Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39369
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.มนทิพย์ ตั้งเอกจิต-
dc.contributor.authorพรวดี ศิริวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2016-07-08T09:14:19Z-
dc.date.available2016-07-08T09:14:19Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39369-
dc.description.abstractThis independent study was conducted to study the factors affecting decision making of accountants in Chiang Mai for the statement of cash flow. Data were collected by using questionnaires with total of 385 accountants of limited companies in Chiang Mai (excluding independent accountants and practitioners for the accounting firms). The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, chi-square, and Cramer’s V. The study results indicated that most accountants were female, aged between 26-35 years, who held a bachelor’s degree and worked in the position of an accountant. Their work experience ranged between 3-5 years. They had been trained on average 3-5 times per years. Most companies for which accountants provided financial statements were manufacturing businesses with the fixed assets (excluding the land) less than or equivalent to 10,000,000 Baht and the employees less than or equivalent to 15 persons. The registered capital of these businesses exceeded 10,000,000 Baht and the source of capital derived from creditors (including loan and corporate bond). Moreover, there were no shareholders regarded as the public company limited in Thailand. The majority of businesses, accounting for 79.74 percent, did not prepare the statement of cash flow because there was no regulation requiring the company to prepare a statement of cash flow. However, more than 80 percent of the companies preparing the statement of cash flow with the indirect method because they were required to submit the report to the partners and joint venture owners. Accountants agreed on the benefits of the statement of cash flow at a high level (mean 4.10). With respect to the first rank, the statement of cash flow was used to detect the relationship among profitability, net cash flow, and impacts of price changes at a high level (mean 4.15). Besides, the study discovered that companies with or without the process of cash flow statement all encountered the problems and obstacles relating to personnel in terms of capacity of persons in charge of processing the statement of cash flow as the top priority. The study on factors influencing decision making of accountants in Chiang Mai for the statement of cash flow found that characteristics of accountant such as age, education level, and work experience were related to the decision for processing the statement of cash flow at a moderate level of statistical significance (sig. ≤ 0.01, in the event that the accounting standards has not been mandatory for the entity to prepare cash flow statements. Additionally, training experience was related to the decision for processing the statement of cash flow at a low level of statistical significance (sig. ≤ 0.01). There was also a relationship between the characteristics of companies such as a category of businesses, a number of fixed assets (excluding the land), registered capital, and source of capital and the decision for processing the statement of cash flow at a moderate level of statistical significance (sig. ≤ 0.01).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ในการจัดทำงบกระแสเงินสดen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Decision of Accountants in Chiang Mai Province Towards Preparation of Cash Flow Statementsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ในการจัดทำงบกระแสเงินสด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักบัญชีของบริษัทจำกัดในจังหวัดเชียงใหม่ (ไม่รวมผู้ทำบัญชีอิสระและผู้ปฏิบัติงานกับสำนักงานให้บริการด้านการทำบัญชี) จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ไคสแควร์ (Chi - Square) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเครเมอร์วี (Cramer’s V) ผลการศึกษาพบว่า นักบัญชีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26 – 35 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานบัญชี มีประสบการณ์ทำงานในสายวิชาชีพบัญชี 3 – 5 ปี ได้รับการฝึกอบรมภายใน 1 ปี เป็นจำนวน 3 – 5 ครั้ง กิจการส่วนใหญ่ที่นักบัญชีจัดทำบัญชีให้คือธุรกิจการผลิต มีสินทรัพย์ถาวรของกิจการ (ไม่รวมที่ดิน) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000,000 บาท จำนวนการจ้างงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 คน จำนวนทุนจดทะเบียนมากกว่า 10,000,000 บาท แหล่งเงินทุนของกิจการมาจากเจ้าหนี้ (รวมถึงเงินกู้และหุ้นกู้) และไม่มีผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทมหาชนในประเทศไทย กิจการส่วนใหญ่ร้อยละ 79.74 ไม่มีการจัดทำงบกระแสเงินสด เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดให้กิจการต้องจัดทำงบกระแสเงินสด ส่วนกิจการที่มีการจัดทำงบกระแสเงินสดอยู่แล้วนั้นส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 จัดทำโดยวิธีทางอ้อมและต้องจัดทำรายงานเสนอกับหุ้นส่วนและผู้ร่วมทุน นักบัญชีเห็นด้วยกับประโยชน์ของงบกระแสเงินสดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.10) โดยเมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยอันดับแรกคือ งบกระแสเงินสดใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไร กระแสเงินสดสุทธิ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระดับราคา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15) นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่ากิจการที่มีการจัดทำและไม่จัดทำงบกระแสเงินสดต่างก็มีปัญหาและอุปสรรคในด้านบุคลากรเกี่ยวกับเรื่องความรู้ความสามารถของผู้มีหน้าที่จัดทำงบกระแสเงินสดเป็นอันดับแรก ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ในการจัดทำงบกระแสเงินสด พบว่าในกรณีที่มาตรฐานการบัญชียังไม่กำหนดให้จัดทำงบกระแสเงินสด ปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักบัญชีได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจจัดทำงบกระแสเงินสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig. ≤ 0.01) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประสบการณ์ฝึกอบรม มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจจัดทำงบกระแสเงินสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig. ≤ 0.01) อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะของกิจการได้แก่ ประเภทกิจการ จำนวนสินทรัพย์ถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ทุนจดทะเบียน และแหล่งเงินทุน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจจัดทำงบกระแสเงินสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig. ≤ 0.01) อยู่ในระดับปานกลางen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)201 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 242.14 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.