Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมใจ ศิระกมล-
dc.contributor.authorอภิวัน ชาวดงen_US
dc.date.accessioned2016-07-05T02:04:01Z-
dc.date.available2016-07-05T02:04:01Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39315-
dc.description.abstractThe record in nursing documents is an important element which allows for the continuing care of patients. The purpose of this study was to improve the quality of nursing documentation in an Emergency Unit, Thoen Hospital, Lampang Province. The study methodology was guided by the FOCUS-PDCA quality improvement process (Deming, 1993 as cited in McLaughlin & Kaluzny, 1999) which consisted of 9 steps: find a process to improve; organize a team that knows the process; clarify current knowledge of the process; understand causes of process variation; select the processes for improvement; plan the improvement; do the improvement; check the results, collect and analyze data; and act to maintain and continue improvements. The study population included 11 registered nurses. The research instruments included an interview guide and a quality assessment form for nursing documentation, which were developed by the researcher. Data were analyzed using descriptive statistics. The FOCUS PDCA process helped the researcher to develop new forms using the checklist format to facilitate the completion of documentation related to nursing assessment of admission and discharge. Manual of using such forms were also developed. After implementation of the new forms for one month, the researcher reviewed the nursing documents. Results revealed that the quality of nursing documentations increased from 35.02 % to 86.28 %. However, there were some problems arised during the quality improvement process including: 1) developed forms were difficult to record in the opinion of some nurses; 2) at the end of the study, some nurses were still unfamiliar with the new nursing documentation forms; 3) some nurses still did not understand how to fill the data into the forms; and 4) a record of the nursing documents wasn’t continuously monitored. This study revealed that the FOCUS PDCA quality improvement process is effective in improving the quality of nursing documents. It was recommended that nursing administrators should use this quality improvement process to improve the quality of nursing documentation in the other departments of the same hospital.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeQuality Improvement of Nursing Documentation in an Emergency Unit, Thoen Hospital, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการบันทึกทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ และนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง วิธีดำเนินการศึกษาอาศัยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพโฟกัสพีดีซีเอ (FOCUS - PDCA) (Deming, 1993, as cited in McLaughlin & Kaluzny, 1999)ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอนได้แก่ การค้นหากระบวนการที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพ การสร้างทีมให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ การสร้างความกระจ่างในกระบวนการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน การทำความเข้าใจสาเหตุของความแปรปรวนในกระบวนการ การเลือกกระบวนการที่ต้องการปรับปรุง วางแผนในการปรับปรุง การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบผลการปฏิบัติ และการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลที่ดีและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา กระบวนการโฟกัสพีดีซีเอช่วยให้ผู้วิจัยสามารถสร้างแบบประเมินอาการผู้ป่วยในรูปแบบตรวจสอบรายการเพื่อช่วยให้การบันทึกผลที่ได้จากการประเมินผู้ป่วยในระยะแรกรับและระยะจำหน่าย รวมทั้งพัฒนาแนวทางในการบันทึกในแบบประเมินที่ได้สร้างขึ้น ภายหลังนำแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นไปใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 35.02 เป็นร้อยละ 86.28 อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นในกระบวนการ พัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ได้แก่ พยาบาลบางคนรู้สึกว่าแบบประเมินที่สร้างขึ้นมีความยากในการนำไปบันทึก พยาบาลบางคนไม่คุ้นเคยกับแบบบันทึกที่จัดทำขึ้น พยาบาลบางคนไม่เข้าใจวิธีการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึก และขาดการติดตามตรวจสอบการบันทึกทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการปรับปรุงคุณภาพตามแนวคิดโฟกัส พีดีซีเอ สามารถนำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลได้เป็นอย่างดี และมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารการพยาบาล ควรนำกระบวนการพัฒนาคุณภาพนี้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในแผนกอื่นในโรงพยาบาลนี้en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)66 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract232.43 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.