Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.authorวันนภา แสงจันทร์en_US
dc.date.accessioned2016-09-30T09:53:59Z-
dc.date.available2016-09-30T09:53:59Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39608-
dc.description.abstractThe objective of this independent study is to study the problem and the guideline for job performance implementation of child care teachers under the local administrative organization, Saraphi District, Chiang Mai Province by correcting the data from the teachers under the local administrative organization, Saraphi District, Chiang Mai Province who were government officer, local teacher staff and employee of the local administrative organization from 14 child cares of 11 municipalities which was the total population of 48 people. The tools used in this study was questionnaire according to the responsibility standard of implementation of child care under the local administrative organization in the second standard as the framework of this study. The data was analyzed by using frequency, percentage, average and standard deviation presented in the shown table. The result from this study was found that the condition of job performance implementation of child care teachers under the local administrative organization, Saraphi District, Chiang Mai Province was in high level. Most teachers have teaching process and encourage learning process of the student by using child center method. They also encourage the students to have moral, ethic and desirable characteristics, have effective academic performance, and have student caring management. The teachers also provide opportunities to parents, community and party network to be participate in education management and they always develop themselves to have more academic and technology progress. Most problems found was the teachers had too many works beside teaching lesson so the performance in teaching was down. The solution guideline for this problem is the local administrators of Saraphi District, Chiang Mai Province should pay more attention to the child care and provide enough number of teacher to cover teaching period which will solve the problem and will increase the teaching performance as well.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการดำเนินการตามลักษณะงานที่ปฏิบัติของครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for Job Performance Implementation of Child Care Teachers Under the Local Administrative Organization, Saraphi District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และแนวทางการดำเนินการตามลักษณะงานที่ปฏิบัติของครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรคือ ครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานครูส่วนท้องถิ่น และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 14 แห่ง จาก 11 เทศบาล รวมทั้งสิ้น 48 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้บทบาทหน้าที่ในมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรฐานที่ 2 ด้านบุคลากร ของครูผู้ดูแลเด็ก เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ สภาพการดำเนินการตามลักษณะงานที่ปฏิบัติของครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยครูผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่มีการจัดประสบการณ์เรียนรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีการปฏิบัติงานในด้านวิชาการที่มีประสิทธิภาพ มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตลอดจนพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีอยู่เสมอ ปัญหาที่พบสูงสุด พบว่าครูผู้ดูแลเด็กได้รับมอบหมายงานที่นอกเหนือจากงานสอนมากส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการสอนลดลง แนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ควรให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มากขึ้น โดยเพิ่มอัตรากำลังครู และบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาให้เพียงพอ เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กปฏิบัติการสอนอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แนวทางการดำเนินการด้านสภาพการปฏิบัติ คือควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรปฐมวัย รวมถึงจัดอบรมการนำหลักสูตรปฐมวัยไปใช้เพื่อให้ครูเกิดความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและควรแต่งตั้งคณะกรรมการ นิเทศ กำกับ ติดตามตรวจสอบการใช้หลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างเป็นระบบเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีหลักสูตรสถานศึกษาใช้ได้จริง อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)179.84 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract274.52 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS4.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.