Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69361
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาติชาย โขนงนุช-
dc.contributor.authorวีระชัย บรรดาวงศ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-06T08:26:21Z-
dc.date.available2020-08-06T08:26:21Z-
dc.date.issued2014-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69361-
dc.description.abstractThe study aimed to investigate the effects of microbial seed culture, proteases and soybean koji on quality of Siamese Mud Carp fish sauce. Totally 45 isolates of halophillic bacteria were isolated from 38 samples of fermented freshwater fish. Screening for protease producing capability by plate screening found that only 8 isolates demonstrated the protease production and formed clear zone and the isolate VK31 and VK20 were selected as the protease producer for further study. According to the morphological characteristics and the comparison data of 16S rDNA nucleotide sequence analysis, isolate VK20 and VK314 were identified to be Virgibacillus halodenitrificans and Kushneria avicenniae, respectively. Fermentation of Siamese Mud Carp fish sauce were conducted at 25-35oC for studying the effects of additional ingredients on qualities of fish sauce. The experimental were divided into 5 formulas including control (CTR1), addition of VK31 and VK20 seed culture (PCU2), soybean koji addition (SBK3), addition of crude enzyme from VK31 and VK20 (CEZ4) and commercial protease (CMZ5), respectively. Fish sauce samples were sampling with 1 or 2 months intervals during the fermentation and analyzed for microbiological and chemical properties. For the microbiological quality, the number of total bacteria was the lowest in the control formula (CTR1) and none of yeast, fungi and lactic acid bacteria was detected, while yeast and fungi were found in the largest number in the formula of SBK3. The chemical quality analysis found that the pH values of all Siamese Mud Carp fish sauce formulas were gradually decreased to acidic condition after 10 months fermentation. The pH values were ranged from 5.75 to 6.55. In addition, SBK3 formula contained the highest quantities of total protein up to 17 gram per 100 gram fish sauce. Moreover, the total amino acid was found 7.57 gram per 100 gram fish sauce which is 44% of total protein by weight and passed the industrial standard of local fish sauce. Whereas, the commercial Siamese Mud Carp fish sauce was found only 6.73 gram per 100 gram fish sauce. SBK3 formula showed the amino acid glutamic acid and lysine as high as 1.17 and 0.94 gram per 100 grams of fish sauce. Additionally, the profiles volatile compounds of SBK3 fish sauce were different from others particularly a peak at retention time of 54.63 minute. The physical quality by color determination found that the range of L* values were 24.79 - 27.78, a* values were -0.22 - 1.77, and b* values were 6.05 - 8.55. The sensory test of all Siamese Mud Carp fish sauce formulas found that all are not different from commercial Siamese Mud Carp fish sauce. The scores of odor and overall of SBK3 formula were the highest and almost similar to the commercial Siamese Mud Carp fish sauce. This was suggested to be affected by the specificity of enzymes either from Aspergillus oryzae in soybean koji or commercial enzyme with Siamese Mud Carp protein. The results from this experiment indicated that addition of 3% by weight of soybean koji and commercial pepsin improved the Siamese Mud Carp fish sauce properties particularly the amino acid content, color and odor.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเชื้อจุลินทรีย์en_US
dc.subjectโคจิถั่วเหลืองen_US
dc.subjectน้ำปลาen_US
dc.titleผลของกล้าเชื้อจุลินทรีย์ โปรตีเอส และโคจิถั่วเหลืองต่อคุณภาพของน้าปลาปลาสร้อยen_US
dc.title.alternativeEffects of microbial seed culture, proteases and soybean Koji on kuality of siamese mud carp fish sauceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc664.58-
thailis.controlvocab.thashน้ำปลา -- การผลิต-
thailis.controlvocab.thashน้ำปลา -- การหมัก-
thailis.manuscript.callnumberว 664.58 ว3711ผ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาผลของกล้าเชื้อจุลินทรีย์ โปรตีเอส และ โคจิถั่วเหลืองต่อคุณภาพของน้ำปลาปลาสร้อย การคัดแยกเชื้อแบคทีเรียชอบเกลือจากตัวอย่างปลาหมัก 38 ตัวอย่าง สามารถแยกแบคทีเรียทนเกลือได้ทั้งหมด 45 ไอโซเลท จากการคัดกรองความสามารถในการผลิตเอนไซม์โปรตีเอสโดยวิธี plate screening พบว่ามี 8 ไอโชเลท ที่สามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเอสและสร้างวงใสได้ ไอโซเลท VK31 และ VK20 ได้รับการคัดเลือกเป็นจุลินทรีย์ผู้ผลิตเอนไซม์โปรตีเอสเพื่อใช้ในการศึกษาในการทดลองขั้นต่อไป การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา และเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA พบว่าไอโซเลท VK31 และ VK20 คือ Kushneria avicenniae และ Virgibacillus halodenitrificans ตามลำดับ การหมักน้ำปลาปลาสร้อยที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาผลของการเติมส่วนประกอบเพิ่มเติมต่อคุณภาพของน้ำปลา โดยแบ่งเป็น 5 ชุดการทดลอง คือ ชุดควบคุม (CTR1) ชุดการทดลองที่เติมกล้าเชื้อบริสุทธิ์ของ ไอโซเลท VK31 and VK20 (PCU2) ชุดการทดลองที่เติมโคจิถั่วเหลือง (SBK3) ชุดการทดลองที่เติมเอนไซม์หยาบจากการเลี้ยงไอโซเลท VK31 and VK20 (CEZ4) และชุดการทดลองที่เติมเอนไซม์โปรตีเอสทางการค้า (CMZ5) การตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุล-ชีววิทยาทุก 1 หรือ 2 เดือน พบว่า ชุดการทดลองควบคุม (CTR1) มีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดต่ำที่สุด และไม่พบรา ยีสต์ และแบคทีเรียกรดแลกติกในระหว่างการการหมัก ชุดการทดลอง SBK3 พบปริมาณยีสต์และราสูงที่สุด การตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำปลาปลาสร้อยทุกชุดการทดลองมีแนวโน้มเป็นกรดเล็กน้อยภายหลังการหมักเป็นเวลา 10 เดือน มีค่าพีเอชอยู่ที่ 6.55 ถึง 5.72 ชุดการทดลองที่เติมโคจิ (SBK3) มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงที่สุด คือ 17 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำปลา และตรวจพบปริมาณกรดอะมิโนรวมเท่ากับ 7.57 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำปลา คิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมน้ำปลาพื้นเมือง ในขณะที่น้ำปลาทางการค้าพบกรดอะมิโนรวมเพียง 6.73 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำปลา นอกจากนี้การทดลองชุด SBK3 พบกลูตามิกและไลซีนสูงถึง 1.17 และ 0.94 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำปลา การตรวจวิเคราะห์สารประกอบระเหยง่ายของน้ำปลาปลาสร้อยที่หมักเป็นระยะเวลา 10 เดือน พบว่าชุดการทดลอง SBK3 ตรวจพบสารประกอบระเหยง่ายที่แตกต่างจากชุดการทดลองอื่นๆ ที่ retention time เท่ากับ 54.63 นาที การตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพด้วยการวัดค่าสีพบว่า ค่า L* อยู่ในช่วง 24.79 ถึง 27.78 ค่า a* อยู่ในช่วง -0.22 ถึง 1.77 และค่า b* อยู่ในช่วง 6.05 ถึง 8.55 ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า น้ำปลาจากทุกชุดการทดลองให้รสและกลิ่นที่ไม่แตกต่างจากน้ำปลาปลาสร้อยทางการค้า ชุดการทดลอง SBK3 และ CMZ5 เป็นสองชุดการทดลองที่ได้คะแนนการยอมรับของผู้บริโภคสูงกว่าชุดการทดลองอื่น และใกล้เคียงกับน้ำปลาปลาสร้อยทางการค้ามากที่สุด โดยน้ำปลาจากชุดการทดลอง SBK3 ได้คะแนนกลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวมสูงที่สุด และใกล้เคียงกับน้ำปลาทางการค้าโดยไม่จำเป็นต้องปรุงแต่งกลิ่นและรสของน้ำปลา สัณนิษฐานว่าเป็นผลเนื่องมาจากผลของความจำเพาะของเอนไซม์โปรตีเอสจาก Aspergillus oryzae ในโคจิ และเอนไซม์เพปซินทางการค้าต่อโปรตีนในเนื้อปลาสร้อย ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การเติมโคจิถั่ว-เหลืองและเอนไซม์เพปซินทางการค้าสามารถปรับปรุงคุณภาพการผลิตน้ำปลาปลาสร้อยได้ โดย เฉพาะคุณภาพด้านปริมาณกรดอะมิโน สีและกลิ่นen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.