Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีราพร แซ่แห่ว-
dc.contributor.authorกรกช เจริญทรัพย์en_US
dc.date.accessioned2024-05-09T00:32:11Z-
dc.date.available2024-05-09T00:32:11Z-
dc.date.issued2024-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79461-
dc.description.abstractAgricultural technology transfer needs to employ various media to create perception. Forms of the media used are essential to create perception and understanding, which result in the perception of media preparation of concerned agencies. This involves online media construction using an inside-out marketing concept, which focuses on media preparation. It makes audiences be unable to use this knowledge for the application of production. The objectives of this study were to 1) analyze current problems related to the content preparation of agricultural learning media, 2) analyze characteristics of good agricultural practice content, and 3) construct prototype content of the agricultural learning media under Bloom's Taxonomy. This study presented a model for extracting knowledge and solving problems with applied theory. It analyzed current problems related to the content preparation of agricultural learning media. The research is mixed-method research using both qualitative and quantitative approaches. Bloom's Taxonomy was used to analyze and extract the opinions and questions of viewers from each video on the MJU Channel on YouTube. Then, the problems were analyzed and linked to Maslow's Hierarchy of Needs to find out the needs of the viewers in watching the media. In addition, a questionnaire was used to measure the satisfaction level of 10 upstream farmers. The criteria for selecting upstream farmers were using random sampling of upstream farmers who watched the Maejo Organic Farming program on the YouTube channel of the Digital Technology Division to find prototype farmers and create prototypes of agricultural learning media content. This research found that viewers want to gain knowledge from watching the clips to apply it to their farming practices and learn from it. Most of them seek information to use in their agricultural career to grow food for their household for basic survival (Maslow's Hierarchy of Needs). The frequency of watching MJU Channel videos is more than two times per week. The average satisfaction with the content is 8.6%; the content is easy to understand, the details are complete, and it covers everything they want to know. The satisfaction with the images is 8.46%; the images used in the content are easy to understand. The satisfaction with the sound and language is 9.3%; the language used is appropriate and easy to understand.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตรโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมen_US
dc.title.alternativeContent analysis of good agricultural practices using Bloom's Taxonomyen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashเทคโนโลยีการเกษตร-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกรรม -- การถ่ายทอดเทคโนโลยี-
thailis.controlvocab.thashสื่ออิเล็กทรอนิกส์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรจำเป็นต้องใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยในการสร้างการรับรู้ โดยรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรนับเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลิตสื่อออนไลน์โดยใช้แนวคิดทางการตลาดแบบ inside-out ที่เน้นบอกขั้นตอนการทำเกษตร เพื่อให้ผู้ชมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ต่อยอดการผลิตและสร้างอาชีพได้ ซึ่งสื่อดังกล่าวยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ชม ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้จึงต้องการวิเคราะห์คุณลักษณะเนื้อหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตรและการสร้างต้นแบบเนื้อหา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์ปัญหากระบวนการสร้างเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตร ณ ปัจจุบัน 2. เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะเนื้อหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตร 3. เพื่อสร้างต้นแบบเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) งานวิจัยครั้งนี้ ได้นำเสนอโมเดลการสกัดความรู้การแก้ไขปัญหาด้วยทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้ เป็นการวิเคราะห์ปัญหากระบวนการสร้างเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตร ณ ปัจจุบัน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) มาวิเคราะห์และสกัดความคิดเห็นคำถามของผู้ชมในแต่ละวิดีโอในช่อง MJU Channel ผ่านช่องทาง YouTube จากนั้น นำปัญหามาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับทฤษฎีมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) เพื่อหาความต้องการของผู้ชมในการดูสื่อ รวมทั้งใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับความพึงพอใจจากเกษตรกรต้นน้ำ จำนวน 10 คน โดยเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรต้นน้ำใช้การสุ่มกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำที่ดูรายการแม่โจ้เกษตรอินทรีย์ ผ่านช่องทาง YouTube ของกองเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อหาเกษตรกรต้นแบบ เพื่อสร้างต้นแบบเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตร ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า ผู้ชมมีความต้องการความรู้จากการชมคลิป เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำเกษตรและศึกษาไว้เป็นบทเรียน โดยส่วนใหญ่กำลังศึกษาหาข้อมูลเพื่อนำไปประกอบอาชีพด้านการเกษตรเพาะปลูกเป็นอาหารในครัวเรือน เพื่อความอยู่รอดในพื้นฐานการใช้ชีวิต (ปัจจัย 4) ตามทฤษฎีมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) และความถี่ในการเข้าชมคลิปวิดีโอ MJU Channel มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 8.6 เนื้อหาเข้าใจง่าย รายละเอียดสมบูรณ์ ครอบคลุมสิ่งที่อยากรู้ ส่วนความพึงพอใจด้านภาพ คิดเป็นร้อยละ 8.46 คือ ภาพที่ใช้ในเนื้อหาเข้าใจง่าย และความพึงพอใจด้านเสียงและภาษาคิดเป็นร้อยละ 9.3 คือภาษาที่ใช้มีความเหมาะสมเข้าใจง่ายen_US
Appears in Collections:CAMT: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
622132025 กรกช เจริญทรัพย์.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.