Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล-
dc.contributor.authorฐิติมา มานะพัฒนเสถียรen_US
dc.date.accessioned2020-08-04T00:37:26Z-
dc.date.available2020-08-04T00:37:26Z-
dc.date.issued2015-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69282-
dc.description.abstractMultidrug resistance organism (MDRO) infections in hospitals is an important public health concern for Thailand, contributing to increase morbidity and mortality rates among patients. Compliance with guidelines for prevention and control of MDROs is significant to prevent their spread and decrease hospital associated infection. This developmental research study aimed to develop electronic book on prevention of MDROs for registered nurses. The sample were 42 nurses at King Narai Hospital in Lopburi province. Participants were selected by simple random sampling and the study was conducted from May to August 2014. The research instruments, developed by the researcher, were prevention and control of MDROs knowledge pre-test, post-test and the electronic book user opinion and satisfaction questionnaire. These instruments were validated by an expert panel and the content validity index was .92, .97, .93 and .92, respectively. The reliability of the knowledge tests was .71 and .72. The efficiency of the electronic book was tested by individuals, small group and by field test. Data were analyzed using descriptive statistics. The results, process and outcome efficiency of the electronic book was 80.2/82.4 achieving the 80/80 minimum efficiency standard. User satisfaction of the electronic book was high for design, content, instruction media and application. This research suggests that an electronic book on prevention of MDRO transmission for registered nurses should be disseminated to the nursing to increase their knowledge and thus improve their practice of infection control.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานสำหรับพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.title.alternativeDevelopment of the Multidrug-Resistant Organism Transmission Prevention Electronic Book for Register Nursesen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานในโรงพยาบาล ถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย ส่งผลให้อัตราป่วยและอัตราตายของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น การปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานจึงมีความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและลดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานสำหรับพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี จำนวน 42 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย และดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แบบทดสอบความรู้ระหว่างเรียนและหลังเรียนเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .92, .97, .93 และ .92 ตามลำดับ แบบทดสอบความรู้มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .71 และ .72 ประเมินประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการนำไปทดสอบแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และแบบภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการประเมินประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน สำหรับพยาบาลวิชาชีพ พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.2/82.4 ดังนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ผ่านเกณฑ์ 80/80 ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในด้านการออกแบบ เนื้อหาบทเรียน สื่อและมัลติมีเดีย และการนำไปใช้ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ควรนำไปเผยแพร่ให้กับพยาบาลวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาลได้ศึกษา เพื่อให้มีความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานมากยิ่งขึ้นและนำไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานที่ถูกต้องต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.