Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุจฤดี ชินวงศ์-
dc.contributor.advisorนราวดี เนียมหุ่น-
dc.contributor.authorยุทธพงศ์ สุวรรณพงศ์en_US
dc.date.accessioned2023-07-10T01:03:56Z-
dc.date.available2023-07-10T01:03:56Z-
dc.date.issued2021-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78410-
dc.description.abstractThis study aimed to develop and evaluate the management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy at Nan hospital. The study consisted of 3 phases. Phase 1 was a descriptive study aimed to study the prevalence of febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy at Nan hospital from August to October 2019. After that the action research was done to develop the management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy. A focus group discussion was conducted with a healthcare team in May 2020. Phase II was the 2-week run-in period of the management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy. Finally, phase III was a quasiexperimental research method to evaluate the management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy at Nan hospital during August to October 2019 and June to August 2020. The samples were solid tumor patients receiving chemotherapy before (from August to October 2019) and after (from June to August 2020) implementing the management protocol of febrile neutropenia. The prevalence of febrile neutropenia in these patients was compared between the two periods using the Fisher’s exact test with a significant level of less than 0.050. For phase I, the revalence of febrile neutropenia was 3.2% in a 3-month period (3 febrile neutropenia of 94 solid tumor patients). A focus group discussion with a healthcare team (four physicians, two pharmacists and two nurses) on 3 April 2021 at chemotherapy, Nan hospital, resulted in developing a management protocol of febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy at Nan hospital. This management protocol included three processes: 1) risk assessment of febrile neutropenia in patients with absolute neutrophil count (ANC) less than 1,500 cell/mm3 for at least two times; 2) prevention of febrile neutropenia by providing granulocyte colony stimulating factor (G-CSF) to patients with ANC less than 1,500 cell/mm3 for at least two times; and 3) monitoring febrile neutropenia in the hospital in conjunction with prescribing G-CSF to patients with ANC lower than 500 cell/mm3. For phase II, the health care team adopted the management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy. For phase III, after implementing the management protocol for 3 months, the prevalence of febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy decreased from 3.2% (3 febrile neutropenia of 94 solid tumor patients) to 0.9% (1 febrile neutropenia of 104 solid tumor patients). However, it was not a significant difference (P = 0.338). In conclusion, the health care team's management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy reduced the prevalence of febrile neutropenia, but the reduction was not significant. As a result, a review of this management technique is still required to make it more effective.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาและประเมินผลของแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่านen_US
dc.title.alternativeDevelopment and evaluation of a management protocol for febrile neutropenia in solid tumor patients receiving chemotherapy at Nan Hospitalen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- ภาวะแทรกซ้อน-
thailis.controlvocab.thashนิวโทรฟิล-
thailis.controlvocab.thashเม็ดเลือดขาว-
thailis.controlvocab.thashภาวะนิวโทรฟิลต่ำ-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- เคมีบำบัด-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- น่าน-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลน่าน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อหาความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัดโรงพยาบาลน่าน ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดโดยใช้การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในหน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน 2) การนำแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟีลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดไปทดลองใช้ในหน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ 3) การศึกษาแบบกึ่งทดลองเพื่อประเมินผลแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวบิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน ก่อนการพัฒนาช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 และหลังการพัฒนาช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม พ.ศ.2563 เปรียบเทียบความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในช่วงระยะ 3 เดือน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Fisher 's exact กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.050 ผลการศึกษาระยะที่ 1 จากผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนทั้งหมด 94 ราย เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ 3 ราย ความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในช่วงระยะเวลา 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 3.2 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การสนทนากลุ่มในทีมสหวิชาชีพที่กี่ยวข้องประกอบด้วย แพทย์ จำนวน 4 คน เภสัชกร จำนวน 2 คน และพยาบาล จำนวน 2 คน ในวันที่ 3 เดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ณ หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน ได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อนำมาใช้ในหน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน ประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ 1) การประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยที่มีระดับ ANC น้อยกว่า 1,500 เซลล์ต่อลูกบาศก็มิลลิลิตรตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป 2) การป้องกันการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้โดยให้ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว หรือ Granulocyte colony stimulating factor (G-CSF) ในผู้ป่วยที่ระดับ ANC น้อยกว่า 1,500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตรตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และ 3) การเฝ้าระวังการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้เชิงรุกในโรงพชาบาลร่วมกับให้ยา G-CSF ในผู้ป่วยที่มีระดับ ANC น้อยกว่า 500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ผลการศึกษาระยะที่ 2 สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้ทดลองใช้แนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผลการศึกษาระยะที่ 3 หลังการพัฒนา พบว่าความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดช่วงระยะเวลา 3 เดือน ลดลงจากร้อยละ 3.2 (เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ 3 รายจากผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดทั้งหมด 94 ราย) เป็นร้อยละ 0.9 (เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ 1 รายจากผู้ป่ายมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดทั้งหมด 104 ราย) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.338) สรุปได้ว่า การพัฒนาแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนมาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลน่าน ช่วยลดการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ลงได้แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรมีการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแนวทางการจัดการภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดให้มีความเหมาะสมต่อไปen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611031010 ยุทธพงศ์ สุวรรณพงศ์.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.