Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ชูศรี เที้ยศิริเพชร-
dc.contributor.authorคณิน สินเจิมศิริen_US
dc.date.accessioned2016-07-26T09:46:21Z-
dc.date.available2016-07-26T09:46:21Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39457-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to examine the cost management of software development business in Chiang Mai, Thailand. The data were collected by interviewing 10 management and new business owner under the supervision of SIPA (Chiang Mai) ) to find the form of business then analyze the data to determine the workflow management systems for proposing reasonable cost. From this study, it was found that the most of the operations are in a partnership and revenues in the range of 1,500,000 to 1,800,000 Baht. The production projects are on average 2-3 projects per month and have 2 types of operation; in the form of developing programs to meet the customer’s need (outsource) and in the form of creating their own products distribution (Product). Organization structure had the staff only in the production department and program development but there were no finance and administration staffs, there were no accepted accounting standards. Project costing was calculated by only direct labor hour. Pricing method is used to calculate the costs plus required profit. The procedures were disorganized and there were no documents arise out of the operation. The organization structures were separated to two departments; program development department and support department. Program development department supervise all production and program development. Support department supervise management, accounting, sales and marketing, purchasing and all internal administrative affairs. The accounting practice has been assigned to prepare standard accounts and financial statement by Accounting standards generally accepted and also created a cost storage system to record working hour of each project in order to know how long all of the projects. The materials utilized system was used in projects and the documentation system was used in order to have an operating regulations and easy to retrieve data. The project costing used activity cost to assist the calculation of projects in order to know the cost of activities that actual happened by using time spent documents on projects to storage working hour then distribute the cost of production from ledger account into projects by using Activity Based Costing : ABC. The activities must be set before spreading the cost then set the driven resource and costing resources into activities. After batch costing, the driven activity and costing activity will be determined in order to calculate the cost of each project. The application of project cost in the term of pricing proposed to customer by the form of operations. The program development to meet the needs of customer based on cost base pricing. The estimated costs expected to be incurred in the production plus the cost of error then add required profit. Products and sales methods were priced by economic theory. The relationship between the needs of customer and sell price used the pricing method to determine the marginal price The cost management has the activity cost assessment in order to measure the project efficiency by compared between the costs of actual events of estimated activities. The comparison between the cost of the actual events and the estimated activities were used to find out which activities have incremental cost then cut the excess cost by using cost reduction activities which cost more than planned.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการบริหารต้นทุนสำหรับธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCost Management of Software Development Business in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารต้นทุนสำหรับธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดเชียงใหม่โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์หน้าใหม่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ SIPA(เชียงใหม่) จำนวน 10 ราย เพื่อหาลักษณะการดำเนินธุรกิจแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในการพิจารณาแนวทางการบริหารระบบงานเพื่อสามารถหาแนวทางการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ดำเนินกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วน มีรายได้อยู่ในช่วง 1,500,000 ถึง 1,800,000 บาท รับผลิตโครงการโดยเฉลี่ย 2 ถึง 3 โครงการต่อเดือน มีการดำเนินงาน 2 รูปแบบคือ รูปแบบการพัฒนาโปรแกรมตามความต้องการของลูกค้า และรูปแบบการสร้างผลิตภัณฑ์เองและออกจำหน่าย โครงสร้างองค์กรมีแต่พนักงานในแผนกผลิตและพัฒนาโปรแกรมไม่มีพนักงานที่ดูแลทางด้านบัญชีการเงินและธุรการ ไม่มีการจัดทำบัญชีตามาตรฐานการบัญชีรับรองทั่วไป มีการคำนวณต้นทุนในโครงการโดยคำนวณแต่ค่าแรงทางตรงเพียงอย่างเดียว การกำหนดราคาขายใช้วิธีการนำต้นทุนที่คำนวณมาบวกกำไรที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่เป็นระบบและไม่มีการจัดเก็บเอกสารที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน การจัดโครงสร้างองค์กรได้มีการแบ่งแยกแผนกการทำงานออกเป็น 2 แผนกคือ แผนกพัฒนาโปรแกรม และ แผนกสนับสนุน โดยในแผนกพัฒนาโปรแกรมนั้นจะดูแลในส่วนการผลิตและพัฒนาโปรแกรมทั้งหมด ส่วนแผนกสนับสนุนจะดูแลในส่วนของการบริหารกิจการ การบัญชีการเงิน การขายและการตลาด การจัดซื้อ และธุรการต่างๆภายในกิจการ การปฏิบัติทางด้านบัญชีได้มีการกำหนดให้จัดทำบัญชีและงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการสร้างระบบการเก็บข้อมูลต้นทุนโดยการบันทึกชั่วโมงการทำงานที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการเพื่อให้ทราบถึงระยะเวลาในการจัดทำโครงการที่เกิดขึ้นทั้งหมด และยังได้สร้างระบบทางเดินเอกสารและการจัดเก็บเอกสารภายในกิจการเพื่อให้มีระเบียบในการดำเนินงานและง่ายต่อการเรียกใช้ข้อมูลภายในอนาคต การคำนวณต้นทุนโครงการได้มีการสร้างระบบในการเก็บข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณต้นทุน โดยใช้เอกสารสรุปเวลาในการผลิตโครงการสำหรับเก็บข้อมูลชั่วโมงการทำงานที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาคำนวณหาค่าแรงทางตรง จากนั้นนำค่าใช้จ่ายในการผลิตจากบัญชีแยกประเภทมากระจายเข้าโครงการโดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม โดยก่อนกระจายค่าใช้จ่ายต้องทำการกำหนดกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ จากนั้นทำการกำหนดตัวผลักดันทรัพยากรและคิดต้นทุนทรัพยากรเข้ากิจกรรม เมื่อคิดต้นทุนเข้ากิจกรรมเรียบร้อยจะทำการกำหนดตัวผลักดันกิจกรรมและคำนวณต้นทุนกิจกรรมต่อหน่วยเพื่อนำมาคำนวณต้นทุนกิจกรรมที่เกิดขึ้นของแต่ละโครงการที่ผลิต ในการประยุกต์ใช้ข้อมูลต้นทุนโครงการในการกำหนดราคาขายเพื่อยื่นเสนอต่อลูกค้า โดยวิธีการกำหนดราคาขายแยกตามรูปแบบการดำเนินงานกัน โดยในรูปแบบพัฒนาโปรแกรมตามความต้องการของลูกค้าใช้วิธีการ กำหนดราคาตามวิธีฐานต้นทุนโดยนำประมาณการต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการผลิตโครงการมาบวกต้นทุนความคลาดเคลื่อนและนำมาบวกกำไรตามที่ต้องการ ในรูปแบบสร้างผลิตภัณฑ์เองและออกจำหน่ายใช้วิธี การกำหนดราคาโดยใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์โดยดูความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้บริโภคและความสามารถที่จะจำหน่าย โดยใช้ร่วมกับวิธีการกำหนดราคาตามวิธีฐานการแข่งขันในการกำหนดขอบเขตของราคา แนวทางการบริหารต้นทุนมีการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยต้นทุนกิจกรรม เพื่อวัดประสิทธิภาพในการจัดทำโครงการ โดยเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงกับต้นทุนกิจกรรมที่ได้ประมาณการไว้ เพื่อดูว่ากิจกรรมไหนเกิดต้นทุนส่วนเกินแล้วทำการปรับลดต้นทุนที่เกินโดยการใช้วิธีการลดต้นทุนกิจกรรม เพื่อทำการลดต้นทุนของกิจกรรมที่มีต้นทุนมากเกินกว่าที่กำหนดไว้en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)63.91 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract254.29 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.