Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorKomsoon Somprasong-
dc.contributor.authorThitinan Hutayanonen_US
dc.date.accessioned2024-06-19T11:55:57Z-
dc.date.available2024-06-19T11:55:57Z-
dc.date.issued2024-04-24-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79539-
dc.description.abstractMae Moh lignite coal mine, the most extensive open-pit mining in Thailand, has undergone significant land use changes, transforming forested areas into mining and dumping sites. This transformation has notably altered the forest ecosystem, necessitating the implementation of mine rehabilitation activities in tandem with ongoing mining operations. These activities aim to restore the environment to a state that closely resembles its original condition. The monitoring and assessment of the quality of the reclaimed areas are of paramount importance. However, the current methods for field data collection, which predominantly rely on manual labor and are time-intensive, present considerable challenges due to the vast expanse of the reclamation areas. This thesis is dedicated to exploring methodologies for the qualitative assessment of reclaimed areas, emphasizing minimizing the time required for such evaluations and facilitating assessments across mining areas. Remote sensing has been applied through the analysis of aerial photography, which is rapidly sourced from satellites or cameras with multispectral sensors. Utilizing the spectral characteristics inherent in photos. The research investigates the correlation with the Vegetation Index, effectively distinguishing between areas with and without biomass coverage. The Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) is employed within the study area for this purpose. Areas abundant in vegetation are characterized by a higher reflectance in the Near-Infrared (NIR) spectrum as opposed to the red (RED) spectrum within the visible range. The NDVI values are instrumental in indicating fluctuations in vegetation cover, thereby serving as a valuable tool in monitoring both the augmentation and diminution of vegetation and assessing the prevailing environmental conditions. The research found that aerial photographs obtained through Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) provide more precise Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) values compared to data from Landsat-8 and Sentinel-2 satellites. The coefficient of variation (%RSD) in NDVI ranged from 16.58% to 40.78%. To establish a correlation with NDVI values, various climatic variables were considered and categorized based on Thailand's primary seasons, consisting of the rainy and dry seasons. These climatic variables encompassed parameters such as rainfall, relative humidity, temperature, elevation, and other vegetation indices like the Leaf Area Index (LAI) and the Soil Adjusted Vegetation Index (SAVI). Among the derived equations, the one representing teak trees during the dry season exhibited the highest R-squared value, at 0.955. This equation can be expressed as follows: NDVI = 1.865SAVI - 0.229LAI + 0.001R + 0.003RH + 0.005T - 0.272. This equation holds the potential for estimating above-ground biomass and evaluating carbon sequestration in forest restoration areas, thereby aligning with the goals of achieving carbon neutrality and net zero emissions as outlined by the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) for the year 2050.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectMine Reclamationen_US
dc.subjectRemote Sensingen_US
dc.subjectNormalized Difference Vegetation Indexen_US
dc.subjectSatelliteen_US
dc.subjectUAVen_US
dc.titleApplication of remote sensing technique for developing of quality assessment model for the reclamation areas of Mae Moh mineen_US
dc.title.alternativeการประยุกต์เทคนิควิธีการทางการรับรู้ระยะไกลเพื่อสร้างแบบจำลองการประเมินคุณภาพพื้นที่ฟื้นฟูเหมืองแม่เมาะen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.lcshRemote sensing -- Lampang-
thailis.controlvocab.lcshCoal mines and mining -- Lampang-
thailis.controlvocab.lcshLignite mines and mining -- Lampang-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเหมืองถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ เป็นเหมืองเปิดขนาดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่ป่ากลายเป็นขุมเหมืองและที่ทิ้งมูลดินทราย ทำให้ระบบนิเวศน์ป่าเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูสภาพเหมืองควบคู่ไปกับกิจกรรมการทำเหมือง เพื่อให้สภาพแวดล้อมมีความใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าเดิม การตรวจติดตาม และประเมินคุณภาพพื้นที่ภายหลังการฟื้นฟูสภาพเหมืองมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามที่ดำเนินการในปัจจุบันใช้บุคลากร รวมถึงระยะเวลาดำเนินการนาน เนื่องจากพื้นที่ที่ผ่านการฟื้นฟูสภาพเหมืองแล้วมีจำนวนมาก ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้จึงต้องการศึกษาวิธีการประเมินคุณภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมือง ที่สามารถช่วยลดระยะเวลา และสามารถประเมินผลในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ โดยการนำความรู้ทางด้านการรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing: RS) มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาอย่างรวดเร็ว จากการติดกล้องที่มีเครื่องรับรู้ (Sensor) แบบ Multispectral ใช้คุณสมบัติช่วงคลื่น (Spectral Characteristics) หาความสัมพันธ์ของดัชนีพืชพรรณ (Vegetation Index) จำแนกบริเวณที่มีปริมาณพืชพรรณปกคลุม (Biomass) กับบริเวณที่ไม่ถูกปกคลุม ซึ่งในพื้นที่ที่ศึกษา ดัชนีพืชพรรณที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) บริเวณที่มีพืชพรรณปกคลุมจะมีค่าการสะท้อนในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) สูงกว่าช่วงคลื่นตามองเห็นสีแดง (Red) ซึ่งค่าของดัชนีพืชพรรณ NDVI จะบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงการปกคลุมของพืชพรรณ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการติดตามการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพืชพรรณและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมได้ วัตถุประสงค์ของปริญญานิพนธ์ เพื่อกำหนดสมการที่หาค่า NDVI ระหว่างภาพถ่ายทางอากาศของ UAV และภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งให้ค่าที่แม่นยำและเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่แม่เมาะมากที่สุด รวมถึงหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อค่า NDVI และพิจารณาความเป็นไปได้ของสมการเชิงเส้นแต่ละสมการเพื่อประเมินคุณภาพของพื้นที่ฟื้นฟูสภาพเหมือง จากการศึกษา พบว่า ภาพถ่ายทางอากาศของ UAV สามารถให้ค่าความแม่นยำของ NDVI มากกว่าภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 และดาวเทียม Sentinel-2 โดยค่า RSD อยู่ระหว่างร้อยละ 16.58-40.78 ตัวแปรทางสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้ แบ่งตามฤดูกาลหลักของประเทศไทยคือ ฤดูฝน และฤดูแล้ง ถูกนำมาใช้ในการหาความสัมพันธ์กับค่า NDVI ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน (Rainfall Intensity: R) ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity: RH) อุณหภูมิ (Temperature: T) ค่าระดับสูงของพื้นที่ (Elevation: E) รวมถึงดัชนีพืชพรรณอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีพื้นที่ใบ (Leaf Area Index: LAI) และค่าดัชนีพืชพรรณปรับแก้ดิน (Soil Adjusted Vegetation Index: SAVI) เมื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (Coefficient of Determination: R2) ของสมการที่ได้ทั้งหมด สมการของต้นสักซึ่งเป็นตัวแทนของต้นไม้ทั้งหมดในฤดูแล้ง มีค่า R2 เท่ากับ 0.955 สมการที่ได้คือ NDVI = 1.865SAVI - 0.229LAI + 0.001R + 0.003RH + 0.005T - 0.272 ซึ่งใช้ประมาณค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดิน และประเมินค่าการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าฟื้นฟูสภาพเหมือง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emission ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี ค.ศ. 2050en_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620635904_Thitinan Hutayanon.pdf947.27 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.