Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78380
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorศุภกร ฝั้นคำอ้ายen_US
dc.date.accessioned2023-07-09T04:41:05Z-
dc.date.available2023-07-09T04:41:05Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78380-
dc.description.abstractThe purpose of this study was to analyze the utilization process, decision making, and the results in tacking poverty and reducing inequality from the Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP). The TPMAP was deployed to reduce poverty on 5 demographic groups in the area of Mae Moh District, Lampang Province. The researcher used a qualitative research study and employed secondary data from relevant documents along with data from interviews with key informants, district administrators, and other officers. The study found that the TPMAP is a large government database that could be utilized in the classification of poverty and detailing target groups. The TPMAP cataloged poverty into 5 groups as follows: educational, healthcare, living, access of public service, and income. District executives and staff would be able to utilize information in the TPMAP in order to solve problems related to poverty with a framework that consists of 7 steps: 1) Defining the problem, 2) Identifying limiting factors, 3) Developing potential alternatives, 4) Analyzing the alternatives, 5) Selecting the best alternative, 6) Implementing the decision, and 7) Establishing a control and evaluation system. The results of the implementation can alleviate poverty and inequality in all households of the poverty target groups that appeared in the TPMAP. The study recommends that governments should provide a single platform (single window) and link the database to related institutions (big data). Budget should also be allocated in agenda groups in order to reduce duplication in data collection. Furthermore, use of data should also consider the authority of the local districts in solving problems, e.g. land rights. Flexibility in problem solving is key to forwarding long-term policies and to retain their tangibility. Keyword: Thai People Map and Analytics Platform/5 groups of Povertyen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า /ความยากจน 5 มิติen_US
dc.titleการใช้ประโยชน์จากระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeThe Utilization of Thai people map and analytics platform (TPMAP) in tackling poverty and reducing inequality, Mae Moh District, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashความจน -- แม่เมาะ (ลำปาง)-
thailis.controlvocab.thashความจน -- การประเมิน-
thailis.controlvocab.thashความจน -- ฐานข้อมูล-
thailis.controlvocab.thashความเสมอภาค -- แม่เมาะ (ลำปาง)-
thailis.controlvocab.thashลำปาง -- ภาวะสังคม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการใช้ประโยชน์จากระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์ระบบ TPMAP กระบวนการตัดสินใจในการนำข้อมูลจากระบบ TPMAP ใช้ประโยชน์ และผลลัพธ์จากการใช้ประโยชน์ระบบ TPMAP ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนทั้ง 5 มิติ ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผู้วิจัยได้เลือกการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายความยากจนทั้ง 5 มิติ ผลการศึกษาพบว่า ระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) คือ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ สามารถแสดงผลจำนวน และรายละเอียดของประชาชนกลุ่มเป้าหมายความยากจน จำแนกรายมิติความยากจนทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสุขภาพ มิติด้านความเป็นอยู่ มิติด้านการเข้าถึงการบริการภาครัฐ และมิติด้านรายได้ ผู้บริหารระดับอำเภอ และเจ้าหน้าที่ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบ TPMAP ในการตัดสินใจกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุปัญหา 2) การระบุข้อจำกัดของปัจจัย 3) การพัฒนาทางเลือก 4) การวิเคราะห์ทางเลือก 5) การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด 6) การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ และ 7) การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล ซึ่งผลการดำเนินการสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำได้ในเบื้องต้นครบถ้วนทุกครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายความยากจนที่ปรากฏในระบบ TPMAP ข้อเสนอแนะภาครัฐควรจัดให้มีแพลตฟอร์มเดียว (Single Windows) และเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการเก็บรวบรวมข้อมูล และในส่วนของแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ ควรจัดสรรงบประมาณด้านมิติยุทธศาสตร์ (Agenda) และพิจารณาเรื่องอำนาจหน้าที่ของอำเภอในการแก้ไขปัญหาบางประการ เช่น ปัญหาความต้องการสิทธิในที่ดินทำกินของประชาชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการแก้ไขปัญหา ส่งผลต่อนโยบายในระยะยาว และเกิดเป็นรูปธรรมต่อไป คำสำคัญ : ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า /ความยากจน 5 มิติen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641932018 ศุภกร ฝั้นคำอ้าย.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.