Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46068
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิสิต พันธมิตร-
dc.contributor.advisorไพรัช กาญจนการุณ-
dc.contributor.authorวรางคณา บัวล้อมen_US
dc.date.accessioned2018-04-10T03:54:17Z-
dc.date.available2018-04-10T03:54:17Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46068-
dc.description.abstractThis study aimed at studying the Behaviors Influencing Debt Creation by Employees of a Commercial Bank in Chiang Mai Province, consisting of the study into the behavior that affects the debt incurrence of employees of a commercial bank in Chiang Mai. The study was divided into 4 parts: Part 1 was the study into the behavior that affects the debt incurrence to respond to one’s basic needs; Part 2 was the behavior that affects the debt incurrence to respond to other needs and relationship of behaviors in the different debt level; Part 3 was the study into the way of debt incurrence; Part 4 was the study into the problem of being in debt. It was a quantitative research. Population used in this research included 421 employees of a commercial bank in Chiang Mai for 36 branches, consisting of 122 samples. Questionnaires were used as a tool in collecting data, and the data analysis was done by using frequency, percentage, means, and chi-square. It was found from the study samples of employees of a commercial bank in Chiang Mai who responded to questions were mostly female, graduated with a bachelor’s degree, were single, aged lower than 31 years old, had an income of 15,000 – 30,000 baht per month, and held the position of operation staff. The behavior that affects the debt incurrence in terms of basic needs was found that mostly, it was to spend money for consuming, choosing to buy dresses, and for houses at medium level; behavior in spending for health was at a small level. The behavior that affects the debt incurrence on other factors was found that, spending money in traveling, buying accessories/ luxurious goods/ facilities, spending money for relaxation was at a medium level; and the behavior to spend money for sports/ recreation/ hobbies, behavior for education of one’s own and of children, behavior in investment/ buying fund/ buying insurance/ supplementary business, and behavior in spending money for other people under patronage was at a small level; on the relationship, the behavior to spend for consuming, the behavior in spending for houses, buying accessories/ luxurious goods/ facilities, behavior in investment/ buying fund/ buying insurance/ supplementary business all had a relationship with the amount of debt amount. The characteristics or the way of debt incurrence of the population of bank employees had similar amount—the debt was around 200,001 – 500,000 baht, more than half of the credit source was from the loan from fund/ welfare of their own enterprise, with the burden to return the debt for 5,0001 – 10,000 baht per month, The length of time of returning period by installment was within 6 – 10 years, the type of credit was mostly credit card/ cash card. It is of opinion that at present there are sufficient loan sources for the demand. The objective of debt incurrence was for daily life expenses. The population of bank employees did not have a problem in paying debt since the burden of installment is low. However, they had an opinion in that the current interest rate was not appropriate; there was no problem about requesting for loan approval. Other problems were found from the data collection as well including feeling down due to the imbalance debt, and being in debt that was more than it should be thus less income that was not enough to respond to needs.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหนี้en_US
dc.subjectพนักงานธนาคารen_US
dc.titleพฤติกรรมที่มีผลต่อการก่อหนี้ของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeBehaviors Influencing Debt Creation by Employees of a Commercial Bank in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc332.02402-
thailis.controlvocab.thashหนี้ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashพนักงานธนาคาร -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 332.02402 ว172พ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีผลต่อการก่อหนี้ของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย การศึกษาถึงพฤติกรรมที่มีผลต่อการก่อหนี้ของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการก่อหนี้เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาพฤติกรรมการก่อหนี้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่น และ ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมในระดับหนี้ที่แตกต่างกัน ส่วนที่ 3 เป็นการศึกษาถึงลักษณะของการก่อหนี้ ส่วนที่ 4 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของการเป็นหนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประชากรในการศึกษาคือ พนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 36 สาขา มีพนักงานจำนวนทั้งสิ้น 421 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไควสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด และมีอายุอยู่ในช่วงต่ำว่า 31 ปี มักมีรายได้อยู่ในช่วง 15,000 – 30,000 บาทต่อเดือน และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน พฤติกรรมที่มีผลต่อการก่อหนี้ในด้านปัจจัยพื้นฐาน พบว่า โดยมากมีพฤติกรรมการใช้จ่ายสำหรับการอุปโภค/บริโภค พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องแต่งกาย พฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับน้อย พฤติกรรมที่มีผลต่อการก่อหนี้ในด้านปัจจัยอื่นๆ พบว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางการ พฤติกรรมเลือกซื้อเครื่องประดับ/สินค้าฟุ่มเฟือย/เครื่องอำนวยความสะดวก พฤติกรรมใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว/การพักผ่อนหย่อนใจ มีการใช้จ่ายสำหรับพฤติกรรมดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมใช้จ่ายเพื่อการกีฬา/นันทนาการ/งานอดิเรกพฤติกรรมเพื่อการศึกษาของตนเองหรือบุตรหลาน พฤติกรรมการลงทุน/การซื้อกองทุน/การซื้อประกัน/ธุรกิจเสริมและพฤติกรรมการใช้จ่ายสำหรับบุคคลในอุปการะ มีการใช้จ่ายสำหรับพฤติกรรมดังกล่าวอยู่ในระดับน้อย ในด้านความสัมพันธ์มีพฤติกรรมการใช้จ่ายสำหรับการอุปโภค/บริโภค พฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย พฤติกรรมเลือกซื้อเครื่องประดับ/สินค้าฟุ่มเฟือย/เครื่องอำนวยความสะดวกและพฤติกรรมการลงทุน/การซื้อกองทุน/การซื้อประกัน/ธุรกิจเสริมที่มีความสัมพันธ์กับระดับปริมาณการเป็นหนี้ ลักษณะการก่อหนี้ของกลุ่มประชากรพนักงานธนาคารมีปริมาณหนี้สัดส่วนที่ใกล้เคียงกันซึ่งมักมีระดับปริมาณหนี้อยู่ในช่วง 200,001- 500,000 บาท ประเภทของแหล่งเงินทุน เกินครึ่งหนึ่งกลุ่มตัวอย่างมักกู้เงินจากกองทุน/สวัสดิการเงินกู้จากหน่วยงานของตนเอง มีระดับภาระผ่อนชำระคืนต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001 – 10,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาของภาระหนี้อยู่ในช่วงผ่อนชำระคืนภายใน 6 -10 ปี ประเภทสินเชื่อที่เลือกใช้โดยมากมักเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต/บัตรเงินสด และมีความเห็นว่าปัจจุบันได้มีปริมาณแหล่งเงินกู้ที่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้คือเพื่อบริโภคใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กลุ่มประชากรพนักงานธนาคารไม่มีปัญหาในการผ่อนชำระหนี้สินเนื่องจากมีภาระในการผ่อนชำระอยู่ในระดับต่ำ แต่มีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันอยู่ในระดับอัตราที่ไม่เหมาะสม ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความยากในการขออนุมัติเงินกู้และจากการเก็บข้อมูลทำให้ทราบถึงปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ก่อให้เกิดสภาพทางด้านจิตใจย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้สินที่ไม่เหมาะสม การมีหนี้สินอยู่ในระดับที่มากเกินตัวเป็นผลให้มีรายได้ที่น้อยลง และไม่เพียงพอต่อความต้องการen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)198 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 248.99 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.