Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78630
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสร้อยสุดา วิทยากร-
dc.contributor.authorสุกัญญา ชะวาเขตรen_US
dc.date.accessioned2023-08-09T00:40:25Z-
dc.date.available2023-08-09T00:40:25Z-
dc.date.issued2022-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78630-
dc.description.abstractThe objectives were: 1) to study the abilities to write the Thai consonants among child with multiple disabilities in primary school, before and after using the functional activity-based learning package 2) to compare the ability scores to write the basic line of Thai consonants, before and after using the functional activity-based learning package 3) to study the ability to use the arms and hands among child with multiple disabilities in primary school. The case study, selected by purposive sampling, was an 8 years old, male, with multiple disabilities: autism and hearing impairment (hard of hearing), studying in grade 2 at special education school for children with disabilities. The instruments that were used in this research included 1) an assessment form for wrote abilities of basic Thai consonants, before and after using the functional activity-based learning package. 2) the functional activity-based learning package 3) Individual Implementation Plans (IIP) that consists of a planting activity, a watering plant activity and an activity to make a Thai dessert called Bualoy 3) an observation form on the abilities of used arms and hands while using the functional activity-based learning package. The researcher used the functional activity-based learning package as the base of 3 activities per week, 18 sessions over a period of 6 weeks. The data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation and descriptive analysis. The results showed that the ability scores to write the 13 basic lines of Thai consonants after using the functional activity-based learning package was 32 points (good). The difference in scores on the ability to write 13 basic lines of Thai consonants from before to after using the functional activity-based learning package that was 16 points or 30.77 %. Found a down line, an up line, a parallel line, and a curved line: was drawn continuously without raising the arms and hands throughout the line, starting to draw a line from the beginning to the end at exactly the point, draw a line less than 2 mm. outside the dotted line, the line is entirely within the frame, slightly curved corners are notched, the line weight is consistent throughout the line. The circle draws a line more than 2 mm. outside the dotted line, the circumference converges, no jagged lines were found. The mean abilities of arms and hands in all 5 areas after using the functional activity-based learning package was 3.09, standard deviation 0.09 (good). The video that were recorded to observe the behaviors for 6 weeks, found a change in the use of arms and hands from the 4th time onwards. He showed a good core stability and fixation of the shoulder joint at work free movement of the forearm, and was able to touch objects without avoidance or was a simple facial expression, move both arms across the body midline and switched objects in the between hand automatically, and to reach, grasp, hold, bring, release objects fluently and good hand manipulation skill. There was an automatic adjustment of the pencil holding position from the center of the pencil to the sharp end of the pencil. Characteristics of holding a pencil with 3 fingers, using the thumb together with the index finger and middle finger, with the middle finger supporting the pencil, and the ring finger bent the little finger is the base of the wrist on the paper. However, it was noted that no movement of the thumb, index finger, middle finger while holding a pencil to draw a line called Dynamic Tripod Grasp, resulting in poor hand control in drawing curves or circles.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนเส้นพื้นฐานสำหรับเด็กพิการซ้อนระดับประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeUsage of the functional activity - based learning package to improve basic line writing ability of a child with multiple disabilities in primary Schoolen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเด็กพิการ - - การศึกษา-
thailis.controlvocab.thashเด็กพิการ - - การศึกษาขั้นประถม-
thailis.controlvocab.thashเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา -- การศึกษาขั้นประถม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถการเขียนเส้นพื้นฐานพยัญชนะไทยสำหรับเด็กพิการซ้อนระดับประถมศึกษา ก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน ความสามารถด้านการเขียนเส้นพื้นฐานพยัญชนะไทย ก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน 3) ศึกษาความสามารถการใช้แขนและมือสำหรับเด็ก พิการซ้อนระดับประถมศึกษา กรณีศึกษาคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้เรียนพิการซ้อนประเภทบุคคลออทิสติกและบกพร่องทางการ ได้ยิน (หูตึง) เพศชาย อายุ 8 ปี ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเฉพาะความพิการ เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถการเขียนเส้นพื้นฐานพยัญชนะไทยก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน 2) ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน ประกอบด้วยแผนการสอนเฉพาะบุคคลจำนวน 3 แผน คือ กิจกรรมเพาะกล้าไม้หลากหลายผิวสัมผัส กิจกรรมกำลังมือแข็งแรงด้วยการรดน้ำกล้าไม้และกิจกรรมสองมือคล่องแคล่วด้วยการปั้นขนมบัวลอย 3) แบบสังเกตความสามารถการใช้แขนและมือขณะใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน ผู้วิจัยดำเนินการใช้ชุดกิจกรรมการทำงานเป็นฐานสัปดาห์ละ 3 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความสามารถการเขียนเส้นพื้นฐานพยัญชนะไทยทั้ง 13 เส้นหลังใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน 32 คะแนน คุณภาพระดับดี และผลต่างคะแนนความสามารถการเขียนเส้นพื้นฐานพยัญชนะไทย 13 เส้น ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการทำงานเป็นฐาน 16 คะแนน ร้อยละ 30.77 พบเส้นขีดลง เส้นขีดขึ้น เส้นขนาน และเส้นโค้ง มีการลากเส้นต่อเนื่องโดยไม่มีการยกแขนและมือตลอดทั้งเส้น โดยมีการเริ่มลากเส้นจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุดได้ตรงจุดพอดี ลากเส้นออกนอกรอยประน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร เส้นอยู่ในกรอบทั้งหมด มีรอยหยักแบบมุมโค้งเล็กน้อย น้ำหนักเส้นมีความสม่ำเสมอตลอดเส้น ในส่วนเส้นวงกลม ลากเส้นออกนอกรอยประมากกว่า 2 มิลลิเมตร เส้นรอบวงบรรจบกัน ไม่พบรอยหยักของเส้น ค่าเฉลี่ยความสามารถการใช้แขนและมือทั้ง 5 ด้าน หลังใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการทำงานเป็นฐานรวม 3 กิจกรรม เท่ากับ 3.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.09 คุณภาพ ระดับดี และจากการบันทึกวีดิทัศน์สังเกตพฤติกรรมเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบการเปลี่ยนแปลงความสามารถการใช้แขนและมือในครั้งที่ 4 เป็นต้นไป กล่าวคือกรณีศึกษามีความมั่นคงของลำตัวและการตรึงของข้อไหล่ในการทำกิจกรรม เคลื่อนไหวแขนส่วนปลายได้อย่างอิสระ แสดงสีหน้าเรียบเฉย ไม่หลีกหนี หรือสะบัดมือออกเมื่อสัมผัสวัตถุหลากหลายสัมผัส เคลื่อนไหวแขนข้ามแนวกลางลำตัวและสับเปลี่ยนวัตถุในมือทั้งสองข้างได้อย่างอัดโนมัติ มีการใช้มือและนิ้วมือในการเอื้อม หยิบ กำ นำพาปล่อย ได้อย่างคล่องแคล่ว อีกทั้งความสามารถการจัดการวัตถุภายในมือได้เป็นอย่างดี กล่าวคือในการจับดินสอมีการปรับเลื่อนตำแหน่งในการจับดินสอจากตรงกลางดินสอไปยังปลายแหลมของดินสอได้โดยอัตโนมัติ ลักษณะการจับดินสอเขียนด้วย 3 นิ้ว คือ ใช้นิ้วหัวแม่มือร่วมกับ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง โดยนิ้วกลางเป็นตัวรองรับดินสอ และมีการงอนิ้วนาง นิ้วก้อยเป็นฐานประคองข้อมือบนกระดาษ แต่มีข้อสังเกตคือไม่พบการขยับของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ขณะจับดินสอลากเส้น ที่เรียกว่า Dynamic Tripod Grasp ส่งผลให้การควบคุมมือในการลากเส้นลักษณะโค้งหรือวงกลมไม่ได้ดีมากen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610232057 สุกัญญา ชะวาเขตร.pdf15.68 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.