Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39697
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประทุม สร้อยวงค์-
dc.contributor.advisorจินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.authorเรณู มูลแก้วen_US
dc.date.accessioned2016-12-08T05:59:54Z-
dc.date.available2016-12-08T05:59:54Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39697-
dc.description.abstractDysphagia is a significant complication in stroke patients. It causes stroke patients to be at risk from aspiration pneumonia, which increases length of hospital stay and can be a cause of death. Effectively managing dysphasia is vital. This operation study aimed to investigate the effectiveness of implementing clinical practice guideline (CPG) for dysphagia management among stroke patients, Theppanya Hospital, Chiang Mai province. The guideline implementation was based on the CPGs implementation framework of the Australian National Health and Medical Research Council (NHMRC, 1999). Subjects were stroke patients admitted at Theppanya Hospital, Chiang Mai province. These patients were divided into two groups. Group 1 included twenty six stroke patients admitted to the hospital before the CPG implementation, from June to November 2013. Four of these patients had dysphagia. Group 2 were 38 stroke patients who were admitted to the hospital during CPG implementation, from January to June 2014. Fourteen of these patients had dysphagia. The study instruments consisted of, 1) the CPGs for dysphagia management among stroke patients developed by Seetasan et al. (2010), 2) dysphagia screening instrument and 3) the aspiration pneumonia incidence measurement. The psychometric property of the instruments was evaluated by experts. Data were analyzed using descriptive statistics Results revealed that before CPG implementation, the aspiration pneumonia incidence was 4.01 per 1000 bed days of patients. During CPG implementation, there was no incidence of aspiration pneumonia reported. These findings suggest that the CPG for dysphagia management among stroke patients can decrease the incidence of aspiration pneumonia. To improve stroke patients’ care, prevent incidence of aspiration pneumonia and increase quality of care, this CPG is recommended for implementation by the hospital administration.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ป่วยen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลเทพปัญญา จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of implementing clinical practice guidelines for dysphagia management among stroke patients, Theppanya Hospital, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshStroke-
thailis.controlvocab.meshDeglutition-
thailis.manuscript.callnumberW 4 ร254ป 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่พบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการจัดการอาการกลืนลำบากที่ มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การศึกษาปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลเทพปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการนำแนวปฏิบัติไปใช้ตามกรอบแนวคิดของสภาวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council, 1999) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลเทพปัญญา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 26 รายที่มารับการรักษาก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบาก ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2556 ในจำนวนนี้มี 4 รายที่มีอาการกลืนลำบาก และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 38 รายที่มารับการรักษาขณะที่มาใช้แนวปฏิบัติ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2557 และในจำนวนนี้มี 14 รายที่มีอาการกลืนลำบาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พัฒนาโดยเอื้องขวัญ สีต๊ะสาร และคณะ (2553) และ 2) แบบคัดกรองอาการกลืนลำบาก และ 3) แบบประเมินการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า ก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก 4.01 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนขณะมีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากไม่พบอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการ กลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก ดังนั้นควรมีการนำเสนอผลการศึกษานี้ต่อผู้บริหารโรงพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามแนวปฏิบัติทางคลินิกนี้ อันจะส่งผลในการป้องกันหรือลดภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก และเป็นการเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหน่วยงานต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT197.15 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX657.13 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1215.41 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2380.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3350.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4362.09 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5162.43 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT142.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER599.61 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE323.57 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.