Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา-
dc.contributor.advisorสุภาพร ชินชัย-
dc.contributor.authorธนศักดิ์ ขาเลศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2023-07-05T00:35:31Z-
dc.date.available2023-07-05T00:35:31Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78315-
dc.description.abstractAphasia is a language disorder that affects communication. Aphasia patients should receive intensive speech therapy in order to regain their speech and language skills for maximum potential. However, there are numerous limitations in Thailand. One of which is the scarcity of speech and language pathologists. Thus, the researcher has created the speech and language therapy guidebook for Aphasia patients which caregivers can use to help those with Aphasia at home. This guidebook will increase the comprehension and frequency of therapy. However, this guidebook has never been studied for research. This study aimed to (1) compare the Aphasia quotient (AQ) score of the samples before and after receiving speech therapy by using the guidebook and (2) study the satisfactory score of the caregivers after using the guidebook. The study can be separated into 3 steps: The first step was the development of the interview form for explicit problems and satisfaction survey. The Index of Item-Objective Congruence (IOC) from 5 experts for the instruments showed total scores of 0.98 and 1, respectively, revealing that the content validity was acceptable. The second step was the trial phase of using the guidebook. The result from 3 samples showed problems with a lack of knowledge to use the guidebook (100%). The researcher has acknowledged the problems and devised precautionary measures for the next step of the study. The third step was the study of the effectiveness of the speech therapy using the guidebook in 9 aphasic samples for 4 weeks, 7 days per week, 3 times of 30 minutes of practice, or a total of 90 minutes a day. The results revealed that after the caregivers practiced the speech therapy to the samples as the guidebook assigned, all 9 samples (100%) improved the AQ score and decreased the severity of speech and language impairments. Furthermore, the caregivers were satisfied with the overall guidebook at the most satisfied level which scored 4.88 out of 5. In summary, the basic speech and language therapy guidebook for Aphasia patients helps improve speaking and language skills for aphasia patients and tends to reduce the severity of Aphasia. The caregivers were also satisfied with the guidebook in all aspects at the most satisfied level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectAphasia, Intensive speech therapyen_US
dc.subjectIntensive speech therapyen_US
dc.subjectSpeech therapy guidebooken_US
dc.titleการศึกษานำร่องผลของการใช้คู่มือการฝึกเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยอะเฟเซียเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและการพูดen_US
dc.title.alternativeEffect of basic speech and language therapy guidebook for aphasia patients to improve language and speaking skill: A Pilot studyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภาวะเสียการสื่อความ-
thailis.controlvocab.thashการพูดผิดปกติ-
thailis.controlvocab.thashความบกพร่องทางภาษา-
thailis.controlvocab.thashสมอง -- โรค-
thailis.controlvocab.thashการพูด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอะเฟเซียหรือภาวะเสียการสื่อความเป็นความผิดปกติทางด้านภาษาที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ผู้ป่วยควรได้รับการฝึกพูดเพื่อฟื้นฟูทักษะทางภาษาและการพูดอย่างเข้มข้นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่ปัจจุบันในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการขาดแคลนนักแก้ไขการพูด ผู้วิจัยจึงได้จัดทำคู่มือการฝึกเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยอะเฟเซียเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและการพูดเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถนำไปใช้ฝึกพูดให้กับผู้ป่วยได้ด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ได้รับความถี่ในการฝึกพูดและได้รับการฝึกพูดอย่างเป็นขั้นตอนมากขึ้น แต่คู่มือดังกล่าวยังไม่เคยถูกนำมาใช้ศึกษาในงานวิจัย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถทางภาษา (Aphasia Quotient หรือ AQ) ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการฝึกพูดด้วยคู่มือและ (2) ศึกษาคะแนนความพึงพอใจของผู้ดูแลภายหลังการใช้งานคู่มือ การศึกษามี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาและตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์ปัญหาที่พบในการทดลองใช้คู่มือ ฯ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการใช้คู่มือ ซึ่งได้ผ่านการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านโดยมีคะแนนรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และ 1 ตามลำดับซึ่งจัดว่ามีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาดี ระยะที่ 2 ผลการทดลองใช้คู่มือ ฯ ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 รายพบว่า ปัญหาที่พบจากการใช้งาน มากที่สุดซึ่งพบในผู้ดูแลทั้ง 3 ราย (100%) คือการขาดความเข้าใจในกระบวนการใช้คู่มือ ผู้วิจัยได้ทราบปัญหาและเตรียมแนวทางป้องกันสำหรับนำไปใช้ในการศึกษาระยะถัดไป ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของการฝึกพูดโดยใช้คู่มือ ฯ ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 รายเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยฝึกพูดสัปดาห์ละ 7 วัน วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวมเป็น 90 นาทีพบว่าหลังจากผู้ดูแลได้ฝึกพูดให้กับกลุ่มตัวอย่างตามแนวทางของคู่มือจนครบตามระยะเวลาการศึกษาแล้ว กลุ่มตัวอย่างทั้ง 9 ราย (100%) มีคะแนน AQ เพิ่มมากขึ้นและมีระดับความรุนแรงของความบกพร่องทางภาษาลดลง นอกจากนี้ ในด้านความพึงพอใจของผู้ดูแลที่มีต่อการใช้คู่มือพบว่า ผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อคู่มือโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.88 จาก 5 คะแนน) สรุปว่า คู่มือการฝึกเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยอะเฟเซียเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและการพูดช่วยพัฒนาความสามารถทางภาษาและการพูดให้กับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการสื่อความและมีแนวโน้มทำให้ความรุนแรงของภาวะเสียการสื่อความลดลง อีกทั้งผู้ดูแลยังมีความพึงพอใจต่อการใช้งานคู่มือทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับดีมากen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631131008-ธนศักดิ์ ขาเลศักดิ์.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.