Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ก้องภู นิมานันท์-
dc.contributor.authorอินธิดา อินทนิเวศน์en_US
dc.date.accessioned2020-07-24T01:20:52Z-
dc.date.available2020-07-24T01:20:52Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69063-
dc.description.abstractThe objective of this independent study aims to explore services marketing mix affecting high school students in Lamphun province towards selecting tutorial schools. The respondents of this study were Lamphun secondary school’s students who had experience with tutorial schools. This study used 300 samples with quota sampling method, 147 samples of Muang district secondary school’s students and 153 samples from out of Muang district secondary school’s students. The data were collected by using a set of questionnaires. The data were processed by descriptive statistics which are consisting of frequency, percentage, and mean while the inferential statistics are consisting of Independent-Sample t-Test which informations are classified by district and One-Way ANOVA which informations are classified by classes program and parents earned monthly income. Based upon the findings, most respondents were female students. They are studying in secondary 4 in science-math program, grade per average (GPA) about 3.01-3.50. Their parents earned monthly income at 10,001-20,000 bath. The tutorial expenditure was 3,001-6,000 bath. The objective of taking tutorial school was for their better school record. The result of services marketing mix affecting high school students in Lamphun province towards selecting tutorial schools, the respondents gave high priority to the factors as followed, people, process, physical evidence, product, promotion, place, price, respectively. The sub-factor that respondents gave highest priority to for each marketing mix factor were as followed, In people factor, instructors provide a friendly atmosphere during the class. In process factor, there is a clear description about the courses that the students are undertaking and clear application process. In physical evidence factor, there is a relax area for students, parents and enough equipment in the facility that can support the learning. In product factor, the lesson in the course meets with that demands by the student such as advance study, emphasis on entrance examination and solving problems. In promotion factor, the tuition fee can be paid by installments. In place factor, the location of the tutorial school should be relatively easy to travel. In price factor, the detail of the payment should be clearly stated. The results of Independent-Sample t-Test and One-Way ANOVA revealed that: The students of different district have a different services marketing mix in term of product, price, people, process, but not of place promotion, and physical evidence. The students of different classes have a different services marketing mix in term of product, but not of price, place, promotion, people, physical evidence, and process. The students of different program have a different services marketing mix in term of place, and physical evidence, but not of product, price, promotion, people, and process. The students of different parents earned monthly income have a different services marketing mix in term of product, price, place, people, and process, but not of promotion, and physical evidence.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูนในการเลือกสถาบันกวดวิชาen_US
dc.title.alternativeServices Marketing Mix Affecting High School Students in Lamphun Province Towards Selecting Tutorial Schoolsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูนในการเลือกสถาบันกวดวิชา การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูนที่เคยเรียนหรือกำลังเรียนในสถาบันกวดวิชา จำนวน 300 ราย ใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบโควตา โดยแบ่งสัดส่วนการเก็บตัวอย่างตามจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่อยู่ในอำเภอเมือง 147 ราย และนอกอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน 153 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม จำแนกตามอำเภอของโรงเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว จำแนกตามระดับชั้น แผนก รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนกที่ศึกษาคือ วิทย์-คณิต มีเกรดเฉลี่ยสะสมระหว่าง 3.01-3.50 รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครองอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท เลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เลือกเรียนในวันจันทร์-ศุกร์ เลือกช่วงเวลาที่เรียนกวดวิชา 10.00 น.-11.59 น. ค่าเรียนกวดวิชาต่อเทอมอยู่ระหว่าง 3,001-6,000 บาท มีวัตถุประสงค์ในการเรียนกวดวิชา คือ เพื่อทำเกรดในโรงเรียน มากที่สุด ผลการศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน จังหวัดลำพูนในการเลือกสถาบันกวดวิชาทุกปัจจัยในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ตามลำดับ โดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดแต่ละด้านมีดังต่อไปนี้ ด้านบุคคล คือ อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเองกับนักเรียน ด้านกระบวนการ คือ ขั้นตอนการแนะนำหลักสูตรชัดเจน และขั้นตอนการสมัครเรียนชัดเจน ด้านลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏ คือ มีสถานที่นั่งพัก และรอรับนักเรียนของผู้ปกครองอย่างสะดวกเพียงพอ และมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเพียงพอ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ รูปแบบหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการ เช่น เรียนเนื้อหาล่วงหน้าอย่างละเอียด เน้นแนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพิ่มประสบการณ์ในการทำโจทย์ ด้านการส่งเสริมการตลาด คือ การชำระค่าเรียนสามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆได้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ทำเลที่ตั้งสะดวกต่อการเดินทาง และด้านราคา คือ มีการแจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเรียนอย่างชัดเจน ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดบริการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูนพบว่า นักเรียนที่เรียนอยู่เขตอำเภอที่แตกต่างกันมีระดับความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบุคคล และด้านกระบวนการ แตกต่างกัน แต่ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับชั้นที่แตกต่างกัน มีระดับความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ แตกต่างกัน แต่ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏ และด้านกระบวนการไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่เรียนอยู่ในแผนกที่แตกต่างกัน มีระดับความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกัน แต่ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล และด้านกระบวนการ ไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่มีรายได้ของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน มีระดับความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคคล และด้านกระบวนการ แตกต่างกัน แต่ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏ ไม่แตกต่างกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.