Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69324
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssociate Professor Dr. Linchong Pothiban-
dc.contributor.advisorAssistant Professor Dr. Rojanee Chintanawat-
dc.contributor.advisorDr. Songserm Seangthong-
dc.contributor.authorAraya Jeranukulen_US
dc.date.accessioned2020-08-05T03:49:59Z-
dc.date.available2020-08-05T03:49:59Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69324-
dc.description.abstractHope and coping are major factors affecting quality of life in the terminally ill persons with cancer. Therefore, enhancing their hope and ability to cope with their illness can improve their quality of life. This two group pre-posttest experimental design aimed to investigate the effects of the Enhancing Wisdom through Buddhist Doctrine Program on hope and coping in terminally ill persons with cancer. A sample of 38 terminally ill Thai Buddhist persons with cancer, whose ages ranged from 40-70 years and who met the inclusion criteria were recruited for this study. The participants were randomly assigned into an experimental group or control group. The experimental group received the Enhancing Wisdom through Buddhist Doctrine Program consisting of a five-day training session and follow-up through home visits and telephone calls for four weeks, whereas the control group received standard care. The final sample for analysis included 33 participants, 15 in the experimental group and 18 in the control group. Data were collected at baseline, at the program end, one month after, and two months after the end of program using the Herth Hope Index and Jalowiec Coping Scale. These scales were chosen for their reliability and validity. Data were analyzed using descriptive statistics, one and two-way repeated measures ANOVA, and independent sample t- test. Results revealed that participants in the experimental group had significantly higher levels of hope over time at all follow-up time points - the program end, one month and two months after the end of program (p < .01) - as compared with hope measured at baseline. Following the program, levels of hope among the experimental group were significantly higher than for those receiving standard care at one month (p < .01) and two months post program (p < .01). With regards to coping, overall, the confrontive and palliative coping of participants in the experimental group did not significantly change over time, though emotive coping in this group was significantly lower at follow-up time points - at one month after and two months after (p < .01) - than before the program. After receiving the program, overall coping, confrontive and palliative coping of the experimental group was not significantly higher than those receiving standard care. However, emotive coping of the experimental group was significantly lower than that of the control group one month and two months following the program (p < .01). Study findings can be used as a guide for planning interventions to enhance hope and coping abilities of terminally ill persons with cancer. Additionally, further research is needed to implement the program in the home. It is also recommended that future studies employ a double-blind experimental design, use a larger sample size, and use a longer duration of follow-up to identify the long-term effects of the program.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleEffects of the Enhancing Wisdom through Buddhist Doctrine Program on Hope and Coping in Terminally Ill Cancer Personsen_US
dc.title.alternativeผลของโปรแกรมส่งเสริมปัญญาตามหลักพุทธธรรมต่อความหวังและการเผชิญปัญหาในผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractความหวังและการเผชิญปัญหาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ดังนั้นการส่งเสริมความหวังและการเผชิญปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยย่อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตในกลุ่มนี้ให้ดีขึ้นได้ การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมปัญญาตามหลักพุทธธรรมต่อความหวังและการเผชิญปัญหาในผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย นับถือศาสนาพุทธ มีอายุอยู่ระหว่าง 40-70 ปี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ถูกสุ่มเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมปัญญาตามหลักพุทธธรรม และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน โปรแกรมประกอบด้วย การเรียนรู้ในหลักพุทธธรรม การสะท้อนคิดในหลักพุทธธรรม การปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม โดยมีการฝึกอบรมจำนวน 5 วัน และติดตามเยี่ยมบ้านและเยี่ยมทางโทรศัพท์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมเวลาทั้งหมด 33 วัน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 38 ราย และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้จนสิ้นสุดโครงการมีจำนวน 33 ราย โดยเป็นกลุ่มทดลอง 15 ราย และกลุ่มควบคุม 18 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเข้าโปรแกรม หลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที หนึ่งเดือนและสองเดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม โดยใช้แบบวัดความหวังของเฮิร์ท และแบบวัดการเผชิญปัญหาของจาโลวีส ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีความหวังสูงขึ้นตลอดทุกช่วงของการวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) คือ หลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที หนึ่งเดือนและสองเดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีความหวังสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานในช่วงหนึ่งเดือนและสองเดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) สำหรับการเผชิญปัญหา พบว่า ไม่มีความแตกต่างของการเผชิญปัญหาโดยรวม การเผชิญปัญหาด้านเผชิญหน้ากับปัญหาและการเผชิญปัญหาด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียดตลอดช่วงเวลาของการวัดในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ยกเว้นการเผชิญปัญหาด้านการจัดการกับอารมณ์ในกลุ่มทดลองที่พบว่าต่ำกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงหนึ่งเดือนและสองเดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม (p < .01) นอกจากนี้ยังพบว่า ไม่มีความแตกต่างของการเผชิญปัญหาโดยรวม การเผชิญปัญหาด้านเผชิญหน้ากับปัญหา และการเผชิญปัญหาด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ยกเว้นการเผชิญปัญหาด้านการจัดการกับอารมณ์ที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีการเผชิญปัญหาด้านการจัดการกับอารมณ์ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่หนึ่งเดือน (p < .05) และสองเดือน (p < .01) หลังสิ้นสุดโปรแกรม ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการวางแผนการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความความหวังและการเผชิญปัญหาของผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ การนำโปรแกรมไปใช้กับผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่อยู่ที่บ้าน ออกแบบการทดลองแบบปิดสองด้าน มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่สูงขึ้น และควรมีการติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวกว่าการศึกษาในครั้งนี้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.