Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78298
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorภาคินัย อินต๊ะริดen_US
dc.date.accessioned2023-07-04T00:46:58Z-
dc.date.available2023-07-04T00:46:58Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78298-
dc.description.abstractThe study “The Sustainable Community Tourism Development Guidelines for Sa Moeng District, Chiang Mai Province” aimed to investigate current tourism problems of Sa Moeng District and to obtain guidelines for tourism development of Sa Moeng District. This qualitative study gathered the data from 25 participants which were divided into 5 groups including civil servants, entrepreneurs, local people, tourists who have visited, and tourists who have never visited the area. In addition, the study was based on the concepts related to tourism, community-based tourism, sustainable tourism development and Marketing Mix Theory (7Ps). The findings of the study are as follows: (1) In terms of product development (Product), government agencies and those involved in tourism in the area should form a group, create a system, procedure, and operational plan by bringing in existing tourism resources consisting of natural resources, traditions, culture, and ways of life. This should not affect the existing resources for sustainable use of resources related to tourism and for maintaining the uniqueness of the local. (2) For price development (Price), businesses providing tourism-related services within the community should be developed to create satisfaction and be worth the money. (3) For development of distribution channels (Place), there must be plans in a form of communication channels to disseminate tourism related news to tourists and to create Tik Tok content. (4) In terms of development of marketing promotion (Promotion), there should be public relations planning, and competent staff who could take care of the dissemination of information concerning tourist attractions to cover all groups of tourists through all communication channels. There should also be new activities that tourists can take part in. (5) For the development of people in the local community (People), people in the community have to participate in brainstorming, creating a plan, guidelines on community tourism, benefits that the community and local people would receive, and improving language skills for workers. (6) For the development of the service process (Process), there should be a process of setting up the service process related to internal tourism, which is fast, take less time, and is accurate.(7) In terms of the environmental development in tourist destinations and physical component (Physical Evidence), there should be plans to improve, develop, survey the area, and inspect the surrounding of tourist attractions. In addition, there should be plans to develop resources, environment, and life and property safety.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวชุมชนen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนen_US
dc.subjectอำเภอสะเมิงen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ของอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Sustainable community tourism development guidelines for Sa Moeng District,Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวโดยชุมชน-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวโดยชุมชน -- สะเมิง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน -- สะเมิง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashเชียงใหม่ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนของอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของการท่องเที่ยวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอสะเมิง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการหาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการ ผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวที่เคยมาเที่ยว และนักท่องเที่ยวที่ยังไม่เคยมาเที่ยว รวม 25 คน โดยศึกษาจากแนวคิดด้านการท่องเที่ยว แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและ แนวคิดทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ (Product) หน่วยงานภาครัฐ ผู้เกี่ยวข้องการท่องเที่ยวในพื้นที่ ควรรวมกลุ่ม จัดทำระบบ ขั้นตอน แผนงานในการดำเนินงาน โดยนำทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีอยู่ ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรที่มี เพื่อการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้คงความเป็นเอกลักษณ์ที่ปรากฏได้เฉพาะถิ่น 2) การพัฒนาด้านราคา (Price) พัฒนาธุรกิจการให้บริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในชุมชน ให้เกิดความพึงพอใจ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป 3) การพัฒนาด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) จัดทำแผนในรูปแบบช่องทางการสื่อสาร กระจายข่าวสารการท่องเที่ยวให้กลุ่มนักท่องเที่ยว สร้างคอนเทนต์บนติ๊กต็อก 4)การพัฒนาด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) วางแผนการประชาสัมพันธ์ มีเจ้าหน้าที่ผู้มีความสามารถ ดูแลด้านการกระจายข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวให้ครอบคลุมนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร มีกิจกรรมที่แปลกใหม่ กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วม 5) การพัฒนาด้านบุคคลของชุมชน (People) ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการระดมความคิด สร้างแผนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน ผลประโยชน์ที่ชุมชน และคนในชุมชนจะได้รับ สร้างทักษะทางด้านภาษาให้กับผู้ปฏิบัติงาน 6) การพัฒนาด้านกระบวนการในการให้บริการ (Process) เป็นกระบวนการในการวางระบบขั้นตอนของการให้บริการ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายใน โดยมีกระบวนการที่รวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ถูกต้อง แม่นยำ 7) การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมในสถานที่ท่องเที่ยว องค์ประกอบทางกายภาพ (Physical Evidence) จัดทำแผนที่จะปรับปรุง พัฒนา สำรวจพื้นที่ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบสถานที่ท่องเที่ยว มีแผนพัฒนาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในชุมชนความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641932011 นายภาคินัย อินต๊ะริด.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.