Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78334
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSurarong Chinwong-
dc.contributor.authorPiranee Kaewbuten_US
dc.date.accessioned2023-07-05T10:20:13Z-
dc.date.available2023-07-05T10:20:13Z-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78334-
dc.description.abstractClinical inertia was described as failing to adequately escalate therapy when treatment targets are not achieved. Clinical inertia mostly occurs in patients with chronic noncontagious diseases such as diabetes, hypertension, and dyslipidaemia. In developed countries, the prevalence of clinical inertia in type 2 diabetes mellitus (T2DM) was 28.4-73.0%. However, studies on the relationship between clinical inertia and diabetes-related complications in Thailand remain limited. This study attempted to 1. determine the prevalence of clinical inertia and associated factors, 2. investigate the impact of clinical inertia on diabetes-related complications and 3. evaluate the association between time to treatment intensification and diabetes-related complications. For each objective, this study was split into 3 phases. In Phase I, this study comprised an observational study to find the prevalence and associated factors of clinical inertia. Patients with T2DM attending the outpatient department of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital in 2017 with glycated hemoglobin (HbA1c) levels ≥7.0% and ages from 40 to 65 were included to be evaluated for clinical inertia. Clinical inertia in this study meant having HbA1c levels of ≥7.0% and failing to receive treatment intensification at the index date and consequence visit. Prevalence and factors affecting the occurrence of clinical inertia were analysed using the logistic regression model. The study found that patients with T2DM attending the outpatient department at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital in 2017 totalled 5,756 patients. Of these, 3,089 patients had HbA1c levels ≥7.0%. Age outside the range of 40-65 years 1,109 patients. Patients passing the inclusion criteria totalled 994 patients. In 2017, patients with T2DM 261 (26.2%) experienced clinical inertia. Factors associated with clinical inertia included the baseline of HbA1c levels, the amount of medication that the patient received, insulin use and the type of physician performing the treatment. In Phase II, this study was a retrospective cohort study. Patients with T2DM attending the outpatient department at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital from January 1, 2011 to December 31, 2011 and then followed up to December 31, 2017 were selected for this study. The primary outcome was diabetes-related complications. Secondary outcomes were a composite of macrovascular complications, myocardial infarction, stroke, heart failure, a composite of microvascular complications, diabetic nephropathy or diabetic retinopathy. An analysis of the effect of clinical inertia on diabetes-related complications was carried out using survival analysis. The propensity score method was used to control confounding by indication. The study found that patients with T2DM attending the outpatient department at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital from January 1, 2011 to December 31, 2011 were 6,033 patients. Of these, 2,786 patients had HbA1c greater than or equal to 7.0%. One thousand five hundred fifteen patients had age range out of the 40-65 years. The number of patients passing the inclusion criteria totalled 686 patients. In 2017, patients experiencing clinical inertia totalled 165 (24.0%). During 6.5 years of median follow-up, our study found that clinical inertia was insignificantly associated with diabetes-related complications (adjusted HR 1.09, 95%CI 0.82–1.45) and secondary outcomes except for diabetic nephropathy (adjusted HR 1.51, 95%CI 1.01–2.27). The results of the study were consistent with the propensity score method. In Phase III, this study was a retrospective study. Included patients in the Phase II study were categorized into three groups based on time to intensified treatment: 1. patients with no delayed intensified treatment, 2. the group receiving intensified treatment within six months and 3. the group receiving intensified treatment after six months. After dividing them into 3 groups, participants were followed by clinical outcomes. Primary outcome was diabetes-related complications. Secondary outcomes were a composite of macrovascular complications, myocardial infarction, stroke, heart failure, a composite of microvascular complications, diabetic nephropathy, or diabetic retinopathy. Survival analysis was used to analyse the association between time to intensified treatment and diabetes-related complications. The number of patients passing the inclusion criteria totalled 686 patients. Of these, 521 patients had no delayed treatment intensification, 53 patients receiving treatment intensification within six months and 112 patients receiving treatment intensification after six months. During 6.5 years of median follow-up, delayed treatment intensification was not associated with primary and secondary outcomes. Conversely, patients receiving treatment intensification by even six months exhibited an association with diabetic nephropathy (adjusted HR 2.35; 95%CI 1.35-4.09). In 2017, clinical inertia in a tertiary hospital in Thailand occurred at 26.2%. Factors affecting clinical inertia were baseline HbA1c level, the amount of medication the patient received, insulin use and the type of physician performing treatment. Clinical inertia increased the incidence of diabetic nephropathy. Treatment intensification by even six months resulted in statistically significant diabetic nephropathy. Thus, the patients presented blood sugar levels higher than the target, they should be intensified treatment immediately to reduce the incidence of kidney complications.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleClinical inertia: focusing on type 2 diabetes patients in tertiary care hospitalen_US
dc.title.alternativeความเฉื่อยชาในการรักษา: มุ่งเน้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshPharmacy-
thailis.controlvocab.lcshDiabetics-
thailis.controlvocab.lcshInsulin-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractความเฉื่อยทางคลินิก หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาจากเดิม เมื่อผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ความเฉื่อยทางคลินิกมักพบในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น โดยจากการศึกษาความชุกของการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานในต่างประเทศ พบว่า ความเฉื่อยทางคลินิกในการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นร้อยละ 28.4-73.0 ส่วนในประเทศไทย การศึกษาเกี่ยวกับความเฉื่อยทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังมีจำกัด การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อ 1. ศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเฉื่อยทางคลินิก 2. ศึกษาผลของการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะตามแต่ละวัตถุประสงค์ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสังเกตแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเฉื่อยทางคลินิก โดยคัดเลือกผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2560 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7.0 และมีอายุอยู่ในช่วง 40-65 ปีมาประเมินการเกิดความเฉื่อยทางคลินิก โดยความเฉื่อยทางคลินิกในการศึกษานี้หมายถึง การที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7.0 แต่ยังไม่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาวันที่ดัชนี (Index date) และวันที่มาพบแพทย์ภายหลังวันที่ดัชนี จากนั้นทำการหาความชุกและวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกโดยใช้สมการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2560 มีจำนวนทั้งหมด 5,756 คน เป็นผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7.0 ทั้งหมด 3,089 คน เป็นผู้ป่วยที่มีอายุอยู่นอกช่วง 40-65 ปี 1,109 คน ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกมีจำนวนทั้งหมด 994 คน ในปีพ.ศ. 2560 จำนวนผู้ป่วยที่เกิดความเฉื่อยทางคลินิกมีทั้งหมด 261 คน (ร้อยละ 26.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเฉื่อยทางคลินิก ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสมเริ่มต้น จำนวนยาที่ผู้ป่วยได้รับ การใช้อินซูลิน และประเภทของแพทย์ที่ทำการรักษา ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาวิจัยรูปแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เพื่อติดตามผลลัพธ์ทางคลินิกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ผลลัพธ์หลักคือ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ผลลัพธ์รองคือ ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจล้มเหลว, ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก, ภาวะแทรกซ้อนที่ไตและภาวะแทรกซ้อนที่ตา การวิเคราะห์ผลของการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ และใช้การวิเคราะห์คะแนนความโน้มเอียง (propensity score) ในการควบคุมตัวแปรกวนโดยตัวบ่งชี้ (confounding by indication) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 มีทั้งหมด 6,033 คน เป็นผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7.0 จำนวน 2,786 คน อายุอยู่นอกช่วง 40-65 ปี 1,515 คน จำนวนผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกมีทั้งหมด 686 คน ในปีพ.ศ. 2554 จำนวนผู้ป่วยที่เกิดความเฉื่อยทางคลินิกมีทั้งหมด 165 คน (ร้อยละ 24.0) การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ โดยมีค่ามัธยฐานการติดตามผลลัพธ์ทางคลินิกเท่ากับ 6.5 ปี พบว่า ความเฉื่อยทางคลินิกไม่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (adjusted HR 1.09, 95% CI 0.82–1.45) และผลต่อการเกิดผลลัพธ์รองใด ยกเว้น ภาวะแทรกซ้อนที่ไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted HR 1.51, 95% CI 1.01–2.27) ซึ่งผลการศึกษาที่พบสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ได้จากการทำการวิเคราะห์คะแนนความโน้มเอียง ระยะที่ 3 เป็นการศึกษาวิจัยรูปแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยจำแนกผู้ป่วยที่อยู่ในการศึกษาระยะที่ 2 ออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาหลังจากที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย ได้แก่ 1. กลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาทันที 2. กลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาภายใน 6 เดือน และ 3. กลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษามากกว่า 6 เดือน หลังจากนั้นทำการติดตามผลลัพธ์ทางคลินิกของทั้ง 3 กลุ่ม โดยผลลัพธ์หลักคือ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ผลลัพธ์รองคือ ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจล้มเหลว, ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก, ภาวะแทรกซ้อนที่ไตและภาวะแทรกซ้อนที่ตา จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาต่อการเกิดผลลัพธ์ทางคลินิกโดยใช้การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกมีทั้งหมด 686 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาทันที 521 คน กลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาภายใน 6 เดือนจำนวน 53 คนและกลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษามากกว่า 6 เดือนจำนวน 112 คน จากการวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ โดยมีค่ามัธยฐานการติดตามผลลัพธ์ทางคลินิกเท่ากับ 6.5 ปี พบว่า การปรับเพิ่มการรักษาช้าไม่มีผลต่อการเกิดผลลัพธ์หลักและผลลัพธ์รอง ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาช้าเพียง 6 เดือนมีความสัมพันธ์กับเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไตมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการปรับเพิ่มการรักษาทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted HR 2.35; 95% CI 1.35-4.09) โดยสรุป พบว่า ความชุกของการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แห่งประเทศไทย ปีพ.ศ. 2560 คิดเป็นร้อยละ 26.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเฉื่อยทางคลินิก ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสมเริ่มต้น จำนวนยาที่ผู้ป่วยได้รับ การใช้อินซูลิน และประเภทของแพทย์ที่ทำการรักษา โดยการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกมีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการปรับเพิ่มการรักษาช้าเพียง 6 เดือนมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย ผู้ป่วยควรที่จะได้รับการปรับเพิ่มการรักษาทันที เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไตen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
581051003 piranee kaewbut.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.