Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79057
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิกุล เลียวสิริพงศ์-
dc.contributor.authorสุมาลี เรือนตื้อen_US
dc.date.accessioned2023-10-15T07:34:07Z-
dc.date.available2023-10-15T07:34:07Z-
dc.date.issued2566-05-23-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79057-
dc.description.abstractThesis Title Pre–Cane Orientation and Mobility Curriculum Development Using Taba Model for Students with Multiple Disabilities and Visual Impairments Author Miss Sumalee Rueantue Degree Master of Education (Special Education) Advisor Dr. Pikul Leosiripong ABSTRACT This research aimed to develop pre-cane orientation and mobility skill curriculum for students with multiple disabilities and visual impairments using Taba model included efficiency test. The eligible target group of five were purposively selected with following conditions: visually impaired and multiple disabilities diagnosed by a physician ; have never been trained in pre-cane orientation and mobility skills and studied in multi-graded classroom, Room 1 (kindergarten and grade 1), 6-13 of age in School for the Blind, Chiang Mai. The research tools at phase 1 were: 1) personal learner data checklist, 2) teacher interview forms to develop curriculum. Tools at phase 2 consists of 1) the curriculum outline, 2) the post-test. Data obtained from phase 1 take it as the basic information for developing the curriculum according to the Taba model, in 7 stages as follow: 1) Diagnosis of needs, 2) Formulation of objectives, 3) Selection of content, 4) Content organization, 5) Selection of learning experiences, 6) Provision of leaning experiences, and 7) Determination of what to evaluate. The curriculum has been outlined consisting of 5 units with exercises. The curriculum to try out with the target to find out efficiency of curriculum in phase 2, and use post-test created and use the data to find efficiency Using the calculation formula E1 / E2, set the 70/70 efficiency criterion by the scores of exercises and post-test. Data were analyzed with frequency, percentage, and average percentage. The research results showed that the development of pre-cane orientation and mobility skill curriculum for students with multiple disabilities and visual impairments, was subject-mater course components with complete and 80-hour time structure. The efficiency scores E1/E2 were 88.50/74.00, which were higher than the criterion.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวก่อนใช้ไม้เท้าขาว สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อน ตามรูปแบบของทาบาen_US
dc.title.alternativePre-cane orientation and mobility curriculum development using Taba model for students with multiple disabilities and visual impairmentsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการศึกษาพิเศษ-
thailis.controlvocab.thashคนพิการ -- การศึกษา-
thailis.controlvocab.thashไม้เท้า-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractหัวข้อวิทยานิพนธ์ การพัฒนาหลักสูตรการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและ การเคลื่อนไหวก่อนใช้ไม้เท้าขาว สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทาง การเห็นและพิการซ้อน ตามรูปแบบของทาบา ผู้เขียน นางสาวสุมาลี เรือนตื้อ ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ) อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.พิกุล เลียวสิริพงศ์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวก่อนใช้ไม้เท้าขาว สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อน ตามรูปแบบของทาบา และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวก่อนใช้ไม้เท้าขาว สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อน ตามรูปแบบของทาบา กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อน ที่ไม่เคยได้รับการฝึกทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ก่อนใช้ไม้เท้าขาว กำลังศึกษาอยู่ในระดับห้องเรียนคละชั้น 1 (อนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) โรงเรียนเฉพาะความพิการแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ อายุ 6-13 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 1 ได้แก่ 1) แบบสำรวจผู้เรียนรายบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน ระยะที่ 2 ได้แก่ 1) โครงร่างหลักสูตรฯ 2) แบบทดสอบหลังเรียน ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบของทาบา 7 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา สำรวจความต้องการและความจำเป็นต่าง ๆ 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) การเลือกเนื้อหาสาระ 4) การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ 5) การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ 6) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 7) การประเมินผล ได้หลักสูตรที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมา จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเวลาเรียน แผนผังหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่1-5 แบบฝึกประจำหน่วย การหาประสิทธิภาพของหลักสูตร โดยนำหลักสูตรที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย และแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อหาประสิทธิภาพ โดยใช้สูตรการคำนวณ E1 / E2 กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 70/70 จากแบบคะแนนแบบฝึกระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่า ร้อยละเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาหลักสูตรทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวก่อนใช้ไม้เท้าขาว สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อน ตามรูปแบบของทาบา เป็นหลักสูตรรายวิชา ที่มีองค์ประกอบครบถ้วน มีโครงสร้างเวลาเรียน 80 ชั่วโมง ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร E1 / E2 เท่ากับ 88.50/74.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610232042สุมาลี เรือนตื้อ.pdf18.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.