Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.advisorนิตยา ภิญโญคำ-
dc.contributor.authorพรสรวง วงศ์สวัสดิ์en_US
dc.date.accessioned2018-04-09T02:49:57Z-
dc.date.available2018-04-09T02:49:57Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46028-
dc.description.abstractPersons with chronic obstructive pulmonary disease should adhere to a therapeutic regimen for effective control of exacerbations. This experimental research aimed to examine the effects of therapeutic regimen adherence enhancing strategies on exacerbations among persons with chronic obstructive pulmonary disease. The study subjects were persons with chronic obstructive pulmonary disease attending the chronic obstructive pulmonary disease department and the outpatient patient department, Thasala Hospital, Nakhonsrithamaraj Province from March to June, 2014. Sixty-four subjects were purposively selected by pair matching technique and divided into a control and an experimental group, with 32 in each group. Research instruments consisted of, 1) the demographic data record form, 2) the therapeutic regimen adherence interview questions form for persons with chronic obstructive pulmonary disease, 3) therapeutic regimen adherence enhancing strategies plan for persons with chronic obstructive pulmonary disease, 4) the educational hand book for persons with chronic obstructive pulmonary disease, 5) the adherence monitoring recording form for researcher and 6) the adherence self-recording form for persons with chronic obstructive pulmonary disease. Data were analyzed by using descriptive statistics, and the Mann-Whitney U-test Research results revealed that: The mean number of exacerbations among persons with chronic obstructive pulmonary disease who received therapeutic regimen adherence enhancing strategies were statistical significantly lower than those who did not (p < .05). Results of this study demonstrated that therapeutic regimen adherence enhancing strategies can decrease the frequency of exacerbations among persons with chronic obstructive pulmonary disease. These strategies can be used to improve the quality of nursing care for this population.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกลยุทธ์en_US
dc.subjectความร่วมมือen_US
dc.subjectโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.titleผลของกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาต่อการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeEffects of Therapeutic Regimen Adherence Enhancing Strategies on Exacerbations Among Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshStrategic planning-
thailis.controlvocab.meshChronic obstructive pulmonary disease-
thailis.manuscript.callnumberW 4 พ17ผ 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำเป็นต้องให้ความร่วมมือในการรักษาของแพทย์ เพื่อสามารถควบคุมและลดการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาต่อการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 64 ราย ตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยวิธีการจับคู่ แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) แบบสัมภาษณ์ความร่วมมือในการรักษาในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 3) แผนกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 4) คู่มือความรู้ 5) สมุดบันทึกการติดตามการให้ความร่วมมือในการรักษาของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (บันทึกโดยผู้วิจัย) และ 6) สมุดบันทึกการให้ความร่วมมือในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (บันทึกโดยผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ (Mann-Whitney U-test)   ผลการวิจัยพบว่า จำนวนครั้งเฉลี่ยของการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับกลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้กลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา ช่วยลดความถี่ของการกำเริบของโรคในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในผู้ที่เป็นโรคนี้ต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT241.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX689.07 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1212.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2414.69 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3279.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4296.37 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5168.56 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT145.3 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER603.06 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE441.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.