Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssistant Professor Dr. Tossapol Moonmanee-
dc.contributor.advisorAssistant Professor Dr. Raktham Mektrirat-
dc.contributor.advisorDr. Julakorn Panatuk-
dc.contributor.authorWilasinee Pirokaden_US
dc.date.accessioned2020-08-10T01:34:51Z-
dc.date.available2020-08-10T01:34:51Z-
dc.date.issued2020-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69470-
dc.description.abstractImproving efficiency of synchronization protocols for ovulation and fixed-time artificial insemination (fixed-time AI) is essential to improve female reproductive ability in dairy cattle. Hormonal protocols for synchronization of ovulation and fixed-time AI, with a combination of progesterone (P4), prostaglandin F2α (PGF2α), gonadotropin releasing hormone (GnRH), and estradiol (E2), attempt to induce a new dominant follicle, luteal function, and ovulation at a designated time. Moreover, the low fertility of dairy cows during heat stress, they have been classified as repeat breeding cows that do not become pregnant until the third or remain infertile after numerous inseminations. As result, inadequate P4 concentrations during the luteal phase result in reduction of fertility in dairy cows. The induction of accessory corpus luteum (CL) on ovary by GnRH represents one important method to improve endogenous P4 concentration during the luteal phase. Therefore, the aims of the present thesis were 1) to evaluate the administrations of GnRH at the initiation of the short-term (5 days) ovulating synchronization protocol, at AI, and 5 days after AI on estrous and ovulatory responses, pregnancy rate, and P4 concentration in lactating dairy cows and 2) to improve pregnancy rate and reduce embryonic loss by the short-term (5 days) protocol supplemented with GnRH at 5 days after AI in repeat breeding dairy cows, under field condition with a high THI in the northern Thailand. This thesis included two experiments. Experiment 1 was divided in to two sub-experiments as follows. Experiment 1.1: a total of 43 non-pregnant dairy cows were randomized into 4 groups as follows. The 1G + noE group, cows (n=10) were inserted the controlled internal drug release (CIDR) device, into the vagina, for 5 days. On the day of the CIDR withdrawal (Day 5), first PGF2α was injected intramuscularly. Continuously, 24 h after first PGF2α injection (Day 6), cows were received second PGF2α. On Day 8, cows were received final GnRH. The 1G + yesE group, cows (n=11) received the short-term protocol similar to the 1G + noE group, except adding of E2 on Day 6. The 2G + noE group, cows (n=10) received the short-term protocol similar to the 1G + noE group, except adding of initial GnRH on Day 0. The 2G + yesE group, cows (n=12) received the short-term protocol similar to the 1G + noE group, except adding of initial GnRH on Day 0 and E2 on Day 6. All cows were inseminated 72 h after CIDR withdrawal. The percentage of dairy cows that ovulated after final GnRH injection (on Day 8) was greater (P < 0.05) in 2G + noE group (100.0%) compared with 2G + yesE and 1G + yesE groups (42.9 and 0.0%) but was not different when compared with 1G + noE group (70.0%). Thus, the short-term (5 days) protocol in 2G + noE group was appropriated for ovulating synchronization and fixed-time AI in lactation dairy cows. Experiment 1.2: 32 cows were synchronized with the effective 5-day P4-based protocol from Experiment 1.1 (2G + noE group). To induce the formation of accessory CL, all cows received GnRH injection at 5 days after the end of the synchronization protocol. Based on evaluation of formed CL on ovary, only cows that appeared CL (n=22) were classified into two groups according to number of CLs on ovaries: 1 CL group (original CL on ovary; n=14) and 2 CLs group (original CL + accessory CL on ovaries; n=8). Cows that presented 2 CLs on ovaries had a greater (P < 0.05) maximum concentration of plasma P4 than cows presenting only 1 CL on ovary (16.04 ± 1.60 vs. 13.85 ± 1.13 ng/ml). Experiment 2: 213 repeat breeding cows that raised under field condition with a greater THI (81.7 to 82.4) in the northern Thailand were synchronized with the effective 5-day P4-based protocol from Experiment 1.1 (2G + noE group). All cows were inseminated at 72 h after CIDR withdrawal (on day 0). At 5 days after fixed-time AI, cows were randomly assigned to two groups according to GnRH treatment: control group (n=100) and treatment group (n=113). GnRH-treated cows had greater pregnancy rates at 30 (P = 0.001) and 60 (P = 0.001) days after fixed-time AI, compared with GnRH-untreated cows (49.6 vs. 26.0% and 48.7 vs. 23.0% for 30 and 60 days, respectively). Furthermore, embryonic loss from 30 to 60 days after fixed-time AI tended (P = 0.07) to reduce in cows that received GnRH treatment than in cows that did not receive GnRH treatment (1.8 vs. 11.5%). Conclusion, the short-term (5 days) P4-PGF2α-GnRH-based protocol was appropriated for ovulating synchronization and fixed-time AI in lactation dairy cows. Moreover, the 5-day protocol supplemented with GnRH at 5 days after AI can improve concentration of P4 after AI in lactation dairy cows. Under the field condition of the northern Thailand with a high THI that induce heat stress, application of the short-term (5 days) ovulating synchronization supplemented with GnRH at 5 days after AI can increase pregnancy rate in repeat breeding dairy cows.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleApplication of Short-Term Ovulating Synchronization and Fixed-Time Artificial Insemination Protocol to Enhance Pregnancy Rates in Lactating Dairy Cowsen_US
dc.title.alternativeการประยุกต์ใช้โปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่แบบระยะสั้นและกำหนดเวลาการผสมเทียมเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องในโครีดนมen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลา การผสมเทียม (fixed-time AI) เป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนม ซึ่งโปรแกรมฮอร์โมนที่มีการใช้ฮอร์โมน progesterone (P4) ฮอร์โมน prostaglandin F2α (PGF2α) ฮอร์โมน gonadotropin releasing hormone (GnRH) และฮอร์โมน estradiol (E2) ร่วมกันจะช่วยเหนี่ยวนำให้เกิด dominant follicle บนรังไข่และเกิดการตกไข่ ในเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ภาวะเครียดอันเนื่องมาจากความร้อนส่งผลเชิงลบต่อความสมบูรณ์พันธุ์ในแม่โครีดนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่โครีดนมที่ผสมติดยาก เป็นผลทำให้มีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 ไม่เพียงพอในช่วงหลังการไข่ตกเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้อัตราการตั้งท้องลดลงในแม่โครีดนม ด้วยเหตุนี้การเหนี่ยวนำโดยใช้ฮอร์โมน GnRH ให้เกิดโครงสร้าง accessory corpus luteum (CL) จึงเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 ในกระแสเลือดในช่วงหลังการไข่ตก ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลของการใช้ฮอร์โมน GnRH ในวันเริ่มต้นโปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ระยะสั้นแบบ 5 วัน ในวันที่ทำการผสมเทียม และ 5 วัน หลังการผสมเทียม ต่อการเป็นสัดและการตกไข่ อัตราการตั้งท้อง และความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 ในแม่โครีดนม และ 2) เพื่อปรับปรุงอัตราการตั้งท้องและลดอัตราการตายของตัวอ่อนด้วยโปรแกรมระยะสั้นแบบ 5 วัน ที่เสริมด้วยฮอร์โมน GnRH ในวันที่ 5 หลังการผสมเทียม ในแม่โคนมที่ผสมติดยากซึ่งเลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีค่า temperature humidity index (THI) สูงในภาคเหนือของประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ถูกแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1.1 ทำการสุ่มแม่โครีดนม 43 ตัว ที่ไม่ตั้งท้องเข้าสู่กลุ่มการทดลอง 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1G + noE แม่โครีดนม (n=10) ได้รับการสอดแท่งฮอร์โมน CIDR เข้าสู่ช่องคลอดเป็นเวลา 5 วัน ในวันที่ 5 (Day 5) ทำการถอดแท่ง CIDR พร้อมทั้งฉีด PGF2α ครั้งที่ 1 ต่อจากนั้นอีก 1 วัน (Day 6) ฉีดฮอร์โมน PGF2α ครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 (Day 8) ทำการฉีด GnRH กลุ่ม 1G + yesE แม่โครีดนม (n=11) ได้รับโปรแกรมฮอร์โมนเช่นเดียวกันกับโปรแกรม 1G + noE แต่ได้รับการเสริม E2 ในวันที่ 6 (Day 6) กลุ่ม 2G + noE แม่โครีดนม (n=10) ได้รับโปรแกรมฮอร์โมนเช่นเดียวกันกับโปรแกรม 1G + noE แต่ได้รับการฉีด GnRH ในวันที่ 0 (Day 0) และกลุ่ม 2G + yesE แม่โคนม (n=12) ได้รับโปรแกรมฮอร์โมนเหมือนโปรแกรม 1G + noE แต่ได้รับการฉีด GnRH ในวันที่ 0 (Day 0) และได้รับการเสริม E2 ในวันที่ 6 (Day 6) แม่โคนมทั้งหมดได้รับการผสมเทียมที่เวลา 72 ชั่วโมง หลังถอด CIDR ผลพบว่า ร้อยละของแม่โครีดนมที่เกิดการตกไข่หลังฉีด GnRH ครั้งสุดท้าย (Day 8) ในแม่โคกลุ่ม 2G + noE (100.0%) มากกว่า (P < 0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่ม 2G + yesE และ 1G + yesE (42.9 และ 0.0%) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่ม 1G + noE (70.0%) ดังนั้นโปรแกรมระยะสั้นแบบ 5 วัน ในกลุ่ม 2G + noE จึงเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลาผสมเทียมในแม่โครีดนม การทดลองที่ 1.2 ทำการศึกษาในแม่โค จำนวน 32 ตัว ที่ได้รับโปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ระยะสั้นแบบ 5 วัน ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดจาการทดลองที่ 1 (กลุ่ม 2G + noE) เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และสร้างโครงสร้าง CLs แม่โคทุกตัวได้รับการเสริม GnRH ในวันที่ 5 หลังได้รับโปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ระยะสั้นแบบ 5 วัน ซึ่งพบว่า มีแม่โคเพียงจำนวน 22 ตัว ที่ปรากฏโครงสร้าง CLs บนรังไข่ จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ตามจำนวนการปรากฏโครงสร้าง CLs บนรังไข่ ได้แก่ กลุ่ม 1 CL (original CL; n = 14) และ กลุ่ม 2 CLs (original CL and accessory CL; n = 8) ผลพบว่า แม่โคที่ปรากฏ 2 CLs บนรังไข่ มีความเข้มข้นสูงสุดของฮอร์โมน P4 มากกว่า (P < 0.05) เมื่อเทียบกับแม่โคที่ปรากฏ 1 CL บนรังไข่ (16.04 ± 1.60 เทียบกับ 13.85 ± 1.13 ng/ml) และ การทดลองที่ 2 แม่โครีดนมที่ผสมติดยาก จำนวน 213 ตัว ที่ถูกเลี้ยงในแม่โคนมที่ผสมติดยากซึ่งเลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีค่า THI สูง (81.7 ถึง 82.4) ในภาคเหนือของประเทศไทย ได้รับโปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ระยะสั้นแบบ 5 วัน ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดจาการทดลองที่ 1 (กลุ่ม 2G + noE) แม่โคนมทั้งหมดได้รับการผสมเทียมที่เวลา 72 ชั่วโมง หลังถอด CIDR (on day 0) จากนั้น 5 วันหลังผสมเทียม แม่โคถูกสุ่มเข้าสู่กลุ่มการทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (n=100) และกลุ่มทรีทเมนต์ (n=113) ผลพบว่า แม่โคที่ได้รับการเสริม GnRH มีอัตราการตั้งท้องที่ 30 วัน (P = 0.001) และ 60 วัน (P = 0.001) หลังการผสมเทียม มากกว่าเมื่อเทียบกับแม่โคที่ไม่ได้รับการเสริม GnRH (49.6% เทียบกับ 26.0% และ 48.7% เทียบกับ 23.0% ที่อายุท้อง 30 และ 60 วัน หลังผสมเทียม ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่า การตายของตัวอ่อนมีแนวโน้มที่ลดลง (P = 0.07) ในแม่โคที่ได้รับการเสริม GnRH มากกว่าแม่โคที่ไม่ได้รับการเสริม GnRH (1.8 เทียบกับ 11.5%) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโปรแกรมระยะสั้นแบบ 5 วัน ที่ใช้ฮอร์โมน P4, PGF2α และ GnRH เป็นฮอร์โมนพื้นฐานเหมาะสมสำหรับเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลาการผสมเทียมในแม่โครีดนม รวมทั้งโปรแกรมระยะสั้นแบบ 5 วัน ที่เสริมด้วยฮอร์โมน GnRH ในวันที่ 5 หลังการผสมเทียมสามารถเพิ่มความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 ภายหลังการผสมเทียมได้ และภายใต้สภาพแวดล้อมทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีค่า THI สูงซึ่งเหนี่ยวนำทำให้เกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน การประยุกต์ใช้โปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่แบบระยะสั้น 5 วัน ที่เสริมด้วยฮอร์โมน GnRH ในวันที่ 5 หลังผสมเทียมสามารถเพิ่มอัตราการตั้งท้องในแม่โคนมที่ผสมติดยากen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600831031 วิลาสินี ภิโรกาศ.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.