively. Instruments for collecting data included demographic questionnaires, Thai fall risk assessment test (Thai-FRAT), and the time up and go test (TUGT). The Cronbach's alpha coefficient for reliability were 0.99 and 0.98, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, and the McNemar test and Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test were used to compare the risk for falling and the balance and walking ability levels of older persons with knee osteoarthritis in the community before and after recieving the program. The results of this study were as follows: 1. The number of participants at risk of falling before (n = 23) (100%) and after (n = 3) (13.05%) the family promoting program for self-management of older persons with knee osteoarthritis on fall prevention decreased. After participating in the program, the number of participants showed a statistically significant lower level of risk of falling (p<0.001). 2. The number of participants at a level of balance and walking ability before (moderate = 65.20%, and low = 34.80%) and after (good = 56.52%, moderate = 39.13%, and low = 4.35%) the family promoting program for self-management of older persons with knee osteoarthritis on fall prevention increased. After participating in the program, participants showed a statistically significant higher level of balance and walking ability (z = -4.47, p<0.001). The results of this study reveal that the effect of the family promoting program for self-management of older persons with knee osteoarthritis on fall prevention can reduce the level of risk of falling and enhance a level of balance and walking ability. The results will be beneficial for community nurses and health care teams to use as a guideline to promote family intervention and support for older persons with knee osteoarthritis in the community in order to self-manage and prevent falls.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมต่อการป้องกันการหกล้มen_US
dc.title.alternativeEffect of the Family Promoting Program for Self-management of Older Persons with Knee Osteoarthritis on Fall Preventionen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งการหกล้มเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัว การส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมต่อการป้องกันการหกล้มจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมต่อการป้องกันการหกล้ม ในชุมชนตำบล ศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 23 ราย และครอบครัว ได้รับโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวคิดการจัดการตนเองของ เครียร์ (2000) ประกอบด้วย กิจกรรมการให้ความรู้และฝึกทักษะการจัดการตนเองในการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา การฝึกทักษะใช้ไม้เท้า และการจัดการสิ่งแวดล้อม เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมต่อการป้องกันการหกล้ม 2) คู่มือการป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมและครอบครัว 3) คู่มือส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.99 , 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทย 3) แบบประเมินความสามารถในการทรงตัวและการเดิน ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.99 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ McNemar test และ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test เพื่อเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงต่อการหกล้มและระดับความสามารถในการทรงตัวและการเดินของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเสี่ยงต่อการหกล้มก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในระดับเสี่ยงต่อการหกล้มทั้งหมด จำนวน 23 คน (ร้อยละ 100.00) และหลังได้รับโปรแกรมมีระดับความเสี่ยงต่อการหกล้ม จานวน 3 คน (ร้อยละ 13.05) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเสี่ยงต่อการหกล้มในระยะก่อนและระยะหลังได้รับโปรแกรม พบว่า หลังได้รับโปรแกรมจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีระดับความเสี่ยงต่อการหกล้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 2. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความสามารถในการทรงตัวและการเดินก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 65.20) และระดับต่ำ (ร้อยละ 34.80) หลังจากได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีระดับความสามารถในการทรงตัวและการเดินในระดับดี (ร้อยละ 56.52) รองลงมา คือ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 39.13) และระดับต่ำ (ร้อยละ 4.35) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระดับความสามารถในการทรงตัวและการเดินของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ระดับความสามารถในการทรงตัวและการเดินของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -4.47, p<0.001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงผลของโปรแกรมส่งเสริมครอบครัวเพื่อการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมต่อการป้องกันการหกล้ม สามารถลดระดับความเสี่ยงต่อการหกล้มและเพิ่มระดับความสามารถในการทรงตัวและการเดิน ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมครอบครัวและผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231011 ธีรพันธ์ จันทร์เป็ง.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.