Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChayan Vaddhanaphuti-
dc.contributor.advisorYos Santasombat-
dc.contributor.advisorOscar Salemink-
dc.contributor.authorPimnara Chanornen_US
dc.date.accessioned2023-07-10T00:58:13Z-
dc.date.available2023-07-10T00:58:13Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78409-
dc.description.abstractThis dissertation delves into the revival of traditional hand-woven cotton textiles dyed with indigo in Sakon Nakhon Province, located in the northeast of Thailand. The revival of the indigo economy is occurring through the “commoditization processes.” In the context of economic engagement with the global free market, various actors, such as the state, local stakeholders, and institutions, are adapting their roles to accommodate the commoditization processes associated with indigo-dyed textiles, the primary local commodity. This research problematizes this recent surge of indigo-dyed textile commoditization, how a local commoditization of a cultural commodity transits the local setting to a base of production of culture, and how it asserts the local cultures to the global cultural landscape. This research draws upon six years of extensive ethnographic fieldwork conducted between 2010 and 2015. This research employed a longitudinal multi-sited ethnographic approach. The main research site encompasses Sakhon Nakhon province, 15 production-based villages, with Ban Tham Tao serving as an iconic case. Moreover, the research also focused on traders and entrepreneurs involved in the indigo-dyed textile commodity chains within and beyond the province, including permanent and occasional marketplaces. Additionally, the life cycle of two commodities, namely denim indigo fabric, and golfer outfits, were meticulously traced. Finally, in 2020, the research was revisited to provide a contemporary perspective on situations. The research findings are organized into two analytical themes: rural transformation and the circulation of cultural commodities. These themes elucidate the intricate processes underlying the commoditization of a local cultural commodity in the context of the global era. The first theme explores the phenomenon of rural transformation, which happens during the production process and the creation of economic value. Indigo-dyed textiles, rooted in the labor of rural communities, experience significant shifts when external markets come into play, compelling communities to enhance their production capabilities. Consequently, indigo-dyed textile production assumes a crucial role in the local economy, supplanting agricultural activities. To meet the increased demand, production processes have transitioned from being executed by a single artisan to the specialization of labor. Each artisan now focuses on a specific task that aligns with their skill. Weaving, considered less skill-intensive, is entrusted to laborers from neighboring communities. Furthermore, the emergence of indigo entrepreneurs represents a significant factor influencing the structure of the rural economy. Individuals within and outside production-based communities, possessing greater capital, knowledge, connections, or opportunities, transform themselves into entrepreneurs. These entrepreneurs substantially augment their social and economic roles, including active participation in local development projects. The second theme revolves around the circulation of cultural commodities, entailing the exchange of commodities and the cultural articulation between producers, entrepreneurs, and consumers. Throughout this circulation process, people construct cultural and symbolic meanings inscribing for the commodities, acting as mediators. The local government of Sakon Nakhon recognized the significance of indigo-dyed textiles as a local commodity and emblem of identity. As a result, local actors produce and construct their articulated local identity by adopting global formats to approve the universal quality of locality. Notably, the mediation of cultural and economic circulations also occurs in the branding processes employed by indigo entrepreneurs. These entrepreneurs establish brand identities and narratives that present local identities. Local communities employ global forms as a strategic tool to standardize and gain acceptance of their local products in the realm of global consumption. This research argues that the global forces, networks of connection, and transcultural exchange act as pathways that enable local communities to respond actively to global dynamics rather than passively being merely impacted by them. These communities adapt their production methods, focusing on the creation of this particular commodity and engaging neighboring villages for agricultural labor. Individuals possessing diverse forms of capital undergo a transformation, becoming entrepreneurs and driving the local economy forward. Indigo-dyed textiles serve as a mediator, connecting people throughout their social lives through the exchange of commodities and cultural articulation that span local, national and global levels. Furthermore, these local individuals adopt global approaches, such as branding and beauty pageants, to validate the universal qualities of their products. In conclusion, the deliberate commodification of indigo-dyed textiles empowers local artisans to create a space for themselves within both the global cultural and economic spheres. Importantly, the process of commoditization introduces an element of heterogenization from the local culture into the global tapestry, enriching the world’s collective diversity.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleIndigo-dyed textile: the circulation of cultural commodities and the transformation of rural society in Sakon Nakhon, Thailanden_US
dc.title.alternativeผ้าย้อมคราม: การโคจรของสินค้าวัฒนธรรมและการเปลี่ยนผ่านของสังคม ชนบทในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshTextile fabrics -- Dyes and dyeing-
thailis.controlvocab.lcshTextile fabrics -- Sakon Nakhon-
thailis.controlvocab.lcshColor in textile crafts-
thailis.controlvocab.lcshIndigo-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวิจัยถึงการฟื้นฟูผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามในจังหวัดสกลนคร ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การรื้อฟื้นการย้อมครามและการทอผ้าย้อมคราม เกิดขึ้นผ่าน “กระบวนการทำให้เป็นสินค้า” ในบริบทของการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับตลาดเสรีโลก ตัวแสดงต่างๆ อาทิ รัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น และสถาบันต่างๆ ต่างปรับบทบาทของตนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่ายผ้าทอและผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมคราม ซึ่งถือเป็นสินค้าหลักที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่น งานวิจัยนี้ได้ตั้งประเด็นปัญหาถึง การขยายตัวของเศรษฐกิจของผ้าย้อมครามในท้องถิ่น โดยมีการเชื่อมโยงสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกปประเทศ ว่าเป็นกระบวนการทำวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กลายเป็นสินค้าระดับสากล สามารถส่งผ่านอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโลกได้อย่างไร จากการทำงานภาคสนามเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นเวลา 6 ปี ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงต่างๆ ระหว่างปี พ.ศ.2553 ถึงปี พ.ศ.2558 งานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบหลายพื้นที่ในระยะยาว พื้นที่วิจัยหลักครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยมีบ้านถ้ำเต่าเป็นกรณีตัวอย่างชุมชนที่เป็นฐานการผลิตผ้าย้อมคราม แล้วเชื่อมโยงไปยังหมู่บ้านฐานการผลิตอีก 14 แห่ง นอกจากนี้งานวิจัยยังมุ่งเน้นไปที่ผู้ค้าและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่สินค้าของผ้าย้อมคราม ทั้งภายในและนอกจังหวัด รวมถึงตลาดทั้งที่เป็นตลาดถาวรและตลาดชั่วคราว นอกจากนี้ยังได้เก็บข้อมูลโดยการติดตามวงจรชีวิตของสินค้า 2 ชนิด ได้แก่ ผ้ายีนส์ย้อมคราม และชุดนักกอล์ฟ สุดท้ายในปี พ.ศ.2563 ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาทบทวนอีกครั้งเพื่อให้สามารถนำเสนอมุมมองที่ทันสมัย ผลการวิจัยแบ่งออกเป็นสองประเด็นหลัก ตามสองแนวคิดที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แนวคิดการเปลี่ยนผ่านของสังคมชนบทและการหมุนเวียนของสินค้าทางวัฒนธรรม ประเด็นเหล่านี้ ได้อธิบายกระบวนการอันซับซ้อน ที่แฝงอยู่ในกระบวนการทำวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กลายเป็นสินค้าในบริบทยุคโลกาภิวัตน์ ประเด็นแรกสำรวจปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านของสังคมชนบทที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตและการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เมื่อผ้าย้อมครามมีรากฐานการผลิตจากชุมชนในชนบท ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อตลาดภายนอกเข้ามามีบทบาทและกระตุ้นให้ชุมชนได้เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ด้วยเหตุนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ชุมชนผู้ผลิตผ้าย้อมครามได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต จากการดำเนินการโดยช่างฝีมือคนเดียวไปสู่การใช้แรงงานเฉพาะทาง ช่างฝีมือแต่ละคนมุ่งเน้นไปทำงานเฉพาะที่สอดคล้องกับทักษะของตนเอง นอกจากนั้นอุตสาหกรรมการผลิตผ้าย้อมคราม ยังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยเข้ามาแทนที่กิจกรรมการเกษตร ชุมชนผู้ผลิตหลักอย่างบ้านถ้ำเต่าจะจ้างแรงงานจากชุมชนรายรอบมาทำการเกษตรแทนตนเอง รวมทั้งจ้างแรงงานในขั้นตอนของการทอผ้าด้วย เนื่องจากการทอผ้าถือเป็นขั้นตอนที่ใช้ทักษะน้อย นอกจากนี้การขยายตัวของจำนวนผู้ประกอบการผ้าย้อมคราม ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อ การส่งเสริมและปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจในชนบทของจังหวัด ประเด็นที่สองเกี่ยวข้องกับการโคจรของสินค้าทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ตลอดกระบวนการหมุนเวียนนี้ ผู้คนได้สร้างความหมายทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ที่ผนึกไว้กับสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง หน่วยงานในท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจผ้าย้อมคราม ทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค และส่งเสริมให้ผ้าย้อมครามเป็นสินค้าประจำท้องถิ่นและเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด ส่งผลให้ผู้กระทำการต่างๆ ในท้องถิ่นได้ผลิตและบริโภคผ้าย้อมครามอย่างกว้างขวาง เสริมสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนี้ให้ชัดเจนขึ้น โดยได้นำรูปแบบที่มีความเป็นสากลมารับรองคุณภาพของสินค้าของท้องถิ่น เช่น การประกวดธิดาผ้าคราม และการจัดทำหลักสูตรวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้การผลิตผ้าย้อมคราม เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสร้าง แบรนด์ที่ผู้ประกอบการค้าผ้าย้อมครามนำมาใช้ สามารถสร้างการไหลเวียนทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการเหล่านี้ ได้สร้างเอกลักษณ์ของ แบรนด์และประดิษฐ์เรื่องเล่าเข้ามาช่วยนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่น นับเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ชุมชนท้องถิ่นนำมาใช้ เพื่อรับรองมาตรฐานและเพื่อให้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นของตน ได้การยอมรับจากพื้นที่ของการบริโภคในระดับโลก งานวิจัยนี้นำเสนอข้อถกเถียงว่า กระแสโลก เครือข่ายความเชื่อมโยง และการแลกเปลี่ยนสินค้าข้ามวัฒนธรรม ได้ทำหน้าที่เป็นเส้นทางช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถตอบสนองต่อพลวัตของกระแสโลกอย่างแข็งขัน แทนที่จะต้องรับผลกระทบจากกระแสโลกเพียงอย่างเดียว ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของชุมชนเป็นการแบ่งงานกันทำตามขั้นตอนการผลิต และหันมาผลิตผ้าย้อมครามเป็นหลัก และจ้างแรงงานจากหมู่บ้านข้างเคียงมาทำการเกษตรแทน คนที่มีทุนทั้งในด้านทุนทางวัฒนธรรมความรู้เกี่ยวกับการผลิตและแปรรูปผ้าย้อมคราม ทุนในรูปของเครือข่ายทางสังคมและธุรกิจ และทุนด้านการเงิน ผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการและเป็นแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของท้องถิ่น นอกจากนั้นผ้าย้อมครามทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงผู้คนตลอดช่วงชีวิตทางสังคมของสินค้า โดยคนท้องถิ่นได้นำรูปแบบที่เป็นสากล เช่น การสร้างแบรนด์ การประกวดนางงาม มายกระดับสินค้าท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นถูกส่งผ่านการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า นอกจากนั้นยังเป็นการการแสดงออกทางวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นให้ปรากฏในระดับชาติและระดับโลก โดยสรุปแล้ว การทำให้ผ้าย้อมครามให้กลายเป็นสินค้า ช่วยให้ช่างฝีมือและผู้ประกอบการท้องถิ่นได้สร้างพื้นที่ของตนเองทั้งในแวดวงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจโลก สุดท้ายสิ่งสำคัญคือ กระบวนการทำวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นสินค้าได้สร้างความหลากหลายส่วนรวมของวัฒนธรรมในระดับโลกen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590455906_Pimnara Chanorn.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.