Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา โชคถาวร-
dc.contributor.advisorเศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ-
dc.contributor.authorธัญรัศม์ สิทธิสวนen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T04:14:47Z-
dc.date.available2018-03-26T04:14:47Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45909-
dc.description.abstractThis study on “Bottled Drinking Water Consumption Among Households in Fang District, Chiang Mai Province” had the objectives of 1) investigating the bottled drinking water consumption among the households in Fang District and 2) examining the factors influencing the bottled drinking water consumption among the households in the district. Data was collected using 400 questionnaires of which 100% were filled out and returned. The Statistical Package for Social Science program was used for data analysis along with the statistical methods of frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test as well as F-test together with Pearson’s Produce Moment Correlative Coefficient. The results could be summed up as follows: 1. As for personal data, most of the respondents were male, 350 in number or 47.5%. Most of them conducted a private business, 174 cases or 43.5% and 179 had a secondary education (44.70%). The household income per month was around 5,001-10,000 Baht, 171 respondents or 42.70% with 4-6 members per household (55.70%). 2. Regarding their consumption of bottled water, most of them used the home delivery service of the producers as it was convenient and the period of consumption was over two years. The reasons for drinking the bottled water were mostly due to confidence in its being clean, quality and safety. The majority of the clients were familiar with the brands from their previous purchase and drinking. Others were directly introduced by the producer or company coming to their houses or a producer was one of their acquaintances and some were recommended by their neighbors. The amount they spent on bottled drinking water was 50-100 Baht monthly. Most of the respondents felt that the price was reasonable and they never had problems with consumption. 3. The market mix factors for consuming bottled drinking water was at an overall moderate level. The aspect of the production factors of bottled drinking water was a concern at a high level, the factors about cost at a moderate level, its distribution at a high level and its market promotion was at a moderate level. 4. Results of testing the hypothesis revealed that for the first hypothesis on the basic factors of the household members: sex, age, profession, education, income and the number of family members, these did not affect their consumption of bottled drinking water. So, the first hypothesis was dropped. The test of the second hypothesis: the overall market mix factors showed a very high level of relationship to the consumption at r=.841 with a statistical significance of 0.01, so the second hypothesis was accepted.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบริโภคน้ำดื่มen_US
dc.subjectน้ำดื่มบรรจุขวดen_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.titleพฤติกรรมในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของครัวเรือน ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeBottled Drinking Water Consumption Among Household in Fang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.classification.ddc658.8342-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- (ฝาง) เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashน้ำดื่มบรรจุขวด -- การจัดซื้อ-
thailis.controlvocab.thashผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 658.8342 ธ113พ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของครัวเรือนในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของครัวเรือน ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภค น้ำดื่มบรรจุขวดของครัวเรือน ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการส่งแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 400 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Sciences) วิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบนัยสำคัญด้วยค่าสถิติ t-test, F-test และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังต่อไปนี้ 1. ด้านข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเป็นเพศชายมีจำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 43.50 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 44.70 มีรายได้ของสมาชิกทั้งครอบครัวต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 42.70 และจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน คิดเป็นร้อยละ 55.70 2. ด้านพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด พบว่า ส่วนใหญ่มีแหล่งน้ำดื่มบรรจุขวดที่บริโภค ในปัจจุบันมาจาก บริษัทที่ผลิตบริการส่งถึงบ้าน เลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุชวดจากแหล่งดังกล่าวเนื่องจาก ได้รับความสะดวกในด้านบริการส่งถึงที่ มีระยะเวลาในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดในปัจจุบันมากกว่า 2 ปี ส่วนใหญ่เลือกบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด มีสาเหตุจาก น้ำดื่มมีความสะอาด มั่นใจในคุณภาพ ความปลอดภัยของน้ำมากที่สุด ส่วนใหญ่รู้จักน้ำดื่มบรรจุขวดที่ซื้อจากอื่นๆ ได้แก่ บริษัทมาแนะนำให้บริการที่บ้าน เป็นน้ำดื่มของคนรู้จัก และเพื่อนบ้านแนะนำ มีค่า น้ำดื่มบรรจุขวดที่ต้องจ่าย 50 – 100 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาน้ำดื่มบรรจุขวดในปัจจุบันว่ามีราคาเหมาะสม และไม่ประสบปัญหาในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด 3. ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของน้ำดื่มบรรจุขวด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายด้านพบว่าระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านนี้อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านราคาของน้ำดื่มบรรจุขวด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านนี้อยู่ในระดับปานกลางระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายของน้ำดื่มบรรจุขวด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านนี้อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นที่มีต่อระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดของน้ำดื่มบรรจุขวด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านนี้อยู่ในระดับ ปานกลาง 4. ผลการทดสอบสมมุติฐานการศึกษา พบว่า ผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานของสมาชิกครัวเรือน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดแตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับ สมมุติฐานที่ 1 และผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 2 ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดภาพรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดในระดับสูงมาก ที่ r = .841 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับ สมมุติฐานที่ 2en_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT173.68 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX510.45 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1253.62 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2434.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3273.73 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4504.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5308.64 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT241.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER721.57 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE310.88 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.