Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorจิรายุ อิ่นแก้วen_US
dc.date.accessioned2023-08-27T05:50:44Z-
dc.date.available2023-08-27T05:50:44Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78719-
dc.description.abstractThis study related to the Crime Division of Natural Resources and Environmental police officer. Their mission usually works in the difficulty area. That’s require devoting both physical and mental strength, dedicated intelligence, and specific abilities also the proficiency in the area. The regular of their work is prone to dangers from people, wildlife, and natural disasters. Therefore, it is a job with quite a lot of pressure and may affect the personal quality of life and the quality of work life. However, suitability in quality of work life will result in job satisfaction and better work efficiency. (Kewalin Na nakorn and Phirada Chairatana, 2562. The purpose of this project is to study the level of quality of work life and the commitment to the organization, the correlation between quality of work life and organizational commitment and the personnel expectation that the quality of working life will be raised to a better standard. This study process in quantitative research by collecting data from police officers from the 4th Crime Division of Natural Resources and Environmental police officer with a total of 88 people as informants the questionnaire was used as a tool for collecting data. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and the statistics used to test the hypothesis were multiple regression equations. The result of this study showed that the respondents had the quality of work life was high level (average=2.83) by compensation quite appropriate (average= 2.56). The working environment is quite good (average=2. 88). There are quite a lot of employees' potential development (average=2.83). On the side of colleagues, the atmosphere is quite good (average=2.93). There were quite a lot of personal rights (average= 2.80) and quite a lot of work-life balance (average= 2.72). The organizational commitment was high level (average=3.16) with a mental connection solidarity with the organization at the high level (average=3.31), organizational loyalty (average= 2.93) and the norms and organizational participation were quite high (average=3.23). The relationship between organizational commitment and quality of work life affects organizational commitment at 70.00 percent and from the test it was found that factors related to the quality of work life that affects the organizational commitment with a statistical significance of 0.05 in all 4 aspects, including the compensation factor (B= 0.164, Sig. = 0.013), working environment (B= 0.193, Sig. = 0.031), colleagues (B= 0.397, Sig. = 0.000), and social relationship (B= 0.513, Sig. = 0.000). The expectation to raise the standard of working life quality was found that in terms of building progress and stability in working life, there was an expectation of raising the level as the first. And in terms of employment conditions, expectation to be raised as the last.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของตำรวจป่าไม้ กองกำกับการ 4 ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือen_US
dc.title.alternativeQuality of work life and organizational commitment of general staff in 4th division of natural resources and environmental crime suppression division cover an area of 17 northern provincesen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิตการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashความผูกพันต่อองค์การ-
thailis.controlvocab.thashตำรวจป่าไม้-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ตำรวจป่าไม้ ที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความยากลำบาก ต้องทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจ ทุ่มเทสติปัญญา และความสามารถเฉพาะทาง มีความชำนาญในพื้นที่ ลักษณะงานมีความเสี่ยงภัยอันตรายทั้งจากคน สัตว์ป่า และภัยธรรมชาติ จึงเป็นงาน ที่มีความกดดันค่อนข้างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตส่วนตัวและคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจป่าไม้ได้ การมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานย่อมส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานและประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น (เกวลิน ณ นคร และ ภิรดา ชัยรัตน์, 2562) การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพัน ต่อองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ และความคาดหวังให้มีการยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองกำกับการ 4 ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (กก.4 บก.ปทส. หรือ ตำรวจป่าไม้) ที่มีทั้งหมดจำนวน 88 คนเป็นผู้ให้ข้อมูล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตในการทำงานของตำรวจป่าไม้ กองกำกับการ 4 ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย =2.83) โดยด้านค่าตอบแทน เหมาะสมค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.56) ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานค่อนข้างดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 2. 88) ด้านการพัฒนาศักยภาพของพนักงานมีค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย =2.83) ด้านเพื่อนร่วมงานมีบรรยากาศค่อนข้างดี (ค่าเฉลี่ย =2.93) ด้านสิทธิส่วนบุคคลมีค่อนข้างมาก(ค่าเฉลี่ย = 2.80) และ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานมีค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.72) ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมพบว่า มีค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย =3.16) โดยมีความผูกพันด้านจิตใจ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.31) ด้านการคงอยู่และความจงรักภักดีต่อองค์การมีค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย= 2.93) และ ด้านบรรทัดฐานและการมีส่วนร่วมในองค์การมีค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย =3.23) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานคุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 70.00 และจากการทดสอบพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของ ตำรวจป่าไม้ กองกำกับการ 4 ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านค่าตอบแทน (B = 0.164, Sig. = 0.013) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน (B = 0.193, Sig. = 0.031) ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงาน (B = 0.397, Sig. = 0.000) และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ ทางสังคม (B = 0.513, Sig. = 0.000) และ 4. ความคาดหวังให้ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตในการทำงาน พบว่าด้านการสร้างความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงในชีวิตการทำงานมีความคาดหวังให้มีการยกระดับเป็นลำดับแรกและด้านสภาพการจ้างงานความคาดหวังให้มีการยกระดับ เป็นลำดับสุดท้ายen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641932021 นายจิรายุ อิ่นแก้ว .pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.