Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39504
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.อรอนงค์ วิชัยคำ-
dc.contributor.authorสุรีย์พร คุณสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2016-08-19T08:58:02Z-
dc.date.available2016-08-19T08:58:02Z-
dc.date.issued2015-03-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39504-
dc.description.abstractThe development of a working process is important for administrators and nurses in order to provide quality nursing care and to rapidly respond to customer’s needs. The purpose of this developmental study was to develop an admission process for traumatic brain injured patients in the surgical ward of Pua Crown Prince Hospital, Nan Province, using the Lean Concept by Womack & Jones (2003). The study population consisted of 16 staff working in the surgical ward for more than 2 years. Samples for this study include activities of an admission process for traumatic brain injured patients in a Surgical Ward between August to November 2014. The research instruments included: 1) a table for describing the activities of the admission process for traumatic brain injured patients, 2) a value analysis form, 3) the record form for time spent on activities and 4) guidelines for focus group interviews regarding problems and obstacles of the admission process and recommendations for improving the admission process for traumatic brain injured patients. These research instruments were validated by three experts. The interrater reliability of two observers for which the recorded time was 1.0. The data was analyzed using descriptive statistics The results were as follows: The new admission process for traumatic brain injured patients consisted of 3 major activities and 15 minor activities which was a reduction of 5 minor activities from the previous development process. The new admission process took 53.26 minutes, which was a reduction of 40.94 minutes from the previous development process. Problems and obstacles for the development of an admission process for traumatic brain injured patients could be categorized into 3 dimensions: 1) Personnel: this included varying levels of understanding of the Lean Concept, and failure to follow the new admission process regularly due to the workload of individuals differing at varying times; 2) Implementation: this included the difficulties in coordinating meetings, and the time spent on explaining the instruments and techniques used during the development process which varied for each group; 3) Management: this included to the limitations due to the hospital budget which was insufficient for the engagement of more staff and for the purchase of inventory used to respond to patients’ needs. The recommendations included develop a plan for educating staff regarding Lean Concept, manage staffing to match the workload, and provide an adequate inventory for providing service to patients. The results of this study indicated that the development of an admission process for traumatic brain injured patients using Lean Concept can decrease the activities of the admission process and the time spent on the process. Therefore administrators can utilize the result of this study as a guideline for improving the quality of services in other departments of the organization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองในหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeDevelopment of an Admission Process for Traumatic Brain Injured Patients in a Surgical Ward, Pua Crown Prince Hospital, Nan Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการพัฒนากระบวนการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารและพยาบาล เพื่อให้บริการพยาบาลที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็ว การศึกษาเชิงพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน โดยการใช้แนวคิดลีนของวอแม็กและโจนส์ (Womack & Jones, 2003) ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปจำนวน 16 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ กิจกรรมการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) ตารางอธิบายลักษณะกิจกรรมการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง 2) แบบวิเคราะห์คุณค่าของกิจกรรม 3) แบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในกิจกรรม และ 4) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง โดยเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้ทดสอบความเที่ยงของการสังเกตจากผู้สังเกต 2 คนในการบันทึกเวลาเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองแบบใหม่ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักและ 15 กิจกรรมย่อย ซึ่งลดลงจากกระบวนการก่อนการพัฒนาจำนวน 5 กิจกรรมย่อย เวลามาตรฐานที่ใช้ในกระบวนการรับใหม่หลังการพัฒนา เท่ากับ 53.26 นาที ซึ่งลดลงจากก่อนการพัฒนา เท่ากับ 40.94 นาที ปัญหา อุปสรรคในการพัฒนากระบวนการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคลากร ได้แก่ ระดับความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดลีนที่แตกต่างกัน การที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกระบวนการรับใหม่ที่พัฒนาขึ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอเนื่องจากภาระงานของแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน 2) ด้านการปฏิบัติการ ได้แก่ ความยากลำบากในการนัดประชุม เวลาที่ใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาให้แก่บุคลากรแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน 3) ด้านการจัดการ ได้แก่ ความกำจัดของงบประมาณโรงพยาบาลทำให้ไม่สามารถจ้างบุคลากรหรือจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ส่วนข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการรับใหม่ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาความรู้เกี่ยวกับแนวคิดลีนแก่บุคลากร จัดอัตรากำลังบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงาน และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการให้บริการผู้ป่วยให้เพียงพอและพร้อมใช้ตลอดเวลา ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนากระบวนการรับใหม่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองโดยใช้แนวคิดลีนสามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริการของแผนกอื่นๆ ในองค์การต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)175.89 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract247.74 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.87 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.