Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78931
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภัทร ชูประดิษฐ์-
dc.contributor.advisorพรเพ็ญ ศิริสัตยะวงศ์-
dc.contributor.authorชนากานต์ คำคุณen_US
dc.date.accessioned2023-10-05T10:57:36Z-
dc.date.available2023-10-05T10:57:36Z-
dc.date.issued2565-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78931-
dc.description.abstractThis quantitative research used a quasi-experimental design, controlled study with pretest post-test. The purpose of this research was to develop and study the effect of resilience program through group dynamic on academic problems of Matthayom Suksa 1 students, Chiang Mai University Demonstration School. The purposive sampling was used to recruit 66 samples from Mathayom Suksa 1 students, the academic year 2021 from Chiang Mai University Demonstration School, Chiang Mai, Thailand. The samples were classified with stratified random sampling into the experimental groups (n=33) who received a mental reinforcement program using group dynamics for a period of time. For 11 weeks, once a week, for 60 minutes each, the control groups (n=33) received a resilience knowledge sheet and had a normal life. Data were collected by assessing before and after participating in the program with the general information questionnaire, Canadian Occupational Performance Measures, and Resilience Inventory. Descriptive statistical analysis, independent t-test, and paired t- test were used to analyze the data. All analyses used 95% confidence intervals, and the significance level was p-value < .05. The result shows that the resilience program through group dynamic has the index of item objective congruence of 0.69 to 0.91, and the overall program consistency index of 0.78. After treatment, the experimental group and control group had a statistically significant difference in the pretest and post-test resilience scores. (p < 0.01 and p < 0.05). There were no statistically significant differences in the post-test resilience score between the two groups. However, the changes in resilience scores between the control group and experimental group had a statistically significant difference (p <0.01). The experimental group had pretest and post-test significant differences in academic performance and satisfaction (P <0.01), while the control group had no statistically significant difference. There was a statistically significant difference in the post-test academic satisfaction between both groups. (p < 0.01), while academic performance displayed no statistically significant difference. From the results, it can be summarized that this resilience program through group dynamic can contribute the resilience, academic performance, and academic satisfaction on academic problems.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจโดยใช้พลวัตกลุ่มต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffect of resilience program through group dynamic on academic problems of Matthayom Suksa 1 Students, Chiang Mai University Demonstration Schoolen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นมัธยม -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashกิจกรรมการเรียนการสอน-
thailis.controlvocab.thashพลศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashการฟันฝ่าอุปสรรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ โดย ใช้พลวัตกลุ่มต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 66 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจโดยใช้พลวัตกลุ่มเป็น ระยะเวลา 11สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที จำนวน 33 คน และกลุ่มควบคุมได้รับเอกสาร ให้ความรู้โดยทั่วไปเกี่ยวกับองค์ประกอบความเข้มเข็งทางใจ แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ทางใจและดำเนินชีวิตตามปกติ จำนวน 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินก่อนและหลังการเข้า ร่วมโปรแกรมด้วยแบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม และแบบประเมินความแข็งแกร่งใน ชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มเดียวกันและ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจโดยใช้พลวัตกลุ่มนี้มีค่าดัชนีความ สอดคล้องของโปรแกรมอยู่ระหว่าง 0.69 ถึง 0.91 และมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวมของ โปรแกรมอยู่ที่ 0.78 และพบว่าหลังจากการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความเข้มแข็งทางใจ ในระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจในระยะหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองพบว่า ความเข้มแข็งทางใจระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไร ก็ตามผลการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทคลองมีค่าความแตกต่างของความเข้มแข็งทางใจใน ระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ใน ส่วนของความสามารถและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียน พบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมในระยะก่อนและหลังเข้าร่วม โปรแกรมแตกต่างกัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อทำการเปรียบเทียบ ความสามารถและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่า หลังจากการทดลอง ความสามารถในการทำกิจกรรมระหว่างกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลองไม่มีความ แตกต่างกัน ในขณะที่ความพึงพอใจในการทำกิจกรรมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทคลองมีความ แตกต่างกัน จากข้างต้นสรุปได้ว่า โปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจโดยใช้พลวัตกลุ่มต่อ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถเพิ่มความเข้มแข็งทางใจ ความสามารถและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมต่อปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนได้en_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621131010 ชนากานต์ คำคุณ.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.