Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45891
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์-
dc.contributor.authorพงษ์นรินทร์ จินดาen_US
dc.date.accessioned2018-03-21T09:15:19Z-
dc.date.available2018-03-21T09:15:19Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45891-
dc.description.abstractExplanatory model can be used to explain the disease and illness which related to health belief, and experience, which related to social and culture. The aims of this study were 1) To study the medication adherence in asthmatic patients 2) To determine the explanatory model on medication adherence in asthmatic patients 3) To compare explanatory model on medication adherence between controlled asthmatic group and uncontrolled asthmatic group. Data were collected from 16 asthmatic patients at Lamphun Municipal Public Health Center by in-depth interview and non-participatory observation during November2013 to January 2014. The results demonstrated that most asthmatic patients were good adherence of oral form and inhaled form of bronchodilator. In contrast, the adherence of inhaled corticosteroid, the most effective medication for long-term management of asthma, was poor. Moreover, we also found that patients who had good medication adherence were controlled asthmatic group while patients with poor medication adherence were uncontrolled asthmatic group. According to 5 dimensions explanatory model consist of etiology, timing and symptom of disease, pathophysiology of disease, severity and complication of disease and treatment, patients’ perspective of disease etiology, timing and symptom of disease, and pathophysiology of the disease were not different between groups, which adherence and controlled asthmatic patients group and non-adherence and uncontrolled asthmatic patient group. Patients in both groups realized that the etiology of asthma caused by inhalation of pollution and allergen from their work environment and daily life. They also know that the symptoms of asthma occur during patient receiving triggered substances, and pathophysiology of disease was upper respiratory tract related to abnormal symptoms when asthma exacerbation. They perceived based on experiences of illness and believe. Conversely, patients’ perspective of severity of the disease and treatment were not different between both of asthmatic groups, in which adherence and controlled asthmatic patients considered asthma as a chronic disease which need continuous treatment with inhaled corticosteroid to control the disease. Whereas, non-adherence and uncontrolled asthmatic patients believed that asthma is an acute disease which needs treatment only when the symptoms occur. In conclusion, patients’ perspective of severity of disease and treatment in explanatory model could predict the medication adherence and success treatment in asthmatic patients at Lamphun Municipal Public Health Center.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการอธิบายความเจ็บป่วยen_US
dc.subjectศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูนen_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคหืดen_US
dc.titleแบบจำลองการอธิบายความเจ็บป่วยต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดในศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูนen_US
dc.title.alternativeExplanatory Model on Medication Adherence of Asthmatic Patients at Lamphun Municipal Public Health Centeren_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc616.238-
thailis.controlvocab.thashศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน-
thailis.controlvocab.thashหืด -- โรค-
thailis.controlvocab.thashหืด -- ผู้ป่วย-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 616.238 พ128บ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractแบบจำลองการอธิบายความเจ็บป่วยเป็นการให้ความหมายต่อการเจ็บป่วย ตามความเชื่อและประสบการณ์ความเจ็บป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด 2) เพื่อศึกษาแบบจำลองการอธิบายความเจ็บป่วยต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด 3) เพื่อเปรียบเทียบแบบจำลองการอธิบายความเจ็บป่วยต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยที่ควบคุมอาการโรคหืดได้และควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมของผู้ป่วยโรคหืดจำนวน 16 คน ในศูนย์บริการเทศบาลเมืองลำพูน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง เดือนมกราคม 2557 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการใช้ยารับประทานและยาพ่นขยายหลอดลม แต่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาหลักที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหืด นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยที่ควบคุมอาการโรคหืดได้เป็นกลุ่มเดียวกับผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา และผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกับผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาจากแบบจำลองการอธิบายความเจ็บป่วย 5 มิติ ได้แก่ สาเหตุของการเกิดโรค ช่วงเวลาและอาการ พยาธิสรีรวิทยาความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน และวิธีการรักษา พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาและควบคุมโรคหืดได้ กับ กลุ่มที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาและควบคุมโรคหืดไม่ได้ มีมุมมองสาเหตุของการเกิดโรค ช่วงเวลาและอาการ และพยาธิสรีรวิทยาของโรคหืดไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม รับรู้ว่าโรคหืดเกิดจากสาเหตุที่มีความหลากหลาย เช่น การสูดดมมลพิษ สารก่อภูมิแพ้ จากการดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำงาน เป็นต้น ช่วงเวลาและอาการแสดงของโรคหืด เกิดขึ้นเมื่อได้รับปัจจัยกระตุ้น และพยาธิสรีรวิทยาเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งเป็นอวัยวะที่ผิดปกติขณะเกิดอาการจับหืดตามความเชื่อและประสบการณ์ความเจ็บป่วยแต่ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีมุมมองที่แตกต่างกันในมิติของความรุนแรงของโรคและวิธีการรักษา กล่าวคือ ผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาและควบคุมอาการโรคหืดได้รับรู้ความรุนแรงของโรคหืดเป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้ยาพ่นสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการโรคหืดอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาและควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้รับรู้ความรุนแรงของโรคหืดเป็นโรคเฉียบพลัน ไม่มีอาการแสดงว่าไม่มีโรค จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาในช่วงที่ไม่มีอาการกำเริบโดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะใช้ยาพ่นขยายหลอดลมหรือใช้ยาพ่นขยายหลอดลมร่วมกับยาพ่น สเตียรอยด์ในช่วงเวลาที่มีอาการจับหืดกำเริบเท่านั้น จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามิติการรับรู้ความรุนแรงของโรคและมิติวิธีการรักษาสามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาและผลการรักษาโรคหืดของผู้ป่วยในศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูนได้en_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT177.27 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX395.35 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1217.38 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2336.3 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3202.33 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4608.14 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5261.89 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT181.66 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER623.32 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE221.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.