Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78845
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธเนศวร์ เจริญเมือง-
dc.contributor.authorศิริกานดา ใหญ่วงศ์en_US
dc.date.accessioned2023-09-11T00:58:38Z-
dc.date.available2023-09-11T00:58:38Z-
dc.date.issued2566-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78845-
dc.description.abstractThe objective of this study is to examine the power and roles of various government organizations, the overlapping of authorities, responsibilities, and organizations’ management, as well as the impacts and the solution. The study focuses on Mueang Lampang District, Lampang Province, within the jurisdiction of Lampang Municipality and Kelang Nakhon Municipality. The data were collected through interviews with administrative leaders of Lampang Municipality, Kelang Nakhon Municipality, the central government Office of Primary Education Area 1 in Lampang, the Lampang Public Health Regional Office, the Lampang Electricity Authorities, and the Lampang Waterworks Authorities, and data collection from 30 local residents within Lampang Municipality and Kelang Nakhon Municipality. The study found that the overlapping of authorities, roles, and government management in Mueang Lampang District, Lampang Province, within Lampang Municipality and Kelang Nakhon Municipality, can be divided into three categories: central government versus local government, regional government versus local government, and state-owned enterprises versus local government. According to the research, there are three reasons for the overlapping. Firstly, the government has not truly decentralized power; each agency has its own authority, responsibilities, and roles according to regulations and laws for providing similar public services. Secondly, political instability has led to frequent changes in the government, also causing frequent policy changes, confusing the public about the roles and responsibilities of different agencies, for example, central government administration versus local government administration case, regional government versus local government administration case, and state enterprises versus local government issue. Lastly, the majority of the population in Lampang lacks knowledge of political education and local governance. As a result, people are not clear about which government agencies are responsible for specific duties, while the government agencies themselves have not addressed these issues. The outcome of the policy of decentralization and transfer of duties to local administrative organizations, which has mainly been minimal, has allowed the central and regional government offices close and strong control over local government units. The latter, as a result, up until the present is still far from holding autonomy in performing their local work and services to their full potential. The solution is to improve and amend the laws of the central and regional governments, clearly delegate authority and responsibilities to local government officials to avoid duplication, whether it is in the areas of management, personnel administration, or budgeting. The solution will allow the public to recognize the roles and responsibilities of local government officials in the area. The central and regional governments should focus on supervising, overseeing, and supporting local governments as the main role, while promoting citizen participation in self-governance, for example, working together to establish regulations and laws, conducting work inspections, and cooperatively evaluating the performances of the local administrative organization, leading to a comprehensive and highly efficient local governance.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการทับซ้อนของอำนาจหน้าที่และพื้นที่ในการบริหารจัดการเมืองของอำเภอเมืองลำปางen_US
dc.title.alternativeThe Overlapping of the authorities and area in urban management of Mueang Lampang districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาเมือง -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashการบริหารรัฐกิจ -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashอำนาจ (สังคมศาสตร์) -- ลำปาง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจ และบทบาท ของหน่วยงานต่างๆ ลักษณะการทับซ้อนของอำนาจ หน้าที่ และการบริหารของหน่วยงานเหล่านั้น ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น และข้อเสนอแนะต่อแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ศึกษากรณีอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่น เทศบาลนครลำปาง เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ผู้แทนหน่วยงานราชการส่วนกลางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ลำปาง, ผู้แทนราชการส่วนภูมิภาคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง, ผู้แทนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดลำปาง, การประปาส่วนภูมิภาค สาขาลำปาง และเก็บข้อมูลผู้มาใช้บริการในเขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร รวมจำนวน 30 ราย ผลการศึกษาพบว่า การทับซ้อนอำนาจ บทบาท หน้าที่ และพื้นที่การบริหารจัดการเมืองของหน่วยงานราชการต่างๆ ของ อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง ในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่น, ราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกับส่วนท้องถิ่น สาเหตุมี 3 ประการ ประการแรก รัฐบาลไม่ได้กระจายอำนาจอย่างแท้จริง ทุกหน่วยงานมีอำนาจ หน้าที่ และบทบาท ตามระเบียบ และกฎหมาย ในการให้บริการสาธารณะที่มีลักษณะเดียวกัน นั่นคือการทับซ้อนกัน ประการที่สอง การเมืองไม่มั่นคง ขาดเสถียรภาพ รัฐบาลเปลี่ยนบ่อยครั้ง ทำให้นโยบายเปลี่ยนแปลงขาดความต่อเนื่อง ประชาชนเกิดความสับสนเรื่องบทบาท และความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ อาทิ หน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง กับราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค กับราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ กับราชการส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดลำปาง แต่ในขณะเดียวกันเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร กลับมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาระดับเดียวกันในพื้นที่ จึงทำให้เกิดการทับซ้อนการจัดการของทั้งสองฝ่ายในเรื่องเดียวกัน และพื้นที่เดียวกัน ประการ ที่สาม ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาและปกครองท้องถิ่นในภาพรวม ไม่ทราบชัดเจนว่าหน่วยงานราชการใดมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไร ขณะที่หน่วยราชการก็ไม่เคยชี้แจงปัญหาเหล่านี้ ผลของนโยบายการกระจายอำนาจ และการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้มีการถ่ายโอนอำนาจที่แท้จริง แต่ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค แม้กระทั่งโครงสร้างอัตรากำลัง ทำให้ราชการส่วนท้องถิ่นขาดความเป็นอิสระและขาดกำลังด้านต่างๆ ในการบริหารงาน หรือปฏิบัติงานให้เต็มศักยภาพ แนวทางแก้ไขปัญหาคือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค มอบอำนาจหน้าที่ชัดเจน ให้ราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ไม่ว่าจะเป็นด้านบริหารจัดการ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนได้เล็งเห็นบทบาทหน้าที่ราชการส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยให้ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทำหน้าที่กำกับดูแล และสนับสนุนส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เช่น ร่วมกันจัดทำระเบียบกฎหมาย การตรวจสอบการปฏิบัติงาน และร่วมประเมินการปฏิบัติงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพที่สูงสุดแก่ท้องถิ่นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.