Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79045
Title: การประเมินประสิทธิภาพพื้นที่รับส่งผู้โดยสาร ในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
Other Titles: Performance evaluation of passenger loading zones at Chiang Mai International Airport
Authors: กษิดิศ จันทร์มา
Authors: ปรีดา พิชยาพันธ์
กษิดิศ จันทร์มา
Issue Date: 22-May-2566
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การเดินทางโดยอากาศยานมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย เมื่อปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่ส่งผลตามมาจากปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นก็คือปริมาณจราจรที่เข้ามารับส่งผู้โดยสารที่มากขึ้นตามกัน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานหนึ่งในประเทศไทยที่มีจำนวนเที่ยวบินเข้าออกสูงในปัจจุบัน เนื่องจากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมีพื้นที่จำกัด ทำให้บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่รับส่งผู้โดยสาร ด้วยเหตุนี้การขยายพื้นที่ในการรับส่งผู้โดยสารจึงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากในอนาคตมีปริมาณจราจรในท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้น สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ง่ายที่สุดคือการจัดการการรับส่งผู้โดยสารให้เหมาะสมต่อปริมาณความต้องการในการรับส่งที่จะเกิดขึ้น แต่การที่จะหารูปแบบที่เหมาะสมนั้นไม่สามารถกระทำในพื้นที่จริงได้ ดังนั้นวิธีที่จะสามารถทดสอบให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดคือการทดสอบด้วยการจำลองสถานการณ์การจอดรับส่งผู้โดยสารในท่าอากาศยาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการรับส่งผู้โดยสารบริเวณหน้าอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในการหารูปแบบการจอดรับส่งผู้โดยสารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยในการพัฒนาแบบจำลองได้ทำการแบ่งการรับส่งผู้โดยสารเป็นทั้งหมด 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของรูปแบบปัจจุบัน 1 รูปแบบ และส่วนของแบบจำลองเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการนำมาปรับใช้อีก 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบจำลองการจอดแบบเข้าก่อนออกก่อน 2) แบบจำลองการจอดแบบแบ่งช่วงพื้นที่ช่องจราจรในการจอดรับส่ง 3) แบบจำลองการจอดแบบกำหนดพื้นที่รับส่งเฉพาะประเภทยานพาหนะ 4) แบบจำลองกรณีมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารชั้น 2 และ 5) แบบจำลองกรณีมีพื้นที่จอดรับผู้โดยสารเพิ่มเติมจากหน้าอาคารผู้โดยสาร จากการทดสอบและศึกษาผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการทำแบบจำลองพบว่า รูปแบบการจัดการสำหรับการจอดรับส่งผู้โดยสารของท่าอากาศยานเชียงใหม่ ปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณจราจรได้มากที่สุดอยู่ที่ 2,112 คันต่อชั่วโมง โดยการรับส่งผู้โดยสารใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 3.39 นาที จากทางเข้าท่าอากาศยานถึงทางออกท่าอากาศยาน และจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นบริเวณหน้าอาคารผู้โดยสาร 2.57 นาที โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพแล้ว แบบจำลองกรณีกำหนดพื้นที่รับส่งเฉพาะประเภทยานพาหนะ ( Zoning) มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับท่าอากาศยานเชียงใหม่ในการรองรับปริมาณจราจรโดยปรับปรุงเพียงรูปแบบการจอดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งรองรับได้ 2,952 คันต่อชั่วโมง (เพิ่มขึ้น 40%) โดยใช้เวลาในการเดินทาง 2.05 นาทีต่อคัน (ลดลง 39%) และมีความล่าช้าที่เกิดขึ้น 1.16 นาทีต่อคัน (ลดลง 55%) ในกรณีของการปรับปรุงการจอดรับส่งผู้โดยสารแบบทำการปรับปรุงด้านกายภาพของท่าอากาศยานเชียงใหม่ แบบจำลองกรณีมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารชั้น2 (2 Floors) มีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยสามารถรับปริมาณจราจรได้ 2,257 คันต่อชั่วโมง ขณะที่ใช้เวลาในการเดินทาง 1.85 นาที และจะเกิดความล่าช้า 0.13 นาที แบบจำลองกรณีที่มีการแบ่งช่วงพื้นที่ช่องจราจรที่ใช้ในการรับส่ง (Sectioned) มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดเมื่อนำปริมาณจราจรที่รับได้ เวลาที่ใช้ในการเดินทาง และความล่าช้าที่เกิดขึ้น มาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ณ ความสามารถสูงสุดของแบบจำลองที่สามารถรับได้ โดยปริมาณจราจรที่รับได้มีค่าลดลงและน้อยกว่าปัจจุบัน 48% เวลาที่ใช้ในการเดินทางเพิ่มขึ้น 41% และมีความล่าช้าเพิ่มขึ้น 49% จากการทดสอดแบบจำลองทั้งหมดพบว่าการจัดรูปแบบการจอดรับส่งโดยกำหนดพื้นที่เฉพาะยานพาหนะอย่างชัดเจนควบคู่ไปกับการปรับปรุงด้านกายภาพ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านความคล่องตัวของจราจรและลดโอกาศการเกิดจราจรติดขัด
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79045
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620631006_กษิดิศ จันทร์มา.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.