Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล เศรษฐบุตร-
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorพรสิริ สืบพงษ์สังข์-
dc.contributor.authorอุทัยวรรณ คำผงen_US
dc.date.accessioned2023-07-24T01:10:34Z-
dc.date.available2023-07-24T01:10:34Z-
dc.date.issued2022-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78571-
dc.description.abstractThe objective of this research is to study: (1) basic personal, economic and social factors of participant farmers in the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province; (2) farmers’ satisfaction towards the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province; (3) problems experienced by participant farmers regarding the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province; (4) factors related to farmers’ satisfaction towards the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province. The sample for this research consists of 90 participant farmers of the Credit Support Project to Delay Garlic Sales, production year 2017/2018, in Muang District, Mae Hong Son Province. Yamane's sampling formula is used with a 95% confidence level. Data is collected using structured interview schedule with an alpha of 0.956. Data is analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, minimum, maximum, average, standard division and inferential statistics. Hypotheses are tested using multiple regression analysis. The study indicates that (1) most of the farmers are female, aged 51-60 years old, primary educated, of married status, customers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, members of a four-person household, two of which are employed, and have garlic cultivation experience of 35 - 44 years. The majority own land with an area of 3 - 8 rai, produce an annual garlic yield of 5,001-15000kg, have an agricultural income of 100,001 - 200,000 baht, and use funding from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives for reinvestment into agriculture. They receive project news from relatives/friends and are able to repay loans provided by the project in full within the specified period, although the purpose and conditions of the project remain unclear to many. (2) Farmers’ satisfaction towards the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province is of a high level. Considering sub-issues, satisfaction is expressed towards the project registration process for garlic farmers by the Office of Agriculture, Muang District, Mae Hong Son Province, application process for the Credit Support Project to Delay Garlic Sales by the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, and policy. (3) Problems experienced by participant farmers in the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province are of a medium level. Considering subissues, farmers expressed problems regarding determining repayment schedules, loan amounts being too small and therefore insufficient to meet the requirements of farmers, and high loan interest rates. (4) Factors affecting farmers’ satisfaction towards the Credit Support Project to Delay Garlic Sales in Muang District, Mae Hong Son Province include age, education level, farmer institute membership, garlic planting experience, farming funding, and understanding of the project. Research findings indicate that the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives should disseminate knowledge and understanding about the project to farmers, in order to increase satisfaction with the project, and should promote public relations to improve farmers' understanding of the project, such as through preparation of documents and pamphlets, social media, allowing bank officials to meet farmers, etc.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียมในอำเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeFarmers’ satisfaction with the loan schemeto prolong garlic period in Muang District, Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashกระเทียม - - แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร - - แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashสินเชื่อทางการเกษตร - - แม่ฮ่องสอน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) ศึกษาปัญหาของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 4) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ปีการผลิต 2560/2561 ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 90 ราย โดยใช้สูตรการสุ่มตัวอย่างของYamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.956 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง เพื่อทดสอบสมมติฐาน คือ การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 51-60 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส เป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 4 คน มีแรงงานในครัวเรือนจำนวน 2 คน มีประสบการณ์ในการปลูกกระเทียม 35-44 ปี มีพื้นที่ของตนเอง 3-8 ไร่ มีปริมาณผลผลิตกระเทียม 5,001-15,000 กิโลกรัม มีรายได้ในภาคการเกษตร 100,001-200,000 บาท ใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใช้ในการลงทุนด้านการเกษตร รับรู้ข่าวสารของโครงการจากญาติ/พี่น้อง สามารถคืนเงินกู้จากโครงการได้ทั้งหมดตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ และทราบเงื่อนไขของโครงการ 2) ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาประเด็นย่อย พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจ ด้านการดำเนินงาน โดยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รองลงมา ด้านการดำเนินงานโดยการดำเนินการรับสมัครเข้าร่วม โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และด้านนโยบาย 3) ปัญหาของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาประเด็นย่อยพบว่า เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับ ปัญหากำหนดระยะเวลาชำระคืน รองลงมา ปัญหาวงเงินกู้น้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร และปัญหาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ปัจจัยด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านการเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ด้านประสบการณ์ในการปลูกกระเทียม ด้านแหล่งเงินทุนที่ใช้ทำการเกษตร และด้านความเข้าใจต่อโครงการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการจำหน่ายกระเทียม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อค้นพบจากงานวิจัย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโครงการมากขึ้นและควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบวัตถุประสงค์โครงการมากขึ้น เช่น การจัดทำเอกสารและแผ่นพับ การจัดทำสื่อโซเชียล การให้เจ้าหน้าที่ธนาคารออกพบเกษตรกร เป็นต้นen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600832022 อุทัยวรรณ คำผง.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.