Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชรินทร์ มั่งคั่ง-
dc.contributor.advisorแสวง แสนบุตร-
dc.contributor.authorพัชราภา ขันมะณีen_US
dc.date.accessioned2024-07-14T17:07:55Z-
dc.date.available2024-07-14T17:07:55Z-
dc.date.issued2567-03-23-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79747-
dc.description.abstractThis study explores the implementation of the Appreciative Inquiry Approach to develop the creative thinking abilities of high school students. The study has three main objectives: 1) to study the concept of social studies learning through the Appreciative Inquiry Approach to develop the creative thinking abilities of high school students; 2) to develop social studies learning innovation according to Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students; and 3) to examine the effectiveness of implementing social studies learning innovation according to Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students. Employing a research and development (R&D) model, the study sampled 49 high school students through simple random sampling. Research tools included content analysis forms, course descriptions, teaching and learning objectives, course content, related concepts, theories, and research, social studies learning innovation according to the Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students, as well as the evaluation of creative thinking abilities and student satisfaction with the social studies learning innovation according to Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students. The statistical analyses employed in data analysis were mean, standard deviation, percentage, and content analysis.   The research findings were summarized as follows: 1. The concept of social studies learning innovation according to Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students included the unit plans developed by the researcher according to the steps of the Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students. This approach followed the Appreciative Inquiry cycle known as “The 5-D Model,” consisting of five steps designed to promote concrete-operational creative thinking skills: 1) Definition: content examination, 2) Discovery: idea exploration, 3) Dream: value analysis, 4) Design: direction seeking, and 5) Destiny: application development. 2. The social studies learning innovation according to Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students included two unit plans about Landform, as well as Natural Resources and Environment that were considered highly suitable. 3. The effectiveness of employing social studies learning innovation according to Appreciative Inquiry Approach to develop creative thinking abilities of high school students was evaluated by comparing the pre-intervention and post-intervention creative thinking scores of the sample group. The results showed an increase in average scores across all dimensions. The most significant improvement was observed in elaboration, with an increase of 0.43, followed by flexibility with an increase of 0.47, fluency with an increase of 0.37, and the lowest increase was in originality, at 0.31. These findings suggest that the innovation effectively develops creative thinking abilities in high school students.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสุนทรียปรัศนีย์en_US
dc.subjectนวัตกรรมการเรียนรู้en_US
dc.titleนวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeSocial studies learning innovation according to appreciative inquiry approach to develop creative thinking abilities of high school studentsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย-
thailis.controlvocab.thashสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
thailis.controlvocab.thashสุนทรียสาธก-
thailis.controlvocab.thashความคิดสร้างสรรค์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ตัวอย่างการวิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับสลากได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบประเมินความสามารถการคิดสร้างสรรค์และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดนวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาขึ้นตามขั้นตอนของวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามวงจรสุนทรียปรัศนีย์ เรียกว่า “The 5-D Model” ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบเนื้อหา: Definition ขั้นที่ 2 พูดจาหาแนวคิด: Discovery ขั้นที่ 3 วินิจคุณค่า: Dream ขั้นที่ 4 เสาะหาแนวทาง: Design และขั้นที่ 5 ประยุกต์สร้างประยุกต์ใช้: Destiny 2. นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภูมิลักษณ์ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 แผน มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนตัวอย่างระหว่างครั้งแรกและครั้งหลังคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นแตกต่างกัน ด้านที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ การคิดละเอียดลออเพิ่มขึ้น 0.43 รองลงมาคือ การคิดยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น 0.47 การคิดคล่องแคล่วเพิ่มขึ้น 0.37 และการคิดริเริ่มเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.31 แสดงว่าการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามวิธีการสุนทรียปรัศนีย์เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนตัวอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640232011-พัชราภา ขันมะณี.pdf10.25 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.