Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78482
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรพงศ์ ตระการศิรินนท์-
dc.contributor.authorสโรชรัศมิ์ สงวนสัตย์en_US
dc.date.accessioned2023-07-14T00:54:08Z-
dc.date.available2023-07-14T00:54:08Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78482-
dc.description.abstractThe purpose of this research was to study the integrated budgeting process under the area-based strategy and to explore how good governance was applied in the process where Chiang Mai Province was used as a case study. This research used qualitative research method by studying Chiang Mai’s budgeting documents between fiscal year 2018-2022 and an in-depth interview with 13 experts, academics and personnel related to the integrated budgeting preparation under the area-based strategy of Chiang Mai province. The study found Chiang Mai province has implemented the integrated budgeting preparation under the area-based strategy according to the Royal Decree on Integrated Provincial and Cluster Administration B.E. 2551 and the Regulations of the Office of the Prime Minister on Administration Integrated spatial work B.E. 2560 by making a five-year development plan and an annual action plan which must be prepared in accordance with the rules, criteria, policies set by the Provincial and Integrated Provincial Administration Policy Committee and the Regional Development Policy Integration Committee. About the implementation of good governance in the process of the integrated budgeting preparation under the area-based strategy, this study found rule of law, transparency, participation and value were applied but the citizen participation was lacking as it is moving towards a higher level of civic empowerment where citizens are more involved in decision-making and creates a sense of shared ownership as well as being an incentive for the country to move forward steadily and sustainably.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectธรรมาภิบาล งบประมาณ เชิงบูรณาการ เชิงยุทธศาสตร์ เชิงยุทธศาสตร์en_US
dc.titleธรรมาภิบาลการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGood governance of integrated budgeting preparation under area-based strategy, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashธรรมรัฐ-
thailis.controlvocab.thashธรรมรัฐ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashงบประมาณ -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยเรื่อง ธรรมาภิบาลการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยศึกษาจากเอกสารงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2561–2565 ของจังหวัดเชียงใหม่ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จำนวน 13 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 โดยจัดทำเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีซึ่งจะต้องจัดทำตามระเบียบ หลักเกณฑ์ นโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) และคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) ในส่วนของการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ที่ในงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า มีการใช้หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า แต่ยังขาดการมีส่วนร่วมจากภาคพลเมืองในกระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการในมิติเชิงยุทธศาสตร์ยังคงอยู่ระหว่างการมุ่งหน้าไปสู่ระดับชั้นที่สูงขึ้นไปอันจะทำให้เกิดพลังภาคพลเมืองซึ่งเป็นจุดที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกของการเป็นเจ้าของร่วม รวมทั้งเป็นแรงจูงใจที่จะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงยั่งยืนen_US
Appears in Collections:POL: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601931002-สโรชรัศมิ์ สงวนสัตย์.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.