Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร.ชูเกียรติ ชัยบุญศรี-
dc.contributor.advisorอ.ดร.อนุภาค เสาร์เสาวภาคย์-
dc.contributor.authorณิชรัตน์ โรจน์แสงนนท์en_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:50:30Z-
dc.date.available2020-07-31T00:50:30Z-
dc.date.issued2015-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69217-
dc.description.abstractThis independent study has the purpose to investigate the relationship between well-being indicators which were categorized by Robert E. Kuenne. The herein data are the secondary data of Gross Domestic Product (GDP) and the alternatives to GDP that is HDI, Gini Coefficient and suicide rate of Thailand. The data set employed in this model ranges from 1998 to 2013, 16 observations in total. The study uses econometric models such as Estimate Vector Autoregressive, Impulse Response Function and Make Model to build scenarios of Thailand’s well-being and to analyze whether Thailand should give priority to which issues among GDP HDI imcome inequality or gross happiness of the nation. The result of the study reveals that the increase of GDP has 2 positive relationships with income inequality and gross happiness (subjective well-being) but short term negative effects would occur with human development index and gross happiness during the first 2 years. In case that the GDP growth does not follow target in the year after, it is possible that problems in the section of subjective well-being and human development might escalate and become excessive burdens for the government in the future. In case the government is able to bring all the side effects under control, Thailand still has to spend at least 5 years in solving all the problems that generally come along with GDP boost. On the other hand, if the government focused on enhancing national happiness instead of GDP, according to VAR forcast, the GDP will rise within 2-4 years, but the human development might fall after 6 years. Also, there is no significant relationship between national happiness and income distribution, or that the rise of happiness can make any help to income inequality. Besides, if the government gives priority to income distribution, the result reveals that the more equality of income distribution, the happier the citizen, but there will be slight negative relationships towards human development and GDP growth that it might take at least 5 years to see the syncronization of all indicators’ improvement again. Finally, if the government regards human development as its preliminary strategy, VAR forcast together with impulse response function, shows a postitive relationship with the increase of human development index along with all of the rest of the indicators in this study within 2-3 years. All in all, the study would suggest that the government set human development as the primitive policy; enhancing public heath, more education budget, and eradicating poverty in Thailand, as such strategy, will eventually lead to improvements in other well-being indicators including GDP in the most timesaving and comprehensive maner.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดความกินดีอยู่ดีและการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe Analysis of the Relationship Between Thailand’s Well-being Indicators and the Development of Thailanden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีชี้วัดความกินดีอยู่ดีประเภท ต่าง ๆ ที่ถูกจำแนกไว้ตามแนวทางของ Robert E. Kuenne โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกใช้ดัชนีชี้วัดความกินดีอยู่ดีจากกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Product: GDP) ดัชนีการพัฒนาทางมนุษย์ (Human Development Index: HDI) การกระจายรายได้ (Gini Coefficient) และ อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 ถึง ค.ศ.2013 เป็นจำนวน 16 ปี โดยจะทำการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติ Estimate Vector Autogressive (VAR) Impulse Response Function และ Make Model สร้างสถานการณ์เพื่อพยากรณ์ความกินดีอยู่ดีของประชากรไทยว่าจะไปในทิศทางใดหากมุ่งเน้นการพัฒนาในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษและควรจะเลือกพัฒนาในด้านใดก่อน ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของ GDP นั้นมาพร้อมกับความสัมพันธ์ในด้านดีสองประการ คือ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลดลงและประชาชนมีความสุขมากขึ้น แต่อาจส่งผลกระทบด้านลบในระยะสั้นต่อการพัฒนามนุษย์ที่และอัตราการฆ่าตัวตายที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 ปีแรกซึ่งหากการเพิ่มขึ้นของ GDP ไม่เป็นไปตามเป้าในปีใดปีหนึ่ง เป็นไปได้ว่าปัญหาด้านความสุขและการพัฒนาทางมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาจะบานปลายต่อไปทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการแก้ปัญหาด้านดังกล่าวในอนาคต หากมองในแง่ดีว่าปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วจะไม่บานปลาย อย่างไรเสียประเทศไทยจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปีกับการแก้ปัญหาด้านการพัฒนามนุษย์ และความสุขเชิงอัตวิสัยที่มักเกิดขึ้นควบคู่กับการเจริญเติบโตของ GDP เสมอ ในขณะเดียวกัน หากรัฐมุ่นเน้นไปที่การพัฒนาความสุขของประชากรแทนการเติบโตของ GDP จะเห็นว่าเมื่อมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นหรือประชาชนมีความทุกข์มากขึ้น การพัฒนามนุษย์จะตกต่ำลงเป็นระยะเวลาประมาณ 6 ปีแรกแต่หลังจากนั้นมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระยะยาว ซึ่งการที่ดัชนีการพัฒนาทางมนุษย์เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้น GDP เพิ่มขึ้น ประเทศอาจต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 6 ปีในการพัฒนาความกินดีอยู่ดีของประเทศให้เกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ ด้านแต่ก็จะประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้อยู่ดี นอกจากนั้น เมื่อลองสมมติให้รัฐมุ่งพัฒนาไปที่การดูแลปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นอันดับแรก จะเห็นว่า ยิ่งมีความเท่าเทียมกันทางรายได้มากเท่าไหร่ ประชาชนจะยิ่งมีความสุข แต่จะมีความสัมพันธ์ในด้านลบต่อการพัฒนาทางมนุษย์และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่เล็กน้อย และอาจต้องใช้เวลา 5 ปีในการที่ดัชนีทุกตัวจะกลับมาดีขึ้นพร้อม ๆ กัน สุดท้าย หากรัฐเริ่มการพัฒนาโดยมุ่งลงทุนไปที่การพัฒนามนุษย์ก่อน จะมีความสัมพันธ์ในด้านดีต่อด้านอื่น ๆ ทุกด้าน และส่งผลให้เห็นได้ภายในระยะเวลา 2-3 ปี จากการพยากรณ์ด้วย VAR เครื่องมือการทดสอบการตอบสนอง และแบบจำลองสถานการณ์ การวิจัยชิ้นนี้จึงมีความเห็นว่ารัฐจึงควรจะให้ความสำคัญและส่งเสริมการลงทุนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทยในด้านปัจจัยขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สาธารณสุข การศึกษา และการทำให้ประชาชนทุกคนมีรายได้สูงกว่าระดับเส้นความความยากจน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในด้านอื่น ๆ ในระยะเวลาอันสั้นที่สุดและครอบคลุมที่สุดen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.