Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39287
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ อังสนา ธงไชย-
dc.contributor.authorอัญชลี การคนซื่อen_US
dc.date.accessioned2016-03-08T08:49:01Z-
dc.date.available2016-03-08T08:49:01Z-
dc.date.issued2557-08-08-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39287-
dc.description.abstractThis research entitled “Development of Students’ Information Literacy Skills in Mathayom Suksa Six in Chiang Mai Province” had the objectives of 1) investigating the information literacy skills of the students, 2) examining the role of staff involved in developing information literacy skills and 3) considering the problems and obstacles in developing skills. The tools used in this study were questionnaires and tests and the sample groups comprised MS6 students in Chiang Mai, teachers/librarians by basing it on Nine Information Literacy Standards for Student of the American Association of School Librarians. The data was analyzed using frequency distribution, mean and standard deviation. As for teaching and learning, most of the students indicated that they had learned a little about information literacy in eight subject groups. They acquired the most knowledge on information literacy skills in science subject groups followed by Social Science, religion and culture as well as the Thai language subject groups. In addition, they had also acquired information literacy skills in some courses related to independent study, namely Research Study and Knowledge Building, Communication and Presentation as well as Knowledge Application for Social Science Activities. They felt that they had received development of information literacy skills at a moderate level and the subject that benefitted them the most in this respect was Communication and Presentation. They found Standard 8: “The student who contributes positively to the learning community and to society is information literate and practices ethical behavior in regard to information and information technology” provided them the chance to improve their skills the most followed by Standard 7: “The student who contributes positively to the learning community and to society is information literate and recognizes the importance of information to a democratic society” and Standard 9: “The student who contributes positively to the learning community and to society is information literate and participates effectively in groups to pursue and generate information” respectively. As for activities and research to enhance information literacy provided by the librarians that most students thought they benefited from were those concerning introduction to book cataloging, new book introduction, teaching on database and library resource searching along with book shelving respectively. They stated that the librarians had promoted the nine standards of information literacy skills at a moderate level and those that had a major role in their self-development for information literacy skills were their friends followed by teachers and parents. They ranked self-improvement in developing the skills and attention at a high level and the information literacy standards they paid attention to most were Standards 4, 1 and 5 respectively. The test on the students’ information literacy skills resulted in an average score of 12.27 out of a total of 25, which revealed a moderate level of skills obtained and 58.47 percent of the students got less than fifty percent of the scores. Regarding the teachers/librarians, it appeared that he teachers/librarians understood the roles and significance of information literacy skills and they had been developing the skills themselves and from attending training and seminars, which ranked at a high level. They felt that they had the skills at a high level also. Moreover, they expressed the desire to improve their skills more concerning evaluation of quality information, awareness of the need for information and applying the information to communicate knowledge respectively. Regarding their ideas about promotion of information literacy skills by the administrators, the teachers/librarians believed that school administrators had a clear policy in preserving the strategy/plan to develop the students’ information literacy skills and they realized the importance and following up on the students’ development in this area rather low. Most of the administrators gave significance to information literacy skills and considered them essential to the students and teachers at a high level. They also gave priority to budget allocation for developing a learning source (library) at the highest level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรู้สารสนเทศen_US
dc.subjectทักษะการรู้สารสนเทศen_US
dc.titleการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDevelopment of students’ information literacy skills in Mathayom Suksa Six in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc020-
thailis.controlvocab.thashการรู้สารสนเทศ-
thailis.controlvocab.thashการรู้สารสนเทศ--แบบทดสอบ-
thailis.controlvocab.thashสารสนเทศ-
thailis.controlvocab.thashนักเรียน--เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 020 อ113ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการรู้สารสนเทศและการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ 2) บทบาทหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการรู้สารสนเทศ และ 3) ศึกษารวมถึงปัญหา และอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ครู/ครูบรรณารักษ์ โดยยึดตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศ 9 ประการสำหรับนักเรียน ของสมาคมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนอเมริกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยด้านการเรียนการสอน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าได้เรียนเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศจากการเรียนในระดับน้อยใน 8 สาระวิชา โดยได้เรียนเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศมากที่สุดจากกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ รองลงมา คือ กลุ่มสาระวิชาสังคมศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระวิชาภาษาไทย อีกทั้ง ได้รับจากการเรียนกระบวนวิชาที่สอนเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ คือ รายวิชา การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ประกอบด้วยรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ และรายวิชากิจกรรมการนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม นักเรียนมีความเห็นว่าได้รับการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง และวิชาที่เป็นประโยชน์มากที่สุด คือ รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ สำหรับมาตรฐานที่นักเรียนเห็นว่าได้รับการพัฒนามากที่สุด คือ มาตรฐานที่ 8: นักเรียนผู้รู้สารสนเทศเป็นผู้ที่อุทิศตนต่อสังคม และชุมชนแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งมีจริยธรรมในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 7: นักเรียนผู้รู้สารสนเทศเป็นผู้ที่อุทิศตนต่อสังคมและชุมชนแห่งการเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย และมาตรฐานที่ 9: นักเรียนผู้รู้สารสนเทศเป็นผู้ที่อุทิศตนต่อสังคมและชุมชนแห่งการเรียนรู้และเข้าร่วมกลุ่มในการศึกษาและสร้างสารสนเทศ ตามลำดับ ด้านกิจกรรมหรือบริการส่งเสริมการรู้สารสนเทศของห้องสมุด พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ ได้รับการสอนจากกิจกรรมห้องสมุดในหัวข้อเกี่ยวกับการแนะนำการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ การแนะนำหนังสือใหม่ การสอนการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลรายการทรัพยากรห้องสมุด และแนะนำการเรียงหนังสือบนชั้น ตามลำดับ และเห็นว่าห้องสมุดส่งเสริมให้มีทักษะการรู้สารสนเทศทั้ง 9 มาตรฐานในระดับปานกลาง สำหรับผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาการรู้สารสนเทศ คือ เพื่อน รองลงมา คือ ครู และบิดา มารดา และใส่ใจพัฒนาการรู้สารสนเทศด้วยตนเองในระดับมาก โดยศึกษามากใน มาตรฐานที่ 4 มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 5 ตามลำดับ ด้านผลการทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน พบว่า มีคะแนนค่าเฉลี่ย คือ 12.27 จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน แสดงว่านักเรียนมีทักษะการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง โดยมีนักเรียนร้อยละ 51.47 ที่ทำคะแนนทดสอบได้ต่ำกว่าครึ่ง สำหรับการศึกษาในส่วนของครู/ครูบรรณารักษ์ พบว่า ครู/ครูบรรณารักษ์ เห็นว่า ครูและบรรณารักษ์มีความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของทักษะการรู้สารสนเทศว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และครู/ครูบรรณารักษ์พัฒนาทักษะการรู้สาระสนเทศโดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการเข้าอบรมสัมมนาในระดับมาก และเห็นว่าตนเองมีทักษะการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับมาก และยังมีความต้องการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศในด้านการประเมินคุณภาพของสารสนทศ การตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการสื่อสารความรู้ ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการส่งเสริมการรู้สารสนเทศโดยผู้บริหาร ครู/ครูบรรณารักษ์ เห็นว่า ผู้บริหารของโรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดทำแผนกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนักเรียน และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการรู้สนเทศของนักเรียนในระดับมากที่สุด แต่มีการกำกับ ดูแล และติดตามเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียนในระดับน้อย โดยผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า ทักษะการรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับนักเรียนและครูในระดับมาก ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ห้องสมุด) ในระดับมากที่สุดen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT187.75 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX497.14 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1266.48 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2376 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3260.41 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4915.82 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5431.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT242.43 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER813.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE305.36 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.