Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์-
dc.contributor.advisorผศ.ดร.วรลักษณ์ หิมะกลัส-
dc.contributor.authorอรวรรณ นันทะชัยen_US
dc.date.accessioned2019-09-23T04:30:41Z-
dc.date.available2019-09-23T04:30:41Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66865-
dc.description.abstractThe main objective of this study is to get an understanding about the financial status, causes of debts, and the nature of debt commitment in both formal and informal credit systems of local government workers in Hot District, Chiang Mai Province. The needed information was collected from totally 410 pertinent local government workers which can be distinguished into three categories of government service workers namely elected local politician comprising 127 individuals, civil servant/permanent hire comprising 114 individuals, and temporary hire including 169 persons. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics including percentage and arithmetic mean and Likert scale. The study found that the majority of debtors in local politician category were typically male, married, 47 years old on the average, with high school education, having averagely 301,134 baht total household income per year, and spending averagely 214,727 baht household expenditure per year. Their most accurate understanding was on how the interest on loan was calculated while their least understanding was the matter regarding loans for small-scale business operators. The most common cause of debt burden was the large proportion of the unemployed person(s) in total household members, followed by the high burden to repay loan compared to total household income. All local politicians under study had borrowing from formal lending sources on the average 650,000 baht per person which had to be repaid averagely 8,200 baht per month per person. Their most common formal lending source was the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC). Some local politicians obtained loans from informal lenders primarily their relatives/colleagues for about 52,000 baht per person which had to be repaid averagely 2,500 baht per month per person. Most debtors in the category of civil servant/permanent hire were characterized as female, married, 41 years old on the average, with Bachelor’s degree education, having 397,283 baht average total household income per year and 396,000 baht average total household expenditure per year. Their most accurate understanding involved the penalty fine for failing to repay loan by the due date and their least knowledge was on the policy and money deposit protection measures that the formal financial institutes must observe. Their most common cause of debt burden was the high burden to repay loan compared to total household income followed by the high proportion of the unemployed person(s) in total household members. All of them obtained loans from formal lending sources on the average 1,550,000 baht per person which had to be repaid averagely 14,900 baht per month per person. Their most common source of formal credit was the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. Some of them also incurred debts with informal lenders primarily relatives/colleagues on the average 87,000 baht per person which was to be repaid averagely 4,200 baht per month per person. Those debtors in the temporary hire category were typically female, single in marital status, 34 years old on the average, with bachelor’s degree education, having total household income averagely 261,572 baht per year and total household expenditure averagely 194,626 baht per year. Their most correct understanding was about the penalty fine for loan repayment default and their least knowledge was on the policy and deposit protection measures that formal financial institutes must observe. Their primary cause of debt burden was found to be the low level of total yearly household income, followed by the high daily household expenditure compared to total household income. All of them borrowed about 350,000 baht per person from formal credit sources primarily the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, and they had to repay the loans averagely 6,500 baht per month per person. Some of them, 52 persons to be exact, also borrowed from informal money lenders generally relatives/colleagues at the average amount of 57,000 baht which had to be repaid 2,000 baht per month per person on the average.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหนี้สินen_US
dc.subjectพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.titleภาระหนี้สินของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDebt Burden of Local Government Staffs in Hot District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc332.02402-
thailis.controlvocab.thashหนี้ -- ฮอด (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashพนักงาน -- ฮอด (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 332.02402 อ177ภ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้สิน และภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ทำการสอบถามจากพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดจำนวน 410 คน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือนักการเมืองท้องถิ่นจำนวน 127 คน ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ จำนวน 114 คน และพนักงานจ้างจำนวน 169 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและมาตรวัดแบบลิเคิทสเกล ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพสมรส อายุเฉลี่ย 47 ปี การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา รายได้รวมของครัวเรือน เฉลี่ย 301,134 บาทต่อปี รายจ่ายรวมของครัวเรือน เฉลี่ย 214,727 บาทต่อปี นักการเมืองท้องถิ่นเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้มากที่สุด และน้อยที่สุดคือความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้สิน อันดับที่ 1 คือ การมีสมาชิกที่ไม่มีงานทำต่อสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือนสูง อันดับ 2 คือ การมีรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้รวมของครัวเรือนสูง นักการเมืองท้องถิ่นทุกคนมีหนี้สินในระบบเฉลี่ย 650,000 บาทต่อคน เงินผ่อนต่อเดือนเฉลี่ย 8,200 บาทต่อคน แหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) นักการเมืองท้องถิ่นบางคนมีหนี้สินนอกระบบเฉลี่ย 52,000 บาทต่อคน เงินผ่อนต่อเดือนเฉลี่ย 2,500 บาทต่อคน แหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้จากญาติพี่น้อง/เพื่อนร่วมงาน ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส อายุเฉลี่ย 41 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รายได้รวมของครัวเรือน เฉลี่ย 397,283 บาทต่อปี รายจ่ายรวมของครัวเรือน เฉลี่ย 396,000 บาทต่อปี ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ เข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเบี้ยปรับเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้มากที่สุด และน้อยที่สุดคือนโยบายและวิธีการคุ้มครองเงินฝากของสถาบันการเงิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้สิน อันดับที่ 1 คือ การมีรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนสูง อันดับ 2 คือ การมีสมาชิกที่ไม่มีงานทำต่อสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือนสูง ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำทั้งหมดมีหนี้สินในระบบเฉลี่ย 1,550,000 บาทต่อคน เงินผ่อนต่อเดือนเฉลี่ย 14,900 บาทต่อคน แหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ บางคนมีหนี้สินนอกระบบ เฉลี่ย 87,000 บาทต่อคน เงินผ่อนต่อเดือนเฉลี่ย 4,200 บาทต่อคน ซึ่งแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้จากญาติพี่น้อง/เพื่อนร่วมงาน พนักงานจ้างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด อายุเฉลี่ย 34 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รายได้รวมของครัวเรือน เฉลี่ย 261,572 บาทต่อปี รายจ่ายรวมของครัวเรือน เฉลี่ย 194,626 บาทต่อ พนักงานจ้างเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเบี้ยปรับเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้มากที่สุด และน้อยที่สุดคือนโยบายและวิธีการคุ้มครองเงินฝากของสถาบันการเงิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้สิน อับดับที่ 1 คือ รายได้รวมของครัวเรือนต่อปีต่ำ อันดับ 2 คือ การมีรายจ่ายในชีวิตประจำวันต่อรายได้รวมของครัวเรือนสูง พนักงานจ้างทั้งหมดมีหนี้สินในระบบเฉลี่ย 350,000 บาทต่อคน เงินผ่อนต่อเดือนเฉลี่ย 6,500 บาทต่อคน แหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) พนักงานจ้างบางคนมีหนี้สินนอกระบบ จำนวน 52 คนที่มีหนี้สินนอกระบบ โดยมีวงเงินกู้เฉลี่ย 57,000 บาทต่อคน เงินผ่อนต่อเดือนเฉลี่ย 2,000 บาทต่อคน ซึ่งแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้จากญาติพี่น้อง/เพื่อนร่วมงานen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.