Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79938
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิกา แซ่ลิ่ว-
dc.contributor.authorกนกวรรณ อภิญen_US
dc.date.accessioned2024-08-05T11:21:30Z-
dc.date.available2024-08-05T11:21:30Z-
dc.date.issued2024-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79938-
dc.description.abstractThis study aims to analyze production and marketing risks of durian, evaluate these risks, and manage risks faced by durian farmers in Khao Chamao District, Rayong Province. Data were gathered from samples of over 30 agriculturists, consisting of 15 agriculturists who applies usage of technologies in durian production and 15 who do not. The fishbone diagram was used to identify the causes of risk and Likelihood Impact Matrix was used to assess the impacts of risk events. The study also examines how agriculturist manage production and marketing risks. The results showed that both groups of agriculturists had similar production and marketing practices, predominantly growing the Monthong durian variety, followed by Krathum and Chanee. Most agriculturists had 10-30 years of experience and cultivated durian on plots of up to 15 rai. Agriculturists using technology invested in heavy machinery such as sprayers, riding mowers, and cherry pickers to save time, reduce labor costs, and address labor shortages. In contrast, non-technology agriculturists continued traditional durian production, using light machinery like backpack mowers and high-pressure sprayers. Both groups primarily produced durians for export. Quality durians (grade AB) were sold to durian traders, while non-grade durians from the technology group were sold to the traders and from the non-technology group to middlemen for domestic consumption. Neither group engaged in durian processing for sale. Risk analysis revealed that both groups faced similar production and marketing risks. Production risks included environmental issues from weather variability, labor shortages and health problems from chemical use, plant diseases and pests, high production costs, easily damaged agricultural tools, and low-quality yield. Marketing risks comprised regulations, competition, marketing channels, price volatility, and buyer and middleman issues. The technology group faced higher price risks due to larger cultivation areas, leading to price suppression when durian supply was high. Agriculturists managed high to very high-level risks. For severe health risks, agriculturists wore protective gear and had annual health checkups. For plant diseases and pests, they regularly inspected durian fields and sprayed pesticides. Labor shortage risks were managed differently: the technology group used more technology in production and offered higher wages and benefits, while the non-technology group hired seasonal labor. However, some risks, such as environmental variability, high production costs, competition, and regulations, lacked effective management strategies, leaving farmers vulnerable to potential impacts on their operations.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการความเสี่ยงของการผลิตและการตลาด ทุเรียนในจังหวัดระยองen_US
dc.title.alternativeRisk management of durian production and marketing in Rayong Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.lcshทุเรียน -- ระยอง-
thailis.controlvocab.lcshการบริหารความเสี่ยง-
thailis.controlvocab.lcshการตลาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการผลิตและการตลาดทุเรียน และประเมินความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง โดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย ประกอบด้วยกลุ่มที่ผลิตทุเรียนแบบใช้เทคโนโลยี จำนวน 15 ราย และกลุ่มที่ผลิตทุเรียนแบบไม่ใช้เทคโนโลยี จำนวน 15 ราย โดยใช้แผนผังก้างปลาในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และประเมินผลกระทบความเสี่ยงโดยใช้ Likelihood impact matrix รวมทั้งศึกษาการจัดการความเสี่ยงด้านการผลิตและการตลาดทุเรียนของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีรูปแบบการผลิตและการตลาดทุเรียนที่ไม่แตกต่างกัน โดยนิยมปลูกทุเรียนสายพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ กระทุม และชะนี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ปลูกทุเรียนประมาณ 10-30 ปี และมีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 15 ไร่ ซึ่งกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยี มีการลงทุนเรื่องเครื่องจักรหนัก อาทิ รถพ่นยา รถตัดหญ้านั่งขับ และรถกระเช้า เพื่อลดเวลาในการทำงาน ลดต้นทุนการจ้างแรงงาน และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช้เทคโนโลยียังมีการผลิตทุเรียนแบบดั้งเดิม และยังใช้แค่เครื่องจักรเบา เช่น เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง และเครื่องพ่นยาแรงดันสูง เป็นต้น ในด้านการตลาดของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มนั้น เน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยผลผลิตทุเรียนคุณภาพ (เกรด AB) จะส่งขายให้กับล้งรับซื้อทุเรียน ส่วนทุเรียนตกเกรดนั้นกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีจะขายทุเรียนให้กับล้ง ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช้เทคโนโลยีจะจำหน่ายทุเรียนให้กับพ่อค้าคนกลางเพื่อขายให้กับผู้บริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ยังไม่มีการแปรรูปทุเรียนเพื่อจำหน่าย เมื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า เกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านการผลิตและการตลาดที่เหมือนกัน โดยความเสี่ยงด้านการผลิตที่ต้องเผชิญประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนและฤดูกาล ด้านแรงงานจากการขาดแคลนแรงงานและปัญหาสุขภาพที่ต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากในการป้องกันการระบาดของโรคและแมลง ด้านโรคพืชและแมลง ด้านต้นทุนการผลิตสูง ด้านเครื่องมือทางการเกษตรที่ชำรุดได้ง่าย และด้านคุณภาพทุเรียนที่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพจำนวนน้อย ส่วนความเสี่ยงด้านการตลาดนั้นต้องเผชิญความเสี่ยงทั้งหมด 5 ด้าน อาทิ ด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ ด้านคู่แข่งทางการค้า ด้านช่องทางการตลาด ด้านความผันผวนของราคา ด้านผู้ซื้อและพ่อค้าคนกลาง โดยกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีจะเผชิญความเสี่ยงด้านราคาที่สูงกว่า เพราะมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า หากทุเรียนมีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันปริมาณมาก มักจะถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากความเสี่ยงที่เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนต้องเผชิญนั้น เกษตรกรได้มีแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก โดยความเสี่ยงที่ระดับสูงมาก ได้แก่ ด้านแรงงานจากปัญหาสุขภาพนั้น เกษตรกรลดความเสี่ยงโดยสวมชุดป้องกันสารเคมีและตรวจสุขภาพประจำปี ด้านโรคพืชและแมลงนั้น มีการลดความเสี่ยงโดยการตรวจสอบแปลงทุเรียนเป็นประจำและพ่นยาเพื่อป้องกันโรคระบาด ปัญหาด้านแรงงานจากการขาดแคลนแรงงานนั้น เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีการจัดการความเสี่ยงต่างกัน โดยเกษตรกรกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีนั้น ลดความเสี่ยงโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในขั้นตอนการผลิตทุเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น รถพ่นยาแอร์บัส รถตัดหญ้านั่งขับ อีกทั้งยังจ้างแรงงานประจำในราคาที่สูงขึ้นพร้อมทั้งให้สวัสดิการที่พึงพอใจต่อลูกจ้าง ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช้เทคโนโลยีลดปัญหาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยจ้างแรงงานเป็นครั้งคราว แต่ยังมีบางปัญหาที่ยังไม่มีแนวทางจัดการความเสี่ยง เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมจากสภาพอากาศแปรปรวน ด้านต้นทุนการผลิตสูง ด้านคู่แข่งทางการค้า และด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ ทำให้เกษตรกรต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620832013- Kanokwan Apin.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.