Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78889
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorแสงทิวา สุริยงค์-
dc.contributor.authorทับทืมทอง บุญรักษาen_US
dc.date.accessioned2023-09-20T11:33:41Z-
dc.date.available2023-09-20T11:33:41Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78889-
dc.description.abstractThis research study aims to 1) study personal fundamental, economic, and social characteristics of shiitake mushroom farmers in the Royal Project Foundation Area 2) study factors related to the practices of shiitake mushroom farmers in the Royal Project Foundation Area 3) study problems and suggestions towards the shiitake mushroom production to farmers in the Royal Project Foundation Area. The samples of this research are 100 farmers in the Royal Project Foundation Area, namely Teen Tok Royal Project Development Center; Nong Khiaw Royal Project Development Center; Khun Wang Royal Project Development Center; Mok Jam Royal Project Development Center; Huai Pong Royal Project Development Center; and Pa Miang Royal Project Development Center. The samples were calculated by applying Taro Yamane 's formula which the tolerance was 0.03. Statistics used for data analysis were the Descriptive Statistics including frequency, percentage, minimum, maximum, mean, and standard deviation and the Inferential Statistics. The hypothesis was tested in multiple regression analysis by using Enter Regression for input variables. The study shows that 60 percent of the samples reveal their gender in female. Their average of age is 53.44 years old. They have been experienced in shiitake mushroom production in average 8.42 years. Household labors are 2.84 people. The average annual income from selling shiitake mushroom just under 67,515.00 Thai Bath with an average production cost slightly more 34,886.05 Thai Bath per year. There is an average of liability 25,762.40 Thai Bath per year. Moreover, the study founded that most of the sample farmers have joined their group members. They had a high level of knowledge in shiitake mushroom production with an average score of knowledge slightly more 12.53 percent which related to the practices in shiitake mushroom production were high, reaching 66 percent. Overall, the study showed 9 aspects with an average practice of 35.86 points. The results of factors affected to the practices of shiitake mushroom production of farmers in the Royal Project Foundation Area described experience in shiitake mushroom production were the statistically significant positive correlation with the practices in shiitake mushroom production at 0.05 of farmers in the Royal Project Foundation Area. Similarly, there were factors affected to the practices in shiitake mushroom production of farmers in the Royal Project Foundation Area, illustrated that the knowledges in shiitake mushroom production were the statistically significant positive correlation with the practices in shiitake mushroom production at 0.01; and the perceiving information were the statistically significant positive correlation with the practices in shiitake mushroom production at 0.10. Problems and suggestions from farmers who produced shiitake mushroom in the Royal Project Foundation Area claimed that there are scarcities in funding supports, raw materials, tools and equipment, and facilitate machineries to facilitate the process of shiitake mushroom production. Similarly, there was the demand on necessary materials and equipment in handling with water scarcity from natural water sources caused by drought. In addition, farmers suggested that the Royal Project Foundation should increase their purchasing ability on fresh shiitake mushroom as well as required the expert officer to perform a conducting training, a promoting on shiitake mushroom production, and an advising in marketing guidelines for shiitake mushroom products. The suggestions from the research are the Royal Project Foundation and relevant agencies should conduct a comprehensive training workshop on shiitake mushroom production both academic session and practical session. Furthermore, they should transfer knowledge of the advantages in shiitake mushroom production through various channels so that farmers will be able to apply knowledge and practices to their own farms. It is interesting to note that they should encourage model farmers to educate themselves on the accurate production of shiitake mushrooms. Moreover, they should increase sales channels by processing shiitake mushroom products as well as create a new marketing model. In the meanwhile, promotion on a water management system could help farmers has sufficient water for the production of shiitake mushrooms. In addition, farmers should be encouraged to take record in order to achieve the development in shiitake mushroom production. Therefore, it can be concluded that farmers should increase their knowledge, experience, and skills through regular research and finding additional information on shiitake mushroom production along with receiving training course and support from the the Royal Project Foundation personnel who can provide technical advice to farmers consistently and continuously.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleFarmers’ knowledge and practices of shiitake mushroom production in the royal project areaen_US
dc.title.alternativeความรู้และการปฏิบัติด้านการผลิตเห็ดหอมของเกษตรกรในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashมูลนิธิโครงการหลวง-
thailis.controlvocab.thashเห็ดหอม -- การผลิต-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม บางประการของเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง และ 3) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะที่มีต่อการผลิตเห็ดหอมของเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตเห็ดในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงทั้งหมด 6 ศูนย์ฯ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จำนวน 100 ราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยการปรับใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ระดับ 0.03 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) ทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้การวิเคราะห์ ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธีการวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.44 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการผลิตเห็ดหอมเฉลี่ย 8.42 ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.84 ราย มีรายได้จากการจำหน่ายเห็ดหอมเฉลี่ย 67,515.00 บาท/ปี ต้นทุนในการผลิตเห็ดหอมเฉลี่ย 34,886.05 บาท/ปี หนี้สินคงค้างเฉลี่ย 25,762.40 บาท/ปี และเกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตเห็ดหอมจากเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และภาครัฐโดยเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตเห็ดหอมเฉลี่ย 1.13 ครั้ง/ปี และเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรมีระดับความรู้ในการผลิตเห็ดหอมอยู่ในระดับสูงคะแนนเฉลี่ย 12.53 คะแนน และมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตเห็ดหอมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.00 โดยภาพรวมทั้ง 9 ด้านมีการปฏิบัติเฉลี่ย 35.86 คะแนน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติด้านการผลิตเห็ดหอมของเกษตรกรในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง พบว่า ประสบการณ์ในการผลิตเห็ดหอม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติด้านการผลิตเห็ดหอมของเกษตรกรในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรู้ด้านการผลิตเห็ดหอมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติด้านการผลิตเห็ดหอมของเกษตรกรในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตเห็ดหอมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติด้านการผลิตเห็ดหอมของเกษตรกรในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง พบว่า เกษตรกรขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลอำนวยความสะดวก เพื่อช่วยผ่อนแรงในกระบวนการผลิตเห็ดหอม รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อรับมือกับการขาดแคลนน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติจากภัยฤดูแล้ง นอกจากนี้เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้มูลนิธิโครงการหลวงเพิ่มขีดความสามารถในการรับซื้อผลผลิตเห็ดหอมสด ให้เจ้าหน้าที่ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการจัดฝึกอบรม ส่งเสริมวิธีการผลิตเห็ดหอม และแนะนำแนวทางด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เห็ดหอมให้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ มูลนิธิโครงการหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตเห็ดหอมแบบครบวงจร ทั้งด้านวิชาการ ด้านการปฏิบัติ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงข้อดีในการผลิตเห็ดหอมผ่านช่องทางข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้และการปฏิบัติไปปรับใช้กับฟาร์มเห็ดของตนเองได้ ในขณะเดียวกัน ควรผลักดันให้มีเกษตรกรต้นแบบสำหรับให้ความรู้ในการผลิตเห็ดหอมที่ถูกต้อง อีกทั้งควรจัดให้มีการเพิ่มช่องทางการขายด้วยการแปรรูปสินค้า สร้างการตลาดรูปแบบใหม่ และส่งเสริมให้มีระบบการจัดการน้ำที่เพียงพอต่อการผลิตเห็ดหอม นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้เกษตรกรจดบันทึก เพื่อให้เกิดการพัฒนาในการผลิตเห็ดหอม จึงสรุปได้ว่าเกษตรกรควรเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ และทักษะผ่านการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในการผลิตเห็ดหอมอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการได้รับการฝึกอบรม และส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวง ที่สามารถให้คำแนะนำทางวิชาการแก่เกษตรกรได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.