Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69039
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์-
dc.contributor.authorชัชฎา เอื้ออารีราษฎร์en_US
dc.date.accessioned2020-07-23T06:08:33Z-
dc.date.available2020-07-23T06:08:33Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69039-
dc.description.abstractWork safety management is an effective process in reducing severity of workplace injuries and illness. The objective of the study was to study the situation of work safety management in the operating room at Pua Crown Prince Hospital, Nan province. The research population included documents related to work safety management; 3 nursing managers and 3 committees working on work safety management in the hospital; and 10 professional nurses with at least 2 years work experience in the operation room. The instruments consisted of individual interview guidelines and focus group discussion questions, which were developed by the researcher based on the work safety management model suggested by Fernandez-Muniz et al. (2007). Data were analyzed using content analysis. Study results revealed the following: 1. Work safety policy in the operating room: The operating room used the Pua Crown Prince Hospital’s work safety policy as the framework for workplace safety actions and to develop safety practice guidelines and initiatives for reducing workplace injuries. However, the work safety management policy in the operating room did not fully cover all workplace hazards that occured in the operating room. Nursing personnel did not comply with safety practice guidelines and initiatives. 2. Encouragement for participation: Nurse managers encouraged nursing and hospital personnel to take part in discovering solutions for unsafe working conditions in the operating room. Workplace injuries were under reported. Audits by a joint committee comprising nursing personnel and hospital personnel were not carried out regularly. 3. Training: Nurse managers had an operating room work safety training plan and risk personnel within the unit were trained. However, there were few training and knowledge sharing activities, and they occurred irregularly. 4. Communication and transfer of information: Information about work safety in the operation room was shared during division meetings, posted on a communication board, mailed via a circular notice, and delivering upon nursing shift handovers. However, information about unsafe work did not reach every nursing personnel. Furthermore, informal communication rather than a formal method was often found. 5. Planning: Nurse managers set regular and emergency work safety plans. However, those plans, including the work safety management guidelines, were not followed. Annual drills to practice the plans and guidelines was not done. 6. Control and review of activities: The operating room audit and inspected practices complied with work safety practice guidelines. The unit also used root causes analysis when handing problems and developed solutions for them. However, the audit or was not informed of the results of audit and inspection. Additionally, there were no root causes analysis on work related illness. The results of this study may be beneficial to nurse managers in improving work safety management in the operating room.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการความปลอดภัยในการทำงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeSituational Analysis of Work Safety Management in an Operating Room, Pua Crown Prince Hospital, Nan Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดการความปลอดภัยในการทำงานเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการลดอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยจากการทำงาน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการ ความปลอดภัยในการทำงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ผู้บริหารทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 3 คน คณะกรรมการการจัดการความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล จำนวน 3 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดที่มีประสบการณ์ในการทำงานในห้องผ่าตัดไม่น้อยกว่า 2 ปีจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์รายบุคคลและแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นตามแนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของ ฟีน้านเดส-มูเนซ์ และคณะ (Fernandez-Muniz et al., 2007) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบสถานการณ์การจัดการความปลอดภัยในการทำงานในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่านมีดังนี้ 1. นโยบายความปลอดภัยในห้องผ่าตัด ห้องผ่าตัดมีการใช้นโยบายความปลอดภัยของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว เป็นกรอบในการวางแผนดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรและกำหนดแนวปฏิบัติและมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน แต่พบปัญหาที่ว่านโยบายการจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัดไม่ครอบคลุม ประเด็นอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นในห้องผ่าตัด บุคลากรทางการพยาบาลไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงาน 2. การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วม ผู้บริหารทางการพยาบาลมีการส่งเสริมให้บุคลากรในห้องผ่าตัดและบุคลากรโรงพยาบาลจากหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแนวทางเพื่อแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงานในห้องผ่าตัด แต่พบปัญหาที่ว่ามีการรายงานอุบัติการณ์อันตรายในการทำงานต่ำกว่าความเป็นจริงและการตรวจเยี่ยมร่วมกับบุคลากรโรงพยาบาลไม่มีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ 3. การฝึกอบรม ผู้บริหารทางการพยาบาลมีแผนการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในห้องผ่าตัด มีการจัดอบรมเฉพาะกลุ่มเสี่ยง แต่พบปัญหาที่ว่ามีการอบรมบุคลากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการจัดการความปลอดภัยน้อยและไม่สม่ำเสมอ 4. การสื่อสารและการส่งข้อมูล ห้องผ่าตัดมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงานด้วยการแจ้งในการประชุม การติดป้ายประกาศที่บอร์ด การส่งหนังสือเวียนให้บุคลากรรับทราบและการส่งเวร แต่พบปัญหาที่ว่าการสื่อข่าวสารหรือแจ้งเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในการทำงานให้กับบุคลากรทราบไม่ทั่วถึง และมีการใช้การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมากกว่าแบบเป็นทางการ 5. การวางแผน ผู้บริหารทางการพยาบาลมีการวางแผนป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน แต่พบปัญหาที่ว่าบุคลากรในหน่วยงานไม่มีการปฏิบัติตามแผนงานและแนวทางในการจัดการความปลอดภัย และไม่มีการซ้อมแผนในหน่วยงานห้องผ่าตัดเป็นประจำทุกปี 6. การควบคุมและการทบทวนกิจกรรม ห้องผ่าตัดมีการตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน มีการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาและวางแนวทางในการแก้ไข แต่พบปัญหาที่ว่าผู้ตรวจเยี่ยมไม่มีการแจ้งผลให้ผู้ปฏิบัติทราบและไม่ได้มีการนำปัญหาการเจ็บป่วยของบุคลากรพยาบาลที่เกิดจากการทำงานมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทางการพยาบาลในการปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.