Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79615
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา-
dc.contributor.advisorนิพนธ์ ธีรอำพน-
dc.contributor.authorวรพล บุญญบาลen_US
dc.date.accessioned2024-07-04T01:31:41Z-
dc.date.available2024-07-04T01:31:41Z-
dc.date.issued2024-04-18-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79615-
dc.description.abstractParkinson's disease (PD) is a degenerative nervous system disorder that tends to increase every year. In addition to movement disorders, such as tremors and rigidity, patients also commonly experience hypokinetic dysarthria, which is which leads to speech impairments. The purpose of this study is to develop an application for acoustic assessment, encompassing: 1) loudness, 2) voice quality (jitter and shimmer), and 3) pitch (including high-low frequencies and fundamental frequency), with the aim of improving accuracy and precision in laboratory settings. To investigate the accuracy and precision in the laboratory, as well as to assess concurrent validity and test-retest reliability of the developed application, a pilot study was conducted among 20 healthy volunteers and volunteers with Parkinson's disease. Application for acoustic assessment was developed based on a literature review and by referring to the acoustic assessment model. The accuracy percentage test results compared to the Praat program ranged from 98.42% to 99.59%. The result of precision yielded a percentage coefficient of variation ranging from 1.65% to 3.78%. These results demonstrate that the application for acoustic assessment provides high accuracy and precision in testing. Concurrent validity testing involves assessing the relationship between tools by comparing acoustic assessment application with Praat program. This comparison utilizes Spearman's correlation coefficient to analyze the connection between the tools. The testing, involves a group of 20 healthy volunteers aged between 50 and 75 years. The results of the study revealed significant findings regarding the variables of loudness, pitch (high-low frequencies and fundamental frequency), and voice quality (jitter and shimmer) assessed through pronouncing /a/. There was a very strong correlation between the tools in loudness (median difference: MD = 0.23, 95% confident interval: 95% CI = 0.84-0.97, rs = 0.94), jitter (MD = 0.03, 95% CI = 0.86-0.97, rs = 0.94), high frequency (MD = 13.10, 95% CI = 0.95-0.99, rs = 0.98), and low frequency (MD = 0.25, 95% CI = 0.95-0.99, rs = 0.98), while shimmer showed a strong relationship between the tools (MD = -0.47, 95% CI = 0.42-0.89, rs = 0.73). In terms of reading the article "Fonfaa," only the fundamental frequency exhibited a strong relationship between the tools (MD = -40.30, 95% CI = 0.71-0.95, rs = 0.88), while loudness displayed a moderate relationship between the tools (MD = -4.46, 95% CI = 0.10-0.79, rs = 0.54). Jitter demonstrated a weak relationship correlation in the opposite direction (MD = 0.79, 95% CI = -0.70-0.10, rs = -0.37), and shimmer showed a very weak correlation in the opposite direction (MD = -3.15, 95% CI = 0.71-0.95, rs = -0.10). When testing in a group of 20 volunteers diagnosed with Parkinson's disease, aged between 50 and 75 years. The results of the concurrent validity test for the pronunciation /a/ showed a very strong level of correlation for loudness (MD = 1.05, 95% CI = 0.88-0.98, rs = 0.95), high frequency (MD = 55.09, 95% CI = 0.85-0.97, rs = 0.94), and low frequency (MD = 23.96, 95% CI = 0.96-0.99, rs = 0.98) tests. Additionally, jitter and shimmer exhibited strong correlations (MD = 0.05, 95% CI = 0.66-0.94, rs = 0.85 and MD = -0.38, 95% CI = 0.59-0.93, rs = 0.82, respectively). While reading the article "Fonfaa" the fundamental frequency exhibits a moderate relationship correlation (MD = -86.66, 95% CI = 0.19-0.82, rs = 0.59), while loudness demonstrates a weak relationship (MD = -0.27, 95% CI = -0.27-0.60, rs = 0.20). Additionally, jitter show a weak correlation in the opposite direction (MD = -1.44, 95% CI = -0.77--0.04, rs = -0.49), and shimmer exhibits a very weak correlation in the opposite direction as well (MD = -8.66, 95% CI = -0.19-0.65, rs = -0.28). In the test-retest reliability of both pronunciation of /a/ and reading the article "Fonfaa" showed a very strong level of correlation for all parameters, except for jitter in reading the article, which had a strong level of correlation (r = 0.86). When comparing a group of healthy volunteers with a group of Parkinson's patients using acoustic assessment application, it was found that the healthy volunteers had better test results than the Parkinson's patients in every test, including both pronunciation of /a/ and reading passages." The results of the study found that the acoustic assessment application demonstrates high concurrent validity and test-retest reliability in the /a/ pronunciation test, making it suitable for clinical assessment. However, in the "Fonfaa " article reading test, it demonstrated low validity and reliability. This could be attributed to Parkinson's patients' challenges in maintaining their voice while reading lengthy passages aloud, which may be due to voice abnormalities. This underscores the necessity of revising and developing practices, such as selecting shorter articles for future study.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียง : การศึกษานำร่องในผู้ป่วยพาร์กินสันen_US
dc.title.alternativeApplication for acoustic assessment: A Pilot study in Parkinson’s patientsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรคพาร์กินสัน-
thailis.controlvocab.thashโรคพาร์กินสัน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashสมอง -- โรค-
thailis.controlvocab.thashภาวะเสียการสื่อความ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease: PD) เป็นโรคการเสื่อมถอยของระบบประสาท (neurodegenerative disease) ที่มีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี นอกจากความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวแล้วในผู้ป่วยยังพบภาวะพูดไม่ชัดแบบเคลื่อนไหวน้อย (hypokinetic dysarthria) ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเสียงพูด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียง ได้แก่ 1) ความดัง (loudness) 2) คุณภาพของเสียง (ค่า jitter และค่า shimmer) 3) ระดับเสียง (ความถี่เสียงสูงต่ำ และความถี่มูลฐาน) นำไปศึกษาความแม่นยำ (accuracy) ความถูกต้อง (precision) ในห้องปฏิบัติการ และนำไปศึกษาความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (concurrent validity) และความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำ (test-retest reliability) ของแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น จากนั้นทำการศึกษานำร่องในกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดีและอาสาสมัครผู้ป่วยพาร์กินสันกลุ่มละ 20 คน สำหรับแอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียงได้รับการออกแบบจากการทบทวนวรรณกรรม โดยอ้างอิงรูปแบบการประเมินกลศาสตร์ของเสียง ผลการทดสอบร้อยละความแม่นยำ (accuracy percentage) เมื่อเทียบกับโปรแกรม Praat อยู่ที่ร้อยละ 98.42%-99.59% ในส่วนของผลการตรวจสอบความถูกต้อง (precision) ได้ค่าร้อยละสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (Coefficient of Variation percentage: CV percentage) ระหว่าง 1.65%-3.78% ซึ่งผลที่ได้แสดงว่าแอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียงมีความแม่นยำ (accuracy) และมีความถูกต้อง(precision) ในการทดสอบสูง สามารถนำไปใช้ในการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงสภาพในกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี อายุระหว่าง 50-75 ปี จำนวน 20 คน โดยทำการเปรียบเทียบแอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียงกับโปรแกรม Praat โดยใช้สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สเปรียร์แมน (Spearman’s correlation) ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรด้านความดัง ค่า jitter และค่า shimmer และระดับเสียง (ระดับเสียงสูงต่ำ และความถี่มูลฐาน) โดยการออกเสียง /อา/ มีระดับความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือดีมากในการทดสอบ ความดัง (median difference: MD = 0.23, 95% confident interval: 95% CI = 0.84-0.97, rs = 0.94) ค่า jitter (MD = 0.03, 95% CI = 0.86-0.97, rs = 0.94) ค่าความถี่เสียงสูง (MD = 13.10, 95% CI = 0.95-0.99, rs = 0.98) และค่าความถี่เสียงต่ำ (MD = 0.25, 95% CI = 0.95-0.99, rs = 0.98) ขณะที่ค่า shimmer มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือในระดับดี (MD = -0.47, 95% CI = 0.42-0.89, rs = 0.73) ในส่วนของการอ่านบทความ “ฝนฟ้า” มีเพียงความถี่มูลฐานมีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับดี (MD = -40.30, 95% CI = 0.71-0.95, rs = 0.88) ขณะที่ความดังพบว่ามีความมีสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับปานกลาง (MD = -4.46, 95% CI = 0.10-0.79, rs = 0.54) ) ค่า jitter มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับต่ำในทิศทางตรงกันข้าม (MD = 0.79, 95% CI = -0.70-0.10, rs = -0.37) และ ค่า shimmer มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับต่ำมากในทิศทางตรงกันข้าม (MD = -3.15, 95% CI = 0.71-0.95, rs = -0.10) ผลการทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครผู้ป่วยพาร์กินสัน อายุระหว่าง 50-75 ปี จำนวน 20 คนผลการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (concurrent validity) ของการออกเสียง /อา/ มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับดีมาก สำหรับการทดสอบความดัง (MD = 1.05, 95% CI = 0.88-0.98, rs = 0.95) ความถี่เสียงสูง(MD = 55.09, 95% CI = 0.85-0.97, rs = 0.94) และความถี่เสียงต่ำ (MD = 23.96, 95% CI = 0.96-0.99, rs = 0.98) ขณะที่ค่า jitter และค่า shimmer มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับดี (MD = 0.05, 95% CI = 0.66-0.94, rs = 0.85 และ MD = -0.38, 95% CI = 0.59-0.93, rs = 0.82ตามลำดับ)ในส่วนของการอ่านบทความ “ฝนฟ้า” ความถี่มูลฐานมีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือในระดับปานกลาง (MD = -86.66, 95% CI = 0.19-0.82, rs = 0.59) ความดังมีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับต่ำ (MD = -0.27, 95% CI = -0.27-0.60, rs = 0.20) ) ขณะที่ ค่า jitter มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับต่ำในทิศทางตรงกันข้าม (MD = -1.44, 95% CI = -0.77--0.04, rs = -0.49) และค่า shimmer มีความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือระดับต่ำมากในทิศทางตรงกันข้าม (MD = -8.66, 95% CI = -0.19-0.65, rs = -0.28) สำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในการออกเสียง /อา/ และการอ่านบทความ ได้ความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำอยู่ในระดับความสัมพันธ์ดีมากทุกตัวแปร ยกเว้นค่า jitter ในการอ่านบทความที่มีความสัมพันธ์ระดับดี (r = 0.86) และเมื่อทำการเปรียบเทียบกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดีกับกลุ่มอาสาสมัครผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยแอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียง พบว่าในกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดีจะได้ผลการทดสอบที่ดีกว่ากลุ่มอาสาสมัครผู้ป่วยพาร์กินสันทุกการทดสอบ ทั้งการทดสอบออกเสียง /อา/ และการอ่านบทความ “ฝนฟ้า” ผลการศึกษาพบว่า แอปพลิเคชันประเมินกลศาสตร์ของเสียงมีค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ และความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำที่สูงในการทดสอบออกเสียง /อา/ สามารถนำไปใช้ในการประเมินทางคลินิก ขณะที่ในการทดสอบอ่านบทความมาตรฐาน “ฝนฟ้า” มีค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพและความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำที่ต่ำ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยพาร์สันไม่สามารถรักษาระดับของเสียงขณะอ่านออกเสียงบทความที่มีความยาวเนื่องจากความผิดปกติของเสียง รวมทั้งต้องมีการแก้ไขพัฒนาในการเลือกบทความที่สั้นลงก่อนนำไปใช้ทดสอบต่อไปในอนาคตen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631131013 วรพล บุญญบาล.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.