Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39316
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ทรียาพรรณ สุภามณี-
dc.contributor.authorวัลลิกา แก้วสุริยาen_US
dc.date.accessioned2016-07-05T02:04:55Z-
dc.date.available2016-07-05T02:04:55Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39316-
dc.description.abstractPrimary nursing is a process for delivering continuously nursing care from admission to discharge. This study aimed to develop a Primary Nursing Model in the Labor Room of Lampang Hospital by using the PDCA Deming Quality improvement process, which consists of 4 steps; 1) plan the improvement; 2) do the improvement; 3) check the results, collect and analyze data; and 4) act to maintain and continue improvement. The population included 16 registered nurses. The research instruments were the interview guidelines and the Primary Nursing Practice Check List. The data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis. The primary nursing model was designed to incorporate the principles of primary nursing. A primary nurse is responsible for assessing, planning and evaluating nursing care for an individual patient day by day, from admission to discharge. Each primary nurse also acts as an associate nurse who carry the responsibility for implementing care as planned by the primary nurse when the primary nurse is not on duty. A manual for the primary nurse model was also developed. It consisted of six parts: 1) nursing practices in the labor room; 2) roles of primary nurses; 3) communication; 4) recording and reporting; 5) the nursing conference; and 6) standards of obstetric nursing care. After the implementation of the model, the researcher audited the nursing documents and monitored the incidence of adverse events. It was found that the quality of nursing documentation improved from 86.2% to 89.7% and that no adverse events occurred during the study. However, some problems with the Primary Nursing Model were noted. These included 1) junior nurses felt no confidence in being primary nurses for obstetric patients with complications, 2) criteria for delegating responsibility to primary nurses was unclear, and 3) there was inadequate nurse staffing. The study demonstrated that implementing this Primary Nursing Model developed yields a good quality of care for obstetric patients and increases the quality of nursing documentation. Therefore, nursing administrators should use the principles of primary nursing to improve the quality of nursing care.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ในห้องคลอด โรงพยาบาลลำปางen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a Primary Nursing Model in a Labor Room, Lampang Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการพยาบาลเจ้าของไข้เป็นกระบวนการให้การพยาบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย การศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ในงานห้องคลอด โรงพยาบาลลำปาง โดยใช้แนวคิดการปรับปรุงคุณภาพพีดีซีเอของเดมมิ่ง ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผนพัฒนา 2) ดำเนินการพัฒนา 3) ตรวจสอบ เก็บรวบรวมและสรุปผล และ4) ทบทวนแผนการปรับปรุงและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาได้แก่ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม และแบบบันทึกการปฏิบัติการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ในห้องคลอด โรงพยาบาลลำปางที่ได้พัฒนาตามหลักการของการพยาบาลเจ้าของไข้ โดยพยาบาลเจ้าของไข้มีหน้าที่ในการประเมินอาการ วางแผนและประเมินผลการให้การพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะรายทุกวันตั้งแต่รับใหม่จนกระทั่งจำหน่าย พยาบาลเจ้าของไข้ยังทำหน้าที่เป็นพยาบาลผู้ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยรายอื่นเมื่อพยาบาลเจ้าของไข้ของผู้ป่วยไม่ได้ขึ้นปฏิบัติงาน โดยบทบาทพยาบาลผู้ช่วยเหลือจะทำหน้าที่ในการให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่พยาบาลเจ้าของไข้กำหนดไว้เท่านั้น นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาคู่มือการให้การพยาบาลเจ้าของไข้ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วน คือ 1) การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอด 2) บทบาทของพยาบาลเจ้าของไข้ 3) การติดต่อสื่อสาร 4) การบันทึกและการรายงาน 5)การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และ 6) มาตรฐานการพยาบาลผู้คลอด เมื่อนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ในการบันทึกทางการพยาบาลและติดตามอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ พบว่า พยาบาลมีการบันทึกทางการพยาบาลถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ86.2 เป็นร้อยละ 89.7 และ ไม่พบว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในช่วงที่ทำการศึกษา อย่างไรก็ตามพบปัญหาในการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์น้อยขาดความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเจ้าของไข้ในผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน 2) เกณฑ์การมอบหมายผู้คลอดให้พยาบาลเจ้าของไข้ไม่ชัดเจน และ3) อัตรากำลังทางการพยาบาลไม่เพียงพอ ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผู้คลอดได้รับการบริการที่มีคุณภาพ และเพิ่มคุณภาพในการบันทึกทางการพยาบาล ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรนำหลักการพยาบาลเจ้าของไข้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.docxAbstract (words)172.23 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract165.15 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.