Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69386
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. สรัญยา วัลยะเสวี-
dc.contributor.advisorดร. วิลาวัลย์ คำปวน-
dc.contributor.authorวิกานดา หน่ายชาวนาen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:03:11Z-
dc.date.available2020-08-07T01:03:11Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69386-
dc.description.abstractMango fruits cv. Nam Dok Mai showing typical anthracnose symptoms were collected from markets in Amphoe Mueang, San Pa Tong and Phrao, Chiang Mai. The symptoms from each sample were same. Thirty-five isolates of Colletotrichum gloeosporioides were suscessfully isolated and divided into 5 groups according to color of colony; white, greyish-white, dark grey, light grey and grey. Morphological characteristics according to Sutton (1992) and effects on pathogenicity of all isolates were the same. Eucalyptus wood vinegar at 0.5 and 1.0% concentration inhibited colony growth of C. gloeosporioides; NDM_MuF3, NDM_MuF10, NDM_SptF5, NDM_PhF12 and NDM_PhF17, ranging from 37.14 – 61.48 and 18.90 – 26.67%, respectively. However, wood vinegar was not affected to hyphal tip of fungal pathogens, but could inhibit colony growth with time in term of delay germination. Moreover, wood vinegar was also inhibiting conidial germination of pathogen until 18 h after treatment. Although germ tube of treated conidia was shorter than control, wood vinegar had no effect on morphological characteristics of conidia. In addition, wood vinegar at 1.0% concentration had more efficiency than 0.5% concentration both inhibition of colony growth and conidial germination. When mixed the suspensions of six actinomycetes; NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 and NSP6, with eucalyptus wood vinegar to final concentration at 0, 0.5 and 1.0%, amount of actinomycetes in control (0%) was had 4.4 × 105, 1.6 × 105, 1.4 × 106, 1.5 × 106, 4.8 × 104 and 1.4 × 106 CFU/ml, respectively. While actinomycetes in mixed suspensions with wood vinegar at 0.5% was increased to 3.3 × 106, 2.5 × 106, 1.4 × 106, 2.3 × 107, 2.6 × 107 and 2.8 × 107 CFU/ml, respectively. But in actinomycetes in mixed suspensions with wood vinegar at 1.0% become to actinomycetes was decreased to 3.6 × 105, 5.2 × 105, 4.3 × 105, 2.5 × 105, 7.0 × 103 and 8.3 × 104 CFU/ml, respectively. Furthermore, efficiency of actinomycetes mixed with wood vinegar (both 0.5 and 1.0%) on inhibiting colony growth of pathogens was increased to 72.82 – 82.05 and 78.97 – 83.59%, respectively. While actinomycetes alone inhibited ranging from 76.92 – 80.51%, respectively. When tested using dual culture technique. However, using agar well diffusion method on testing efficiency of actinomycetes mixed with wood vinegar was not suitable method; percent inhibition was decreased. Furthermore, the NSP5 mixed with wood vinegar (both 0.5 and 1.0%) could completely inhibit (100%) conidial germination of pathogens until 24 h after treatment. However, actinomecetes mixed with wood vinegar could only inhibit colony growth and conidial germination with time in term of delay germination, but not affected to abnormalities of pathogens. In addition, anthracnose disease on mango fruits cv. Nam Dok Mai was decreased when immersed fruits in the NSP1 mixed with wood vinegar at concentration 1.0% for 1 min in term of eradication; gave 58.33% of biocontrol efficiency. Furthermore, quality of mango after test comparing with normal mango was scored by five examiners which in rate of acceptable and favorable level (score 4 from 5).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสร่วมกับเชื้อ แอกติโนไมซีสต์ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง พันธุ์น้ำดอกไม้en_US
dc.title.alternativeEfficiency of Eucalyptus Wood Vinegar Combined Actinomycetes for Controlling Colletotrichum gloeosporioides Causing Anthracnose Disease of Mango cv. Nam Dok Maien_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractจากการเก็บตัวอย่างผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่แสดงอาการโรคแอนแทรคโนสจากตลาดต่างๆ ในอำเภอเมือง อำเภอสันป่าตอง และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พบอาการของโรค แอนแทรคโนสที่ปรากฏบนผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้จากแต่ละแหล่งไม่ต่างกัน ซึ่งสามารถแยกเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ได้ทั้งหมด 35 ไอโซเลท และแบ่งกลุ่มตามลักษณะจากสีโคโลนีออกได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ สีขาว (white) สีเทาเขียว (greenish-grey) สีเทาเข้ม (dark gray) สีเทาอ่อน (light grey) และสีเทา (grey) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สามารถจัดจำแนกตามหลักเกณฑ์ของ Sutton (1992) และความสามารถในการก่อโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ไม่ต่างกัน เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสความเข้มข้น 0.5 และ 1.0 เปอร์เซนต์ ในการควบคุมการเจริญเส้นใยของเชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง จำนวน 5 ไอโซเลท ได้แก่ NDM_MuF3, NDM_MuF10, NDM_SptF5, NDM_PhF12 และ NDM_PhF17 พบว่าน้ำส้มควันไม้สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราได้ในช่วง 37.14 – 61.48 และ 18.90 – 26.67 เปอร์เซนต์ โดยที่น้ำส้มควันไม้ไม่มีผลทำให้ปลายเส้นใยเชื้อราสาเหตุมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่มีผลทำให้เชื้อราสาเหตุมีการเจริญที่ช้าลงเท่านั้น นอกจากนี้ น้ำส้มควันไม้ยังสามารถยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุ โดยมีประสิทธิภาพในการชะลอการงอกของสปอร์ได้ถึงชั่วโมงที่ 18 หลังทดสอบ และยังมีความยาว germ tube น้อยกว่าชุดควบคุมในทุกช่วงเวลาที่ตรวจสอบผล แต่ไม่มีผลในการทำให้สปอร์ของเชื้อรางอกผิดปกติ ซึ่งน้ำส้มควันไม้ความเข้มข้น 1.0 เปอร์เซนต์ มีประสิทธิภาพดีกว่า 0.5 เปอร์เซนต์ ทั้งในด้านยับยั้งการเจริญของเส้นใย และการงอกสปอร์เชื้อราสาเหตุโรค เมื่อนำสารแขวนลอยเชื้อแอกติโนไมซีสต์ จำนวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ผสมน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสให้ได้ความเข้มข้นสุดท้ายเท่ากับ 0, 0.5 และ 1.0 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ พบว่าในขณะที่ชุดควบคุม คือ สารแขวนลอยเชื้อแอกติโนไมซีสต์ที่ไม่ได้ผสมน้ำส้มควันไม้ พบปริมาณเชื้อแอกติโนไมซีสต์เท่ากับ 4.4 × 105, 1.6 × 105, 1.4 × 106, 1.5 × 106, 4.8 × 104 และ 1.4 × 106 CFU/ml ตามลำดับ ในขณะที่การผสมน้ำส้มควันไม้ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซนต์ ในสารแขวนลอยสามารถส่งเสริมการเจริญของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ได้ โดยมีปริมาณเชื้อเท่ากับ 3.3 × 106, 2.5 × 106, 1.4 × 106, 2.3 × 107, 2.6 × 107 และ 2.8 × 107 CFU/ml ตามลำดับ แต่ในสารแขวนลอยผสมน้ำส้มควันไม้ 1.0 เปอร์เซนต์ กลับทำให้เชื้อแอกติโนไมซีสต์มีจำนวนลดลง คือ 3.6 × 105, 5.2 × 105, 4.3 × 105, 2.5 × 105, 7.0 × 103 และ 8.3 × 104 CFU/ml ตามลำดับ โดยที่เชื้อ แอกติโนไมซีสต์ยังคงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา นอกจากนี้ การผสมน้ำส้มควันไม้ในสารแขวนลอยยังมีผลในการส่งเสริมประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราด้วยวิธี dual culture technique เนื่องจากเชื้อแอกติโนไมซีสต์ที่ได้จากสารแขวนลอยไม่ผสมน้ำส้มควันไม้ มีประสิทธิภาพอยู่ในช่วง 76.92 – 80.51 เปอร์เซนต์ ในขณะที่การผสมน้ำส้มควันไม้ความเข้มข้น 0.5 และ 1.0 เปอร์เซนต์ มีประสิทธิภาพในช่วง 72.82 – 82.05 และ 78.97 – 83.59 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ แต่กลับมีประสิทธิภาพลดน้อยลง เมื่อทดสอบด้วยวิธี agar well diffusion method ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมต่อการทดสอบประสิทธิภาพของสารแขวนลอยเชื้อแอกติโนไมซีสต์ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราด้วยวิธี slide culture พบว่าสารแขวนลอยเชื้อแอกติโนไมซีสต์ ไอโซเลท NSP5 ที่ผสม น้ำส้มควันไม้ทั้ง 2 ความเข้มข้น สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ได้ 100 เปอร์เซนต์ จนถึงเวลาที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งสารแขวนลอยเชื้อแอกติโนไมซีสต์ผสมน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสสามารถชะลอการเจริญของเส้นใย และการงอกของสปอร์เชื้อราเท่านั้น แต่ไม่มีผลในการทำให้เชื้อรามีความผิดปกติ นอกจากนี้ การแช่ผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ในสารแขวนลอยเชื้อแอกติโนไมซีสต์ไอโซเลท NSP1 ผสมน้ำส้มควันไม้ความเข้มข้น 1.0 เปอร์เซนต์ เป็นเวลา 1 นาที มีประสิทธิภาพลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสดีที่สุดเมื่อใช้ในด้านของการกำจัดโรค ซึ่งประสิทธิภาพเท่ากับ 58.33 เปอร์เซนต์ โดยเมื่อตรวจสอบคุณภาพของผลมะม่วงภายหลังการทดสอบเปรียบเทียบกับผลมะม่วงปกติจากผู้ทดสอบจำนวน 5 คน พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับชอบ หรือคะแนนเท่ากับ 4 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนen_US
Appears in Collections:GRAD-Sciences and Technology: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.