Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69254
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนทัต อัศภาภรณ์-
dc.contributor.advisorกาญจนา เกียรติมณีรัตน์-
dc.contributor.authorกัญญาณัฐ อาวรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-03T07:38:10Z-
dc.date.available2020-08-03T07:38:10Z-
dc.date.issued2016-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69254-
dc.description.abstractThis independent study was to study the factors affecting job performance satisfaction and the guideline for promoting the performance of operational level officials affiliated with Faculty of Education, Chiang Mai University. The population for this study was that of 69operational level officials performing their duties during 2015 academic year. Among these, 36 oneswere responsible for general administration, 9 ones for finance, budget, and material supply, 6 ones for research, academic service, and foreign relations, 11 ones for educational service and student’s quality development, and 7 ones for policy, planning, and quality assurance. The tools used for the study included the questionnaire and interview forms along Herzberg’s Two-Factor Theory. Data were analyzed in terms of percentage, mean, and standard deviation. The findings reveal that factors affecting the official’s performance satisfaction included 5 motivating factors and 7 supporting ones the details of which are as follows: There were 5 motivating factors including performance success, acceptance, characteristics of the tasks, responsibility, and career progress. It was found that the officials rated the highest on responsibility with 4.12 mean which was at high level, followed by performance success with 3.93 mean which was at high level, characteristics of the task with 3.80 mean which was at high level, and acceptance with 3.46 mean which was at high level, and career progress with the least mean of 3.27 which wasatmoderate level. There were 7 supporting factors, namely, administrative policy, interpersonal relationship in the organization, job security, working environment, income and welfare, career status, and individual well-being. The findings reveal that the officials had rated the supporting factor on career status the most with 3.81mean which was at high level, followed by job security with 3.62 mean which was at high level, working environment with 3.51 mean which was at moderate level, income and welfare with 3.27 mean which was at moderate level, personal well-being with 3.26 mean which was at moderate level, and administrative policy which was rated the least with 3.20 mean which was at moderate level. The guideline for promoting the performance of the officials, it was found that there should be the promotion on developing body of knowledge and competency such as research conduction of the officials, setting up the manual for performing the tasks under their responsibility, allocating time for the personnel to take part in the opinion exchange sessions to assure mutual understanding among the personnel and promoting the research to survey the needs the personnel to come up with the guideline for building up morale and motivation for the personnel in performing their tasks.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting the Job Performance Satisfaction of Operational Level Officials Under Faculty of Education, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashพนักงานมหาวิทยาลัย -- ความผูกพันต่อองค์การ-
thailis.controlvocab.thashพนักงานมหาวิทยาลัย -- ความพอใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ -- บุคลากร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชากรสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานสายปฏิบัติการ ที่ปฏิบัติงาน ในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 69 คน ประกอบไปด้วย งานบริหารทั่วไป จำนวน 36 คน งานการเงินการคลังและพัสดุ จำนวน 9 คน งานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ จำนวน 6 คน งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา จำนวน 11 คน และงานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์ตามแนวคิดทฤษฎี 2 ปัจจัย ของ Frederick Herzberg (Herzberg’s Theory) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่ามี 2 ปัจจัย ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยจูงใจ 5 ด้าน และปัจจัย ค้ำจุน/ปัจจัยสนับสนุน 7 ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยจูงใจ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงานด้านการได้รับการยอมรับ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ และ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีสภาพความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.12 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในการทำงานมีค่าเฉลี่ย 3.93 อยู่ในระดับมาก ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติมีค่าเฉลี่ย 3.80 อยู่ในระดับมาก ด้านการได้รับการยอมรับ มีค่าเฉลี่ย 3.46 อยู่ในระดับปานกลาง และพนักงานมีสภาพความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน น้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยค้ำจุน/ปัจจัยสนับสนุน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านรายได้และสวัสดิการ ด้านสถานะของอาชีพ และด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว การทำงาน ด้านรายได้และสวัสดิการ ด้านสถานะของอาชีพ และด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีความคิดเห็นต่อปัจจัยค้ำจุน/ปัจจัยสนับสนุน ด้านสถานะของอาชีพ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านความมั่นคงในการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 3.51 อยู่ในระดับมาก ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ย 3.32 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านรายได้และสวัสดิการ มีค่าเฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว มีค่าเฉลี่ย 3.26 อยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านนโยบายการบริหารงาน น้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.20 อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่า ควรส่ง เสริมให้มีการจัดโครงการพัฒนาองค์ความรู้ ความสามารถ เช่น การทำงานวิจัยสำหรับพนักงาน สายปฏิบัติการ จัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ จัดสรรเวลาสำหรับให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างบุคลากร และส่งเสริมให้มีการทำวิจัยเพื่อสำรวจความต้องการของบุคลากรเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรในการปฏิบัติงานen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
กัญญาณัฐ อาวรณ์.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.